[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
     

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มี  3  รูปแบบ  คือ

 

                                1.  การศึกษาวิธีเรียนพบกลุ่ม  เน้นหนักการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก  มีการพบกลุ่มเพื่อนำสิ่งที่ได้ไปศึกษาค้นคว้า  แล้วมานำเสนอ อภิปราย และสรุปร่วมกันในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

                                2.  การศึกษาวิธีเรียนทางไกล  เป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยผ่านสื่อการศึกษาทางไกล  ได้แก่  ชุดการเรียนทางไกล  CD  VCD  รายการทางวิทยุและโทรทัศน์  Internet   เป็นต้น

                               3.  การประเมินเทียบระดับการศึกษา  เป็นการประเมินจากความรู้  ทักษะ  ผลงาน  ประสบการณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน  โครงงาน  การสอบ  ปฏิบัติ  สัมภาษณ์  และทำกิจกรรมเข้าค่ายหรือกิจกรรม กพช. (กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต)

 

 

รายละเอียดวิธีเรียนแบบพบกลุ่ม

 

 

การลงทะเบียน

1. ระดับประถม และระดับมัธยมศึกษาศึกษาตอนต้น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้ภาคเรียนละ 2 หมวด โดยลงทะเบียนในกลุ่มหมวดพื้นฐาน 1 หมวด และกลุ่มหมวดประสบการณ์ 1 หมวด โดยยกเว้นหมวดวิชาที่นำมาเทียบโอนผลการเรียน

 2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละ 2 หมวดวิชา  โดยลงทะเบียนในหมวดวิชาพื้นฐาน 1 หมวดและหมวดประสบการณ์ 1 หมวด

* ยกเว้นหมวดวิชาที่ได้ผลการเรียนเป็น 0 หรือหมวดวิชาที่เรียนเพิ่มเติมจะสามารถลงทะเบียนเรียนได้ 3 หมวดวิชา  ทั้งนี้ไม่นับรายหมวดวิชาที่เทียบโอนผลการเรียน

3. การลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต นักศึกษา ต้องลงไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง  ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่นักศึกษาจะต้องได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  จึงจะได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  จึงจะได้รับการพิจารณาให้จบหลักสูตรในแต่ละระดับการเรียนได้

4. การลงทะเบียนรักษาสภาพ กรณีนักศึกษาไม่สามารถลงทะเบียนเรียน ในภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่งได้จะต้องลงทะเบียนรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา หากไม่สามารถลงทะเบียนรักษาได้ ต้องลงทะเบียนย้อนหลังทุกภาคเรียนที่ไม่ได้ลงทะเบียนทั้งนี้ต้องไม่เกิน 6 ภาคเรียนติดต่อกัน และต้องเป็นไปตามวัน เวลา วิธีการที่สถานศึกษากำหนด

 

ระยะเวลารับสมัคร

กศน.อำเภอบ้านเขว้า  จะประกาศเปิดรับสมัครและลงทะเบียนเรียนปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเวลา

                ภาคเรียนที่ 1            รับสมัครเดือน เมษายน

                                                เปิดภาคเรียน 16 พฤษภาคม

                ภาคเรียนที่ 2            รับสมัครเดือน ตุลาคม

                                                เปิดภาคเรียน 1 พฤศจิกายน

จัดกระบวนการเรียนการสอนหรือนักศึกษาต้องมาพบกลุ่ม  18 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง  นักศึกษาต้องมีเวลาพบกลุ่มไม่น้อยกว่า 80 % ขาดเรียนได้ไม่เกิน 4 ครั้ง จะทำให้หมดสิทธิ์สอบ 

เวลาเรียนแบ่งการเรียนออกเป็น 2 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20 สัปดาห์ โดยกำหนดให้ทุกระดับ ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน หรือ 2 ปี ยกเว้น ผู้ที่มีเทียบโอนผลการเรียนสามารถจบก่อน 4 ภาคเรียน

 

หลักฐานการรับสมัคร

1. ใบสมัคร

2.  รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป หน้าตรงไม่สวมแว่นตาดำ ไม่สวมหมวก และสวมเสื้อสีขาวมีปก

3. สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมตัวจริง

4 . สำเนาหนังสือแสดงวุฒิ พร้อมฉบับจริง

5. สำเนาบัตรประชาชน  พร้อมฉบับจริง

 

 

สถานที่รับสมัคร

-  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านเขว้า

-  กศน.ตำบล และ ศูนย์การเรียนชุมชน

 

การวางแผนการจัดการเรียนรู้

                 1. ครูและนักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์หลักสูตร  มาตรฐานและสาระการเรียนรู้แล้วจัดแบ่งเนื้อหาสาระ เป็น 3 ส่วน ดังนี้

                                  1.1 เนื้อหาที่ง่ายนักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง (กรต.) ตลอดสัปดาห์ต้องมีเวลาสำหรับการเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง (เฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง) มีการจดบันทึก  เรียบเรียงความรู้นั้น  ไว้เป็นหลักฐานและนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง   เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวลาพบกลุ่ม  ผู้เรียนก็ช่วยกันเรียนและเติมเต็มความรู้แก่กัน

                                  1.2 เนื้อหาที่ยากปานกลาง  ครูและนักศึกษาต้องร่วมกันจัดแผนการเรียนรู้  โดยครูเป็นผู้สอนในแต่ละสัปดาห์

                                   1.3 เนื้อหาที่ยากมาก  ครูและนักศึกษาร่วมกันจัดแผนการเรียนรู้ โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาสอนแทน

                  2. นักศึกษาและครู ร่วมกันวางแผนการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนและนักศึกษาจะต้องจัดทำแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองทุกสัปดาห์ตลอดภาคเรียน

                  3. นักศึกษาและครูร่วมกันวางแผนการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรมตลอดภาคเรียน

 

การจัดกระบวนการเรียนรู้

           1.  กิจกรรมพบกลุ่ม (พก.) นักศึกษาต้องมีเวลาพบกลุ่มอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์

                  2.  การเรียนรู้ต่อเนื่อง (กรต.) นักศึกษาต้องมีเวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

อย่างน้อย 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือวันละ 3 ชั่วโมง

                  3.    การทำโครงงาน  นักศึกษาต้องเรียนรู้โดยการทำโครงงาน  หมวดวิชาละ 1

โครงงาน ในแต่ละภาคผู้เรียนจะต้องรวมกลุ่มกันประมาณ 5-7 คน เพื่อทำโครงงาน 1 โครงงาน ต่อ 1 หมวดวิชา  โดยร่วมกันคิดวิเคราะห์ว่าจะทำโครงงานใดในหมวดวิชานั้น  วางแผนและลงมือปฏิบัติ  นำเสนอความก้าวหน้าของการทำโครงงานในการพบกลุ่มเป็นระยะ ๆ  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดความคิดต่อยอดเพื่อนำไปพัฒนาโครงงานอย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มจนสิ้นสุดภาคเรียน

                  4.   การจัดการเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) เป็น

กิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการพบกลุ่ม  และเป็นเงื่อนไขของการจบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนทุกระดับ    เป็นกิจกรรมกลุ่มผู้เรียนทำตามความสนใจความถนัด  โดยเน้นการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษา / เรียนรู้ ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงเพื่อพัฒนาตนเอง  ครอบครัว ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัยความรับผิดชอบ  การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  ซึ่งผู้เรียนจะทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาคเรียนใด ภาคเรียนหนึ่งก็ได้  และสามารถทำร่วมกับผู้เรียนในระดับการศึกษาอื่น  โดยทำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

การเทียบโอนการศึกษา

                ตามเจตนารมณ์ ของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ได้กำหนดรูปแบบ การศึกษาไว้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งประชาชนจะเลือกรูปแบบใดก็ได้ และสามารถนำผลการเรียน มาเทียบโอน

                การเทียบโอนผลการเรียน หมายถึง การนำผลการเรียนซึ่งเป็นความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกิดจากการศึกษา ทั้ง 3 รูปแบบ มาประเมินเป็นส่วนหนึ่ง

ขอบข่ายการเทียบโอนผลการเรียน

1.  การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ และ การศึกษานอกระบบ

2.  การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษานอกระบบที่จัดเป็นหลักสูตรเฉพาะ

3.  การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรต่างประเทศ

4 . การเทียบโอนประสบการณ์ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ทหารกองประจำการ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น เป็นต้น

 5.  การเทียบโอนผลการเรียนจากการเรียนรู้ ในกิจกรรมพัฒนาอาชีพ

 

วิธีการเทียบโอนผลการเรียน

1.   การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ และ การศึกษานอกระบบ

2.   การเทียบความรู้และประสบการณ์

 

การเตรียมตัวของผู้ต้องการเทียบโอนผลการเรียน

1. จัดเตรียมเอกสารทางการศึกษา เป็นใบ ป.05  รบ. 1 ต

2. จัดเตรียมเอกสารการเทียบโอน ใบ สด.8 , บัตรประจำตัวอาสาสมัครสาธารณสุข

3.  หลักฐานอื่นๆ

 

หลักฐานการขอจบหลักสูตร  

                 การยื่นเรื่องขอจบหลักสูตร สามารถทำได้ 2 ภาคเรียน คือ

ภาคเรียนที่  1   ประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์

ภาคเรียนที่  2   ประมาณต้นเดือนกันยายน

เมื่อนักศึกษาได้รับการอนุมัติผ่านระดับการศึกษาและจบหลักสูตรแต่ละระดับแล้ว นักศึกษาจะต้องยื่นคำร้องขอจบการศึกษาพร้อมหลักฐาน ดังนี้

1.   ใบคำร้องขอจบหลักสูตร

2.   รูปถ่าย 4x5 เซนติเมตร จำนวน 2 รูป สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เป็นรูปประเภทโพลาลอยด์

3.   สำเนาทะเบียนบ้าน

4.   สำเนาหนังสือสำคัญ แสดงวุฒิเดิมก่อนเข้าเรียน

5.   สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนสกุล ใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี)



 

กศน.ตำบล

สถานที่พบกลุ่ม

1. กศน.ตำบลบ้านเขว้า 

ศูนย์การเรียนชุมชน บ้านบูรพา หมู่ที่ 14  ตำบลบ้านเขว้า  อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ

2. กศน.ตำบลลุ่มลำชี

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มลำชี (อาคารหลังเดิม)  หมู่ที่ 3 บ้านป่ายาง  ตำบลลุ่มลำชี  อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ

3. กศน.ตำบลโนนแดง

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง (อาคารหลังเดิม) หมู่ที่ 5 บ้านหนองแวง  ตำบลโนนแดง   อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ

4. กศน.ตำบลตลาดแร้ง

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดแร้ง  หมู่ที่ 17  บ้านโนน

ขี้ตุ่น  ตำบลตลาดแร้ง  อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ

5. กศน.ตำบลชีบน 

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลชีบน  หมู่ที่ 3  บ้านหนองกระทุ่ม   ตำบลชีบน อำเภอบ้านเขว้า   จังหวัดชัยภูมิ

6. กศน.ตำบลภูแลนคา

อาคารศูนย์การเรียนชุมชน  สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคา 

หมู่ที่ 1 บ้านหว้าเฒ่า  ตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ

 


 

 



เข้าชม : 3443
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ
480 ม.1 ถนนโคทองพัฒนา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ 36170
โทร 044-891341
อีเมล์ : Nfebankhwao@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05