[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
เผยแพร่งานวิชาการ

อังคาร ที่ 17 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2555


คู่มือการสร้างรายได้
การเผาถ่าน
ด้วยเตาอิวาเตะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

กศน.ตำบลศรีสำราญ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสำราญ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคอนสวรรค์
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ
เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ
                               เตาเผาถ่านด้วยถัง 200 ลิตร      
                 เตาเผาถ่านด้วยถัง 200 ลิตร เป็นเตาที่มีประสิทธิภาพสูง เตาประเภทนี้อาศัยความร้อนไล่ความชื้นในเนื้อไม้ที่มีอยู่ในเตา ทำให้ไม้กลายเป็นถ่าน หรือเรียกว่า กระบวนการคาร์บอนไนเซชั่น
นอกจากนี้โครงสร้างลักษณะปิดทำให้สามารถควบคุมอากาศได้ จึงไม่มีการลุกติดไฟของเนื้อไม้ ผลผลิตที่ได้จึงเป็นถ่านที่มีคุณภาพ ขี้เถ้าน้อยและผลพลอยได้จากกระบวนการเผาถ่าน อีกอย่างหนึ่งคือ น้ำส้มควันไม้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรได้
 
ลักษณะเด่นของเตาเผาถ่าน 200 ลิตร
ด้านวัตถุดิบและอุปกรณ์
1.ไม้ที่นำมาเผาถ่านและเชื้อเพลิงหน้าเตาหาได้ง่าย
2.สามารถใช้ไม้ที่มีขนาดเล็กที่เกิดจากการตัดแต่งกิ่งไม้ได้ ช่วยลดการตัดต้นไม้ขนาดใหญ่
3.ใช้เชื้อเพลิงในการเผาถ่านน้อย
4.อุปกรณ์ประกอบเตาหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องก่อสร้างทั่วไป
5.ตัวเตาดูแลรักษาง่าย
ด้านกรรมวิธีการผลิต
1.ใช้เวลาในการเผาถ่านสั้น (ภายใน 1 วัน) สามารถใช้แรงงานคนเดียวในการเผา
2.ควบคุมอากาศในการเผาได้ตามต้องการ
3.การเผาถ่านเกิดเป็นขี้เถ้าน้อย
ด้านผลผลิต
1.ได้ถ่านมีคุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ เพราะถ่านที่ได้มีปริมาณน้ำมันดิน(ทาร์) น้อย
2.ได้ปริมาณผลผลิตถ่าน (ประมาณ 20-22%)
3.ได้ผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากถ่าน คือ น้ำส้มควันไม้
ด้านการลงทุน
1.ลงทุนน้อย (ไม่เกิน 1,000 บาท) เหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน
 
 
 
 
 
 
 
 
การเตรียมเตาเผาจากถัง 200 ลิตร
1.การตัดถัง
 
 
 
 
 
 
 
-การตัดถังเพื่อนำไม้เข้าและออกให้วัดกึ่งกลางถังและเอียงข้างใดข้างหนึ่ง กว้างข้างละ 8 นิ้ว และห่างจากขอบถังข้างละ 4 นิ้ว
 
 
 

                                                                                             
                                                                                             
                                                เส้นแบ่งกึ่งกลางถัง
-การตัดถังด้านหน้าเพื่อเป็นปล่องจุดไฟ ให้ตัดเป็นสี่เหลี่ยม ขนาด 8 x 8 นิ้ว
 
 
 
 
 
 
 

                                                                                                                             เส้นแบ่งกึ่งกลางถัง
-การตัดถังเพื่อเป็นปล่องควันด้านหลัง ให้ตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาด 4 x 4 นิ้ว
2. การตั้งเตาเผาถ่าน
ตั้งถังขนานกับพื้นและให้ด้านหน้ายกขึ้นเล็กน้อย                  นำท่อใยหินติดตั้งด้านหลังเพื่อเป็นปล่องควัน
นำสังกะสีหรือกระเบื้องมาล้อมห่างจากถัง ด้านข้าง 12-14 นิ้ว ด้านหน้า,หลัง 8-10 นิ้ว และนำทรายถมให้เต็ม
 
3.การนำไม้เข้าเตาเผาถ่าน
1.นำไม้ที่ต้องการเผาถ่าน มาจัดแยกกลุ่มตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    -ขนาดเล็ก
    -ขนาดกลาง
    -ขนาดใหญ่
2.เรียงไม้ที่มีขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตาขนาดใหญ่ไว้ด้านบน โดยวางทับไม้หมอนยาวประมาณ
  30-40เซนติเมตร การเรียงไม้นี้มีความสำคัญมาก  เนื่องจากอุณหภูมิในเตา ขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน
  โดยอุณหภูมิด้านล่างเตาจะต่ำส่วนอุณหภูมิที่อยู่ด้านบนเตาจะสูงกว่า
 
 
 
 
4.การจุดไฟเผาถ่าน ไล่ความชื้น หรือคายความร้อน
      เริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อไล่อากาศเย็นและ
ความชื้นที่อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะเป็นสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็น
กลิ่นของกรดประเภทเมธานอลที่อยู่ในเนื้อไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70 - 75 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีขาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้น
อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70-75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 200-250 องศาเซลเซียส ควันมีกลิ่นเหม็นฉุน
 
 
 
 
 
 
 
 
5.การผลิตน้ำส้มควันไม้ เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน หรือ ปฏิกิริยาคลายความร้อน
      เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทา อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน
ประมาณ 80-85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตา
จะคายความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ค่อยๆ ลดการป้อน
เชื้อเพลิงหน้าเตาจนหยุดการป้อนเชื้อเพลิง และเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ หลังจากการหยุดการป้อนเชื้อเพลิง
หน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่หน้าเตาหรือลดพื้นที่หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตา
ประมาณ 20-30 ตารางเซนติเมตร สำหรับให้อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุด
และยืดระยะเวลาการเก็บน้ำส้มควันไม้ให้นานที่สุด โดยช่วงที่เหมาะสมกับการเก็บน้ำส้มควันไม้ควรมีอุณหภูมิ บริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 85-120 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับออกมา จากนั้นควันก็เปลี่ยนจากควันสีเทาเป็นสีน้ำเงิน จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 100-200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 400-450 องศาเซลเซียส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   ลักษณะควันไฟที่พร้อมในการผลิตน้ำส้มควันไม้         การติดตั้งท่อผลิตน้ำส้มควันไม้ ต้องให้เอียงประมาณ 45 องศาเซลเซียส
 
 
 
 
 
 
             การปรับลดช่องอากาศภายในเตา                                         การทำน้ำส้มควันไม้
 
6.การปิดเตาเผาถ่าน ช่วงทำถ่านให้บริสุทธิ์
      ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่าน ต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดหน้าเตา
ประมาณ 1 ใน 3 ของหน้าเตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เมื่อควันสีน้ำเงิน เป็นสีฟ้า แสดงว่าไม้เริ่มเป็นถ่านใกล้หมดจากนั้นควันสีฟ้าอ่อนลงและจะกลายเป็นควันใสแทน เมื่อมีควันใสเริ่มทำการปิดหน้าเตา โดยใช้ดินเหนียวปิดรอยรั่วและรอยต่อ จากนั้นทำการปิดปล่องควันให้สนิทและอุดรูรั่วทั้งหมด ไม่ให้อากาศภายนอกผ่านเข้าไปได้
         

 

                                         
                                       การปิดเตา                                            การตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศ                        
 
7.การทำให้ถ่านในเตาเย็นลง
      เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตา เพื่อระบายความร้อนในเตา(กรณีเตาที่เปิดด้านหน้า) จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน หรือประมาณ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ถ่านดับสนิท แล้วจึงเริ่มการเปิดเตาเพื่อนำถ่านออกจากเตา และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 
 
 
 
 
 
 
 
น้ำส้มควันไม้ ควันที่เกิดจากการเผาถ่านในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่านเมื่อทำให้เย็นลงจนควบแน่น
แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ของเหลวที่ได้นี้เรียกว่า
น้ำส้มควันไม้ มีกลิ่นไหม้ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติกมีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน
ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ)
น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป


 
ประโยชน์และการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์
     น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้
ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น
    เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนี้
    อัตราส่วน 1: 20 (ผสมน้ำ 20 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นประโยชน์และแมลงในดิน
ซึ่งควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน
    อัตราส่วน 1: 50 (ผสมน้ำ 50 เท่า) พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้
รากพืชอาจได้รับอันตรายได้
    อัตราส่วน 1: 100 (ผสมน้ำ 100 เท่า) ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงมาวางไข่
    อัตราส่วน 1: 200 (ผสมน้ำ 200 เท่า) พ่นใบไม้รวมทั้งพื้นดินรอบๆ ต้นพืชทุกๆ 7-15 วัน เพื่อขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
    อัตราส่วน 1: 500 (ผสมน้ำ 500 เท่า) พ่นผลอ่อน หลังจากติดผลแล้ว 15 วัน ช่วยขยายผลให้โตขึ้นและพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้
    อัตราส่วน 1: 1,000 (ผสมน้ำ 1,000 เท่า) เป็นสารจับใบ เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ดีในสารละลายที่เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยเสริมประสิทธิภาพของสารเคมีทำให้สามารถลดการใช้สารเคมีมากกว่าครึ่งด้วย
ลักษณะสีของน้ำส้มควันไม้ที่ผสมน้ำในอัตราส่วนต่างๆ
 
การนำน้ำส้มควันไม้ ไปใช้ด้านอื่นๆ
การใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้และถ่านในการเกษตร
-ในการใช้น้ำควันไม้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลง จะสามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลงถึงครึ่งหนึ่ง  จากที่เคยใช้อยู่เดิมน้ำควันไม้เมื่อใช้ร่วมกับสารเคมีจะส่งเสริมคุณสมบัติความสามารถให้กัน  ซึ่งน้ำควันไม้สามารถป้องกันและไล่แมลงศัตรูพืชได้
-เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะสามารถมีบทบาททำงานร่วมกันกับปุ๋ยเคมี ช่วยให้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-ผสมน้ำส้มควันไม้กับน้ำให้เจือจาง 1 ต่อ 500 – 1,000(น้ำควันไม้ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) ฉีดพ่นหรือรดไม้ผล  จะช่วยไล่แมลงศัตรูพืชเร่งการติดดอก การเจริญเติบโต และเพิ่มความหวาน
-ช่วยย่อยสลายปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก
-ถ่านที่ใช้แช่ในน้ำน้ำควันไม้จะเป็นตัวปรับปรุงดินอย่างดีโดยการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียในดินที่มีประโยชน์ต่อต้นพืช  เบสจากถ่านมีรูพรุนจำนวนมากและมีแร่ธาตุ สารอาหารอยู่ด้วยทำให้เหมาะจะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืช
-การใช้น้ำส้มควันไม้กับต้นพืช ควรใช้เวลาเช้าหรือเย็นจะเกิดประโยชน์ต่อพืชมาก
ประโยชน์ในการเกษตร
ใช้ได้กับพืช ป้องกันกำจัดศัตรูพืช / ช่วยติดดอกผลดก ช่วยเพิ่มผลผลิต ผลโตสีสดใส รสหวาน ลดโรคพืช เชื้อรา แผลเน่า ดินจะมีสุขภาพดีขึ้น  ฟื้นฟูดินเสื่อม  ใช้ร่วมกับสารเคมีได้ เช่น ยาคุมฆ่าหญ้า  ฮอร์โมน ยาฆ่าแมลง ฯลฯ  สามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีลงครึ่งหนึ่ง ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีช่วยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  ฉีดระยะต้นเล็กและก่อนเก็บเกี่ยว  ช่วยให้คุณภาพและรสชาติดีขึ้น  รวมทั้งชะลอการเหี่ยวเฉา
1.ควรฉีดพ่นตอนเช้าหรือเย็น  จะมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.ควรฉีดพ่นบริเวณโคนต้นและดินที่ปลูก
3.ใช้ 1 ช้อนโต๊ะประมาณ 10 ซีซี (1 ปี๊บ = น้ำ 20 ลิตร)
4.เดือนหนึ่งไม่ควรฉีดเกิน 2-3 ครั้ง
5.อย่าผสมและฉีดเกินอัตราที่กำหนด พืชจะเป็นอันตรายได้
การใช้น้ำวู๊ดเวเนการ์ (น้ำส้มควันไม้)
ชนิดพืช
ระยะการใช้ – ประโยชน์ที่ได้รับ
(ป้องกันโรค ติดดอก  ออกผล)
วิธีการใช้น้ำวู๊ดเวเนการ์
ผักต่าง ๆ ที่มีระยะการเพาะปลูกสั้น
ก่อนหรือหลังการแตกยอดอ่อน
ผสมน้ำ 1: 500 ส่วน
(4-5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)
ฉีดพ่น 5-10 วันต่อครั้ง
หอม กระเทียม
ช่วงต้นอ่อน
ผสมน้ำ 1:800 ส่วน
(2-3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)
ฉีดพ่น 2-3 ครั้งต่อเดือน
ผักมีหัวต่าง ๆ (หัวผักกาด กระชาย)
หลังแยกหน่อ
ผสมน้ำ 1:1,000 ส่วน
(1-2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)
ฉีดพ่น 5-10 วันต่อครั้ง
พริก
หลังแยกกล้า
ผสมน้ำ 1:200-300 ส่วน
(8-10 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)
ฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง
ข้าว
ครั้งแรกผสมยาคุม – ฆ่าถึงตั้งท้อง
ผสมน้ำ 1:200 ส่วน
(10 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)
ฉีดพ่น 2-3 ครั้งต่อเดือน
ไม้ผล
ช่วงใบอ่อนและใบแก่หรือราดโคลนต้น
ผสมน้ำ 1:200  ส่วน
(10 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)
ราดโคลน 2-3 ครั้งต่อเดือน
ไม้ดอก
แตกใบอ่อน  ช่วงต้นแข็งแรงแล้ว
ผสมน้ำ  1:500 ส่วน
(4-5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)
ฉีดพ่นเดือนละครั้ง
พืชไร่
ตั้งแต่ต้นอ่อนถึงก่อนเก็บเกี่ยว
ผสมน้ำ 1:500 ส่วน
(4-5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)
ฉีดพ่น 2-3 ครั้งต่อเดือน
ถั่วต่าง ๆ
ช่วงต้นเล็กและก่อนออกดอก
ผสมน้ำ 1:500 ส่วน
(4-5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)
ฉีดพ่น 1-2 ครั้งต่อเดือน
นอกจากการนำไปใช้ทางด้านเกษตรและปศุสัตว์แล้ว ยังสามารถนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น
1.ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อน รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง
2.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 20 เท่า ราดทำลายปลวกและมด
3.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 50 เท่า ใช้ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง
4.น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ฉีดพ่นถังขยะเพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัวและบริเวณชื้นแฉะ

 

ข้อควรระวังในการ ใช้น้ำส้มควันไม้
1.ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
2.เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
3.น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตรจะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพ
  ให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
4.การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน
5.การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้
6.การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะร่วงง่าย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ประโยชน์น้ำส้มควันไม้ VP
WOOD VINEGAR / PYROLIGNEOUS ACID
 
                                                                                                                         กศน.ตำบลศรีสำราญ , อบต.ศรีสำราญ
                                                                                                                         หมู่ 3 ต. ศรีสำราญ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ                                                                                                                                 
น้ำส้มควันไม้ (wood vinegar/ Pyroligneous acid )       
                      คือ...........สารประกอบทางธรรมชาติที่ได้จากการควบแน่นควันไม้ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเผาถ่านไม้ในขณะที่ไม้กำลังกลายสภาพเป็นถ่าน (pyrolysis)เป็นของเหลวสีน้ำตาลปนแดง มีกลิ่นควันไฟ มีฤทธิ์เป็นกรด (PH ประมาณ 3)มีสารประกอบทางเคมีมากกว่า 200 ชนิด
สารประกอบที่สำคัญในน้ำส้มควันไม้ VP
1.      กรดอะซิติก (acitic acid) เป็นสารกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส
2.      สารประกอบฟีนอล (phenol) เป็นสารในกลุ่มการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
3.      ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช
4.      เอธิล เอ็น วาเลอเรด (ethyl-n-valerate) เป็น สารในกลุ่มเร่งการเจริญเติบโตของพืช
5.      เมธานอล (methanal) เป็นสารในกลุ่มออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส
6.      น้ำมันทาร์ (tar) เป็นสารจับใบลดการใช้สารเคมี
คุณสมบัติของน้ำส้มควันไม้ VP
1.      ช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
2.      เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
3.      ช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
4.      ช่วยให้พืชออกดอกและติดผลง่ายขึ้น
5.      ช่วยสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงต้านทานโรค
วิธีการใช้น้ำส้มควันไม้  VP   ในด้านการเกษตร
 
ชนิดพืช
วัตถุประสงค์ในการใช้
วิธีใช้
อัตราส่วนที่ใช้
 
เมล็ดพันธุ์งอกเร็วเพิ่มอัตราการงอกป้องกันเชื้อรา
แช่เมล็ดพันธุ์2 แล้วนำไปผึ่งในกระสอบ1วัน
1:300   1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ3 ลิตร
 
ข้าว
เพิ่มผลผลิตเร่งการเจริญเติบโตเมล็ดข้าวไม่ลีบน้ำ
ฉีดพ่นตั้งแต่เริ่มปลูก-เก็บเกี่ยว
เดือนละครั้ง
1:100   1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 10 ลิตร
 
ขับไล่เพลี้ย แมลง ป้องกันเชื้อรา
ฉีดพ่นครั้งแรกผสมยาคุม/ฆ่า
ถึงตั้งท้องทุก 7-15 วัน
1:200 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 2 ลิตร
 
ข้าวโพด
ขับไล่เพลี้ย แมลง จักจั่นแดง ขาว
ป้องกันเชื้อรา
ฉีดพ่น 1 ครั้ง ช่วงอายุ 20 วัน
1:200 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 2 ลิตร
 
อ้อย
ขับไล่เพลี้ย แมลง ป้องกันกำจัดจักจั่นแดง ขาว หนอนกอ ป้องกันเชื้อรา
ช่วงอาอายุ 2 เดือน ขึ้นไปฉีดพ่นใบและลำต้นทุก 7-15 วัน
1:200 1ช้อนโต๊ะ
/น้ำ 2 ลิตร/ พื้นที่ 3 ไร่
 
พืชไร่
ขับไล่เพลี้ย แมลง
ป้องกันเชื้อราเร่งการเจริญเติบโต
ฉีดพ่นต้นอ่อนถึงก่อนเก็บเกี่ยงทุก 7-15 วัน
1:300    1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 3 ลิตร
ผักต่างๆ
ป้องกันรากเน่าป้องกันเชื้อรา
ไล่ เพลี้ย แมลง
ฉีดก่อนหรือหลังแตกยอด
ทุก 7-15 วัน
1:500 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 5 ลิตร
ผักมีหัว
กระชาย
ป้องกันรากเน่าป้องกันเชื้อรา
ไล่ เพลี้ย แมลง
ฉีดพ่นหลังแยกหน่อทุก 7-15 วัน
1:1000 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 10 ลิตร
หอม
กระเทียม
ป้องกันรากเน่าป้องกันเชื้อรา
ไล่เพลี้ย แมลง
ฉีดพ่นช่วงต้นอ่อนทุก 7-15 วัน
1:800 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 8 ลิตร
พริก
ไล่เพลี้ยแมลงบำรุงต้น ดอก
ฉีดพ่นหลังแยกกล้า ทุก 7-15 วัน
1:300 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 3 ลิตร
มะเขือ
ป้องกันเพลี้ย หนอนเจาะผล
ฉีดก่อนออกดอก / ติดผลทุก 7-15 วัน
1:200 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 2 ลิตร
แตงกวา
ไล่เพลี้ยแมลงป้องกันเชื้อรา
เร่งการเติบโต
ฉีดพ่นช่วงอายุ 20 วัน
ทุก 7-15 วัน
1:200 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 2ลิตร
ถั่วต่างๆ
ไล่เพลี้ยแมลงป้องกันเชื้อรา
เร่งการเติบโต
ฉีดก่อนออกดอก / ติดฝักทุก 7-15 วัน
1:300 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 3 ลิตร
               
 วิธีการใช้น้ำส้มควันไม้  VP ในด้านปศุสัตว์
ใช้กับ
วัตถุประสงค์ในการใช้
วิธีใช้
อัตราส่วนที่ใช้
โรงเรือน
ฟาร์ม
ขับไล่แมลงวันป้องกันแมลงวันวางไข่ ดับกลิ่นในโรงเรือน
ฉีดพ่นบริเวณ
โรงเรือนทุก7-15 วัน
1:100 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร
วัว ควาย สุกร
ป้องกันโรคผิวหนังภายนอกไล่เห็บ ยุง แมลง
ฉีดพ่นตัวสัตว์ทุก 7-15 วัน
1:300 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 3 ลิตร
 
สุนัข
ฆ่าพยาธิภายนอกรักษาโรคผิวหนังไล่เห็บ หมัด ดับกลิ่นสุนัข
 ทาภายนอกตัวสัตว์
 1:1
 
หนอนไหม
ใช้กับไหมวัยแก่(4,5) จนไหมสุกทำรัง เป็นอาหารเสริมหนอนไหมกินดี
ฉีดใบหม่อนในกระด้งเลี้ยงไหมในเจลอาหารทุกวันเว้นวัน
1:200 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 2 ลิตร
 
 
การใช้น้ำส้มควันไม้  VP ในด้านอื่นๆ
ผสมน้ำ 1:20 ฉีดพ่นลงดินก่อนทำการเพาะปลูก 10 วัน เพื่อปรับปรุงดิน ฆ่าจุลินทรีย์ แมลงในดิน ไส้เดือนฝอย ป้องกันโรครากเน่าจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
ผสมน้ำ 1:20 ใช้ราดทำลายปลวกและมด เพื่อป้องกัน ตะขาบ แมงป่อง กิ่งกือ
ผสมน้ำ 1:100 ฉีดพ่นขยะเพื่อป้องกันกลิ่น และไล่แมลงวัน ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัว ที่น้ำเสีย คอกและกรงสัตว์ ใช้หมักขยะสดและเศษอาหารให้เป็นปุ๋ย
 
ชนิดพืช
วัตถุประสงค์ในการใช้
วิธีใช้
อัตราส่วนที่ใช้
 
ไม้ดอก
เร่งการเจริญเติบโตขับไล่เพลี้ย แมลงป้องกันเชื้อรา
ฉีดพ่นช่วงแตกใบอ่อน ต้นแข็งแรง เดือนละครั้ง
1:500 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 5 ลิตร
 
เร่งการเจริญเติบโตขับไล่เพลี้ย แมลงป้องกันเชื้อรา
รดโคนต้นช่วงแตกใบอ่อน/ใบแก่ทุก 7-15 วัน
1:200 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 2 ลิตร
 
ไม้ผล
ขยายผลให้โตขึ้นเพิ่มความหวาน
ฉีดผลอ่อน หลังจากติดผลแล้ว 15 วันและก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน
1:500 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 5 ลิตร
 
มะม่วง
ให้ดอกติดผลป้องกันเพลี้ยกระโดดและราดำทำลายดอก
ฉีดพ่นช่วงเริ่มออกดอก/หลังติดผลทุก 7-15 วัน
1:300 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 3 ลิตร
 
ฝรั่ง
ไล่เพลี้ยแป้งป้องกันเชื้อราเพิ่มความหวานลูกดกและผลโต
ฉีดพ่นช่วงเริ่มออกดอก/หลังติดผลทุก 7-15 วัน
1:300 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 3 ลิตร
 
ละมุด
ขับไล่เพลี้ยแมลงป้องกันเชื้อราบำรุงต้นดอกใบ
ฉีดพ่นช่วงเริ่มออกดอก / หลัง
ติดผลทุก 7-15 วัน
1:200 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อน้ำ 2 ลิตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ที่ปรึกษา
นายกิตติภพ โคมเดือน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                                         อำเภอคอนสวรรค์
 
ผู้จัดทำ
นายสุเมธ แซวจันทึก หัวหน้า กศน.ตำบลศรีสำราญ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
นายโกเมท ครองพงษ์ ครู กศน.ตำบลศรีสำราญ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
นางสาวนนทิยา ดวงวิญญาณ ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ต.ศรีสำราญ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
 
ติดต่อได้ที่
กศน.ตำบลศรีสำราญ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสำราญ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคอนสวรรค์
โทร.083-7325480,081-0701935 (ครูสุเมธ)
โทร.087-9567021 (ครูโกเมท)
โทร.090-3676529 (ครูนนทิยา)
 


เข้าชม : 2442


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      โครงการคุณธรรมนำชีวิต ระดับประถมศึกษา 2/2566 29 / พ.ย. / 2566
      ปฐมนิเทศนักศึกษา 2/2566 29 / พ.ย. / 2566
      การแข่งขัน กีฬา กศน.ชัยภูมิเกมส์ 60 4 / ส.ค. / 2560
      โครงการอบรมประวัติศาสตร์ชาติไทย และบุญคุณพระมหากษัตริย์ไทย 29 / มิ.ย. / 2560
      กิจกรรมเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท 29 / มิ.ย. / 2560




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 
ศูนย์การศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคอนสวรรค์ 
133 ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ 36140 
โทร.044-848035 โทรสาร  044-848035 Website : http://chaiyaphum.nfe.go.th/1003
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05