[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 


 
 







การศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพ
       การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลและกลุ่มบุคคล เพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน มีการจัด 4 แนวทาง คือ
       1. การฝึกทักษะอาชีพ เป็นการให้การศึกษาหลักสูตรระยะสั้นสายอาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในอาชีพ
       2. การเข้าสู่อาชีพ เป็นการพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถ คิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง เพื่อเข้าสู่อาชีพ
       3. กลุ่มพัฒนาอาชีพ เป็นการส่งเสริมความรู้และประสบการณ์แก่กลุ่มผู้เรียนกลุ่มที่มีอาชีพประเภทเดียวกันให้ สามารถพัฒนาปริมาณและคุณภาพผลผลิตเข้าสู่การจำหน่ายที่มีรายได้ยิ่งขึ้น เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยกระบวนการกลุ่ม
       4. การพัฒนาด้วยเทคโนโลยี เป็นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา อาชีพและศักยภาพแก่ตนเองและกลุ่ม
         แนวทางการจัดการศึกษาอาชีพทั้ง 4 แนวทาง เป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทั้งการเรียนรู้และการประกอบอาชีพมิได้แยกจากกันโดยเด็ดขาด เช่น เมื่อเรียนพัฒนาอาชีพ อาจจะต้องการความรู้ ทักษะอาชีพบางอย่างที่จะมาเสริมให้อาชีพที่ดำเนินอย่างมีคุณค่ามากขึ้น ก็สามารถกระทำได้ ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จของการศึกษาสายอาชีพ คือผู้เรียนมีรายได้ มีเงินออมเป็นผลให้ครอบครัวมั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง

การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
          การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็น การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานของบุคคล เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเน้นพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็น 4 ด้าน คือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ใน การจัดกิจกรรมทักษะชีวิตควรใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ให้กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกคิดวิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ คือลงมือทำ เพื่อนำไปสู่การจำและฝึกกระบวนการแก้ปัญหา เพื่อให้สามารถพัฒนาทักษะชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ ต่อไป
สถานศึกษาควรมีหลักในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ดังนี้
        1. ยึดกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก
        2. ยึดทักษะชีวิตพื้นฐานที่จำเป็น 4 ด้าน เป็นหลัก
        3. ยึดประเด็นปัญหาในชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก
        4. ยึดนโยบายรัฐ หรือเอกลักษณ์ของชาติเป็นหลัก
            โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมทักษะชีวิตสามารถจัดได้ในรูปแบบ กลุ่มสนใจ เข้าค่าย การอบรมประชาชน และการจัดกิจกรรมชุมชน

การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
เป็น การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถและศักยภาพของคนในชุมชน รวมทั้งกลไกทุกภาคส่วนในชุมชนให้ร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการ ฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง โดยหน่วยงานสถานศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนต้องให้ความสำคัญต่อการใช้กระบวน การทางการศึกษาส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน เกิดการเรียนรู้และบูรณาการความรู้ ประสบการณ์ และทักษะอาชีพเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม และ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามนโยบายดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานในการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมพัฒนา สังคมและชุมชน ใน 5 ด้าน ซึ่งมีจุดเน้นของแต่ละด้าน ดังนี้
         1. ด้านเศรษฐกิจ - กิจกรรมเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
         2. ด้านการเมือง - กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในวิถีชีวิต 
         3. ด้านสังคม - กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้
         4. ด้านสิ่งแวดล้อม - กิจกรรมรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
         5. ด้านศิลปวัฒนธรรม - กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน 
             ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้พยายามเชื่อมโยงหรือบูรณาการทั้ง 4 กิจกรรมด้วย โดยสอดคล้องกับสภาพเป็นจริง ในชีวิตและสังคมของผู้เรียน


 
 








































 



เข้าชม : 782
 
 
ที่ตั้ง  ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเมืองชัยภูมิ
ถนนบรรณาการ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ๓๖๐๐๐
 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05