[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 


 
 

 

 
 

 
ส่วนที่ ๑
ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป 
กศน.ตำบลห้วยต้อน
 
สถานที่ตั้ง
                กศน.ตำบลห้วยต้อน ตั้งอยู่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยต้อน 
อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ ๓๖๐๐๐ ลักษณะตัวอาคาร เป็นอาคารชั้นเดียว มีห้องจัดเก็บวัสดุหนึ่งห้อง และเป็นพื้นที่โล่งที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ใช้การพบกลุ่มนักศึกษา และการประชุมของหน่วยงานต่างๆในชุมชนอย่างมากมาย
 
สภาพทั่วไป
                กศน.ตำบลห้วยต้อน เดิมตั้งอยู่ที่อาคารเอนกประสงค์ของบ้านชีลองเหนือต่อมาได้รับความเห็นชอบจากผู้นำชุมชนและชุมชนให้ความเห็นชอบในการทำผ้าป่าเพื่อการศึกษาก่อสร้างอาคารประกอบ กศน.ตำบลห้วยต้อน ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยต้อนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางในการศึกษาหาความรู้ของชุมชนตำบลห้วยต้อน และเป็นสถานที่ในการพบกลุ่มนักศึกษา กศน.ตำบลห้วยต้อน ตลอดจนเป็นสถานที่ในการศึกษาตามอัธยาศัยของนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่ตำบลห้วยต้อน และใกล้เคียง ทั้งยังใช้ในการจัดกิจกรรมทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของนักศึกษาตำบลห้วยต้อน เครือข่ายการจัดการศึกษานอกระบบ ใช้ในการประชุมกลุ่ม จัดกิจกรรมต่างๆของชุมชน ลักษณะตัวอาคาร เป็นอาคารชั้นเดียว มีห้องจัดเก็บวัสดุ สื่ออุปกรณ์ และเป็นพื้นที่โล่งที่ใช้ในการจัดกิจกรรมและการพบกลุ่มนักศึกษา และการประชุมของหน่วยงานต่างๆมากมาย
 
ผู้บริหาร และบุคลากร กศน.ตำบลห้วยต้อน
ที่
ชื่อ - สุกล
ตำแหน่ง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
๑.
๒.
๓.
๔.
๕.
นายเกษม ทาขามป้อม
นายไชยยศ คงควร
นายชำนาญ ศรีกุดเลาะ
นายวัชธรพงษ์ พงษ์จำนง
นางกิติยา แพงเกษม
ผู้อำนวยการ กศน.อ.เมืองชัยภูมิ
หัวหน้า กศน.ตำบลห้วยต้อน
ครู ศรช.ตำบลห้วยต้อน
ครู ศรช.ตำบลห้วยต้อน
ครู ศรช.ตำบลห้วยต้อน
ต.ค.๒๕๕๒ ถึงปัจจุบัน
พ.ค.๒๕๔๔ ถึงปัจจุบัน
พ.ค.๒๕๕๔ ถึงปัจจุบัน
ต.ค.๒๕๕๕ ถึงปัจจุบัน
ส.ค.๒๕๕๖ ถึงปัจจุบัน
 
 
 
 
อาณาเขต กศน.ตำบลห้วยต้อน มีอาณาเขตติดต่อใกล้เคียง ดังนี้
                - ทิศเหนือ                             ติดกับตำบลกุดชุมแสง       อำเภอหนองบัวแดง
                - ทิศใต้                                   ติดกับตำบลโคกสูง            อำเภอเมืองชัยภูมิ
                - ทิศตะวันออก                    ติดกับตำบลนาฝาย             อำเภอเมืองชัยภูมิ
                - ทิศตะวันตก                       ติดกับตำบลภูแลนคา         อำเภอบ้านเขว้า
 
คณะกรรมการ ที่ปรึกษา กศน.ตำบลห้วยต้อน ประกอบด้วย
1.             ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยต้อนวิทยา
2.             ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งคองใต้
3.             ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชีลองใต้
4.             นักพัฒนาการศึกษา อบต.ห้วยต้อน
5.             พัฒนาชุมชน ประจำตำบลห้วยต้อน
 
คณะกรรมการสถานศึกษา กศน.ตำบลห้วยต้อน ประกอบด้วย
๑.
จ.ส.ต.สุรรัตน์ 
โพธิ์ชัย
ประธานกรรมการ
๒.
นายสมบัติ
เปรมสีมา
รองประธานกรรมการ
๓.
นายทวี
นาดี
กรรมการ
๔.
นายพิมภา
ขันสาลี
กรรมการ
๕.
นายประหยัด
ใจชัยภูมิ
กรรมการ
๖.
นายปัญญา
ครุธนอก
กรรมการ
๗.
นางสาวอรณี
บุญสิทธิ์
กรรมการ
๘.
นางสวน
หนองพร้าว
กรรมการ
๙.
นายช่วง
สมัตชัย
กรรมการ
๑๐.
นายพินิจ
เบ้าจันทร์
กรรมการ
๑๑.
นายสวาท
จรูญชัยสงค์
กรรมการ
๑๒.
นายบุญฮวน
บุญธรรม
กรรมการ
๑๓
นางละม่อม
ปราบภัย
กรรมการ
๑๔.
นายคำพา
จันทร์ทร
กรรมการ
๑๕
นางสถิตย์
สำนักแห้ว
กรรมการ
๑๖.
นายไชยยศ 
คงควร
กรรมการและเลขานุการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
องค์กรนักศึกษา กศน.ตำบลห้วยต้อน ประกอบด้วย
๑.
นางคำเบา
บำรุงชัย
ประธานกรรมการ
๒.
นายสงวนศักดิ์
พรประสิทธิ์
รองประธานกรรมการ
๓.
นางจินตนา
โคตรประทุม
กรรมการ
๔.
นางสถิตย์
สำนักแห้ว
กรรมการ
๕.
นางประครอง
พิเศษฤทธิ์
กรรมการ
๖.
นางบัวจันทร์
ปลื้มชัย
กรรมการ
๗.
นายสมบัติ
เปรมสีมา
กรรมการ
๘.
นางสาวสุจิตรตรา
พบชัยภูมิ
กรรมการและเลขานุการ
๙.
นางสาวอรณี
บุญสิทธิ์
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 อาสาสมัคร กศน.ตำบลห้วยต้อน ประจำตำบลห้วยต้อน
 
ที่
ชื่อ - สกุล
ปฏิบัติหน้าที่ อาสาฯ กศน.ที่
หมายเหตุ
บ้าน
หมู่ที่
๑.
นายสมบัติ
เปรมสีมา
บ้านห้วยต้อน
 
๒.
นายสุทิน  
ปลื้มสุด
บ้านห้วยต้อน
 
๓.
นางบัวจันทร์
ปลื้มชัย
บ้านห้วยต้อน
 
๔.
นายรื่น
หาญใจ
บ้านโป่งคองใต้
 
๕.
นายประหยัด
ใจชัยภูมิ
บ้านโป่งคองใต้
 
๖.
นายสมพร
ศรีษะใบ
บ้านโป่งคองใต้
 
๗.
นางสถิต
สำนักแห้ว
บ้านโป่งคองเหนือ
 
๘.
นางสลักจิต
คุ้มกุดขมิ้น
บ้านโป่งคองเหนือ
 
๙.
นายปัญญา
ครุธนอก
บ้านโป่งคองเหนือ
 
๑๐.
นางสวน
หนองพร้าว
บ้านชีลองเหนือ
 
๑๑.
นางทองลา
เทพลา
บ้านชีลองเหนือ
 
๑๒.
นางคำเบา
บำรุงชัย
บ้านชีลองเหนือ
 
๑๓.
นายอดิศักดิ์
ยิ้มรัมย์
บ้านคำน้อย
 
๑๔.
นางสาวอรณี
บุญสิทธิ์
บ้านคำน้อย
 
๑๕.
นายเมฆ
รักษ์จรรยา
บ้านชีลองใต้
 
๑๖.
นายบุญทรัพย์
น้อยจัตุรัส
บ้านชีลองใต้
 
๑๗.
นายอุทัย
วรรณชัย
บ้านชีลองใต้
 
๑๘.
นายช่วง
สมัตชัย
บ้านชีลองกลาง
 
๑๙
นายพร้อม
ยางนอก
บ้านชีลองกลาง
 
๒๐.
นางสาวกติมา
ครบมิตร
บ้านชีลองกลาง
 
๒๑.
นายสุริยัน
วันสา
บ้านสามพันตา
 
๒๒.
นางสาวผุสดี
ฝาชัยภูมิ
บ้านสามพันตา
 
๒๓.
นายสมบูรณ์
อิทธิแสน
บ้านสามพันตา
 
๒๔.
นายลา
ขันสาลี
บ้านสามพันตา
 
๒๕.
นายดานิด
ยศม้าว
บ้านวังเดือนห้า
 
๒๖.
จ.ส.ต.สุรรัตน์
โพธิ์ชัย
บ้านใหม่ห้วยต้อน
๑๐
 
๒๗.
นายสงวนศักดิ์
พรประสิทธิ์
บ้านใหม่ห้วยต้อน
๑๐
 
๒๘.
นางอรพรรณ
มีสถาน
บ้านใหม่ห้วยต้อน
๑๐
 
๒๙.
นายสุมิตร
อินนอก
บ้านใหม่สามพันตา
๑๑
 
๓๐.
นายทองสา
เขตคาม
บ้านใหม่สามพันตา
๑๑
 
๓๑.
นายบุญฮวน
บุญธรรม
บ้านใหม่สามพันตา
๑๑
 
๓๒.
นางละม่อม
ปราบภัย
บ้านใหม่ผาเอียง
๑๒
 
๓๓.
นางสมพร
อาจสุข
บ้านใหม่ผาเอียง
๑๒
 
 
ปรัชญา
                    สร้างสังคมอุดมปัญญา เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
วิสัยทัศน์ (Vision)
                    กศน.ตำบลห้วยต้อน (ศูนย์การเรียนชุมชน) เป็นหน่วยงานในสังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชัยภูมิ มีฐานะเป็นองค์กรที่จัดการศึกษานอกระบบและจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน อย่างมีคุณภาพ   เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ (Mission)
         ๑. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยและส่งเสริมการศึกษาในระบบให้มีคุณภาพ
       ๒. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
       ๓. พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาตลอดชีวิต
       ๔. พัฒนาบุคลากร (องค์กรนักศึกษา และอาสา กศน.ตำบล) และภาคีเครือข่ายเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
         ๕. ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 เป้าประสงค์
               ๑. ประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุระหว่าง ๑๕ -๕๙ ปี ร้อยละ ๕๐ ของ กศน.ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ   ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุมและเป็นธรรม เพื่อยกระดับการศึกษาไม่น้อยกว่าระดับมัธยมศึกษา โดยส่งเสริมให้เครือข่ายร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างสังคมอุดมปัญญา
                ๒. ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อให้มีความเชื่อมั่น ศรัทธาในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(Democracy) มีคุณธรรม จริยธรรม มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย (Decency) และมีภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free)
                ๓. ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                ๔. แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่อย่างทั่วถึง และได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองตอบความต้องการ การเรียนรู้ของประชาชน
                ๕. ภาคีเครือข่ายมีศักยภาพในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
                ๖. กศน.ตำบล (ศูนย์การเรียนชุมชน) นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในการให้บริการ การเรียนรู้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเน้นการดำเนินงาน   กศน.ตำบลห้วยต้อน (ศูนย์การเรียนชุมชน)
                ๑) พัฒนาบุคลากร องค์กรนักศึกษา และอาสา กศน.ระดับตำบล ให้มีวิสัยทัศน์และศักยภาพในการปฏิบัติงาน รวมทั้งสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมในการทำงานตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐ
                ๒) พัฒนาและขยายภาคีเครือข่าย ให้สามารถจัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
                ๓) ปรับปรุงระบบกลไกการบริหารจัดการให้มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยพัฒนาระบบงบประมาณที่เน้นความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ 
๔) ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปรับปรุง แก้ไข และจัดให้มีแนวปฏิบัติที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน
                ๕) พัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้พร้อมสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก
                ๖) สร้างสรรค์และพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน
 
วิเคราะห์ SWOT ของ กศน.ตำบลห้วยต้อน
                SWOT Analysis คือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กรเป็นขั้นตอนแรกๆในการทำแผนประเภทต่างๆ เช่น แผนกลยุทธ์ ซึ่งกำลังเป็นแผนที่วงการต่างๆรวมทั้งวงการ กศน.สนใจ
                ๑.สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (งบประมาณ เครื่องมือ เทคโนโลยี บุคลากร ภารกิจของหน่วยงาน โครงสร้างการบริหาร)
                ๑) Strength (จุดแข็ง) คือ สภาพที่ทำให้หน่วยงาน (กศน.ตำบลห้วยต้อน) เข็มแข็งพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าได้ จุดแข็งของ กศน.ตำบลห้วยต้อน มีจุดแข็ง ดังต่อไปนี้
                 ๑.๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา กศน.ตำบลห้วยต้อน เป็นอย่างดี
                 ๑.๒) ผู้นำชุมชน /ประชาชนในชุมชน /องค์กรนักศึกษา /คณะกรรมการ กศน.ตำบลห้วยต้อน เห็นความสำคัญ ของการศึกษาในชุมชนเป็นอย่างมาก มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล กำกับติดตามและแก้ไขปัญหารวมกับครู กศน.ตำบลสม่ำเสมอ ร่วมวางแผนการพัฒนา กศน.ตำบลอย่างเป็นระบบ
                 ๑.๓) นักศึกษาส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มเยาวชนที่มีความรับผิดชอบสูง และองค์กรนักศึกษา มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในการทำงานสูง เช่น ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านการประชาสัมพันธ์ สามารถทำงานทดแทนกับได้ มีความพร้อม มีความสามัคคี ช่วยเหลือกันสร้างกระบวนการการทำงานเป็นทีม
                 ๑.๔) ภารกิจหรืองานในหน้าที่ของ กศน.ตำบลห้วยต้อน มีลักษณะงานที่หลากหลาย หน้าสนใจ มีหลายหลักสูตรหลายวิธี ช่วยพัฒนาสังคมได้ 
                 ๑.๕) มีการจัดเวทีชาวบ้าน
                 ๑.๖) มีความพร้อมทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสื่อเทคโนโลยี ที่หลากหลาย ซึ่งง่ายต่อการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง
                 ๑.๗) ด้านนโยบายและแผน มีการจัดวางแผนอย่างเป็นระบบและเป้าหมายการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย แผนระดับสูงได้
               
                ๒) Weakness (จุดอ่อน) คือ สภาพที่ทำให้การดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายไม่ได้
                 ๒.๑) ด้านกลุ่มเป้าหมาย (นักศึกษา) บางรายขาดความรับผิดชอบ ไม่มีวินัยในตนเอง ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน และไม่มีการทำงานเป็นกลุ่ม
                 ๒.๒) การหากิจกรรมที่เด่นในชุมชน
                 ๒.๓) พื้นฐานด้านความรู้ที่ไม่เท่ากัน
                 ๒.๔) สื่อทางด้านเทคโนโลยีที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
                 ๒.๕) ขาดงบประมาณในการปรับปรุงพัฒนา กศน.ตำบลให้คงทนถาวรและทันสมัย
                ๒. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร เช่น ภาวะทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ปัญหายาเสพติด นโยบายของรัฐบาล)
                 ๑) Opportunities (โอกาส) คือสภาพที่ทำให้องค์กรพัฒนาก้าวหน้าแข่งกับองค์กรอื่นได้
                 ๑.๑) ด้านกลุ่มเป้าหมาย กศน.ตำบลห้วยต้อน ยังมีกลุ่มเป้าหมายที่ให้ความสนใจ และความสำคัญต่อการศึกษาอีเป็นจำนวนมาก จึงสามารถสร้างผลงานในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทั้งกลุ่มเป้าหมายที่ขาดโอกาสทางการศึกษา
                ๑.๒) ด้านเครือข่ายทางการศึกษา ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถานศึกษาในระบบในการช่วยจัดการศึกษา และยังมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คอยให้การสนับสนุนในการจัดการศึกษา ร่วมเป็นคณะกรรมการต่างๆมากมาย
                 ๒)Threats (อุปสรรค) คือสภาพที่กีดขวางเหนี่ยวรั้งการพัฒนา
                 ๒.๑) ด้านงบประมาณ ขาดงบประมาณจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงที่จะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่สมบูรณ์ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของครู กศน.ในพื้นที่ที่ห่างไกล และค่าตอบแทนที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานที่สามารถเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานได้
                 ๒.๒) การร่วมกลุ่มต่างๆในชุมชนยังทำได้ยากในบางพื้นที่
                 ๒.๓) การส่งเสริมทางด้านงบประมาณที่ส่งลงในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายไม่ต่อเนื่อง
                ๓. แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนา
                 ๓.๑) การจัดการอบรมพัฒนาให้ครู กศน.ได้มีความรู้ความสามรถเพิ่มมากขึ้น อยู่เสมอ 
                ๓.๒) มีงบประมาณสำรองต่อการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่เพียงพอ
                 ๓.๓) งบประมาณที่จัดให้กับ กศน.ตำบลยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่นที่จับงานเพียงอย่างเดียวแต่มีประสิทธิภาพสูง
                 ๓.๔) หน่วยงานต้นสังกัดที่รับผิดชอบ ควรให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา ปรับปรุง กศน.ตำบลเป็นประจำทุกๆภาคเรียน
                 ๓.๕) ครูควรหาวิธีในการติดต่อกับนักศึกษาให้หลากหลายวิธีมากกว่านี้ และควรมีมาตรการในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนขององค์กร ไม่ควรเป็นระบบที่ต้องการแต่ปริมาณแต่ขาดคุณภาพ
                ๓.๖) งบประมาณที่จัดให้กับ กศน.ตำบลยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่นที่จับงานเพียงอย่างเดียวแต่มีประสิทธิภาพสูง
                 ๓.    ๗) การเก็บข้อมูลพื้นที่แต่ละครั้ง ควรจะมีงบประมาณในการจ้างบุคคลในพื้นที่มาช่วยในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและสาขาอาชีพ เพื่อความถูกต้อง
ปฏิทินการปฏิบัติงาน
                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีตารางการพบกลุ่ม ดังนี้
วัน
เวลา
หน้าที่/กิจกรรม
สถานที่
จันทร์
๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
ประชุมบุคลากร/ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
กศน. อ.เมืองชัยภูมิ
อังคาร
๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
ปฏิบัติหน้าที่และวางแผนการพบกลุ่ม
กศน.ตำบลห้วยต้อน
พุธ
๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
พบกลุ่มนักศึกษาระดับประถม/ม.ต้น
กศน.ตำบลห้วยต้อน
พฤหัสบดี
๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
พบกลุ่มนักศึกษาระดับม.ปลาย
กศน.ตำบลห้วยต้อน
ศุกร์
๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
 - ลงพื้นที่พบกลุ่มย่อย
 - ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการชุมชน
กศน.ตำบลห้วยต้อน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 








































 


เข้าชม : 1450
 
 
ที่ตั้ง  ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเมืองชัยภูมิ
ถนนบรรณาการ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ๓๖๐๐๐
 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05