บริบทของสถานศึกษา
1. ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลรอบเมือง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๐๙ บ้านกกบก หมู่ที่ ๓ ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ ๓๖๐๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ - หมายโทรสาร - E-mail : kanda_kalapa@hotmail.com
Website :
2. สังกัด
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
3. ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลรอบเมือง ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่....................................................................ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้ทำ
การปรับปรุงและพัฒนาอาคารเรียนโรงเรียนบ้านกกบกซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บนเนื้อที่ ขนาดความกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๗ เมตร ซึ่งโรงเรียนได้ยุบรวมกับโรงเรียนใกล้เคียง กศน.ตำบลรอบเมืองจึงได้ใช้เป็นอาคารเรียนเพื่อพบกลุ่มนักศึกษา และเป็นสถานที่ทำงาน โดยมีบุคลากรปฏิบัติงานประกอบด้วย พนักงานราชการ หัวหน้าตำบล ๑ คน ครูศูนย์การเรียนชุมชน ๒ คน ครูประจำกลุ่ม ๑ คน
พื้นที่รับผิดชอบ มีพื้นที่รับผิดชอบให้บริการจำนวน 4 หมู่บ้าน มีศูนย์การเรียนชุมชนที่ตั้งอยู่
ในพื้นที่ ๓ แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านโนนกอก หมู่ ๑ ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านมอดินแดง หมู่ ๔ และศูนย์การเรียนชุมชนบ้านกกบก หมู่ ๓ โดยศูนย์การเรียนชุมชนแต่ละแห่งจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบตามยุทธศาสตร์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยมีครูศูนย์การเรียนชุมชน และพนักงานราชการรับผิดชอบจัดกิจกรรม
การศึกษานอกระบบและกิจกรรมอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
4. สภาพทั่วไปของ กศน.ตำบลรอบเมือง
ตำบลรอบเมือง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองชัยภูมิและห่างจากอำเภอเมืองไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 225 (ถนนชัยภูมิ-บ้านเขว้า) เป็นระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลนาฝาย , บ้านเล่า
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบุ่งคล้า , หนองนาแซง , ชีลอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลเมืองชัยภูมิ , ตำบลบุ่งคล้า
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโคกสูง
ข้อมูลพิกัดที่ตั้ง กศน.ตำบลรอบเมือง
main page
ลำดับ :15465
ชื่อ: กศน.ตำบลรอบเมือง
ประเภท :ศรช.
ที่อยู่ :109 ม.3
ตำบล :รอบเมือง
อำเภอ :เมืองชัยภูมิ
จังหวัด :ชัยภูมิ
รหัสไปรษณี :36000
เบอร์โทร :0898446196
พิกัด X :15.83282
พิกัด Y :102.05049
update สมบูรณ์ กรุณากลับไปตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง
หน้าหลัก
ประชากร
ตำบลรอบเมือง เป็น 1 ใน 18 ตำบลในเขตปกครองอำเภอเมืองชัยภูมิ มีการปกครองส่วนท้องที่ 4 หมู่บ้าน ซึ่งมีพื้นที่ในส่วนที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสิ้น 4 หมู่บ้าน
ประชากรในเขตรับผิดชอบของ กศน.ตำบลรอบเมือง มีจำนวนทั้งสิ้น 4 หมู่บ้าน จำนวน 2,536 คน แยกเป็นเพศชาย จำนวน 1,294 คน แยกเป็นเพศหญิง จำนวน 1,242 คน จำนวนครัวเรือน 997 ครัวเรือน ดังนี้
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวน
|
จำนวนประชากร
|
ผู้ใหญ่บ้าน
|
ครัวเรือน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1
|
บ้านโนนกอก
|
207
|
437
|
371
|
808
|
นายสมพงษ์ ผดุงพล
|
2
|
บ้านขี้เหล็กใหญ่
|
433
|
387
|
408
|
795
|
นางอัญชลี เอมประชา
|
3
|
บ้านกกบก
|
123
|
183
|
199
|
382
|
นายกำพล พงษ์สวัสดิ์
|
4
|
บ้านมอดินแดง
|
234
|
287
|
264
|
551
|
นายนิวัตร เสาวดี
|
รวม
|
997
|
1,294
|
1,242
|
2,536
|
|
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศ ทางด้านทิศเหนือมีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนตื้นๆ และค่อยๆ ลาดลงเป็นพื้นที่ราบสูง เฉลี่ยประมาณ 180 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีลำห้วยปะทาวไหลผ่านไปทางทิศตะวันออก
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ร้อน มี 3 ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งอากาศโดยเฉลี่ยค่อนข้างร้อนอบอ้าว ตลอดทั้งปี
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลรอบเมือง ประกอบอาชีพในภาคเกษตรเป็นหลัก คือ การทำไร่ ทำสวน และประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป
สภาพปัญหาของชุมชน
สภาพปัญหาหลักของชุมชนในตำบลรอบเมือง จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองชัยภูมิ แบ่งออกได้ดังนี้
1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่คือ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนไม่แน่นอนปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำ คนในครัวเรือนประกอบอาชีพและมีงานทำน้อย ครัวเรือนไม่มีการเก็บออมเงิน เนื่องจากรายได้น้อยและรายจ่ายสูง และปัญหาหนี้สินของครัวเรือน
2. ปัญหาด้านสังคม พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาการได้รับการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน และขาดความรู้ด้านทักษะในการประกอบอาชีพ และปัญหาชุมชนบางชุมชนขาดแคลนสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้
3. ปัญหาด้านอื่นๆ พบว่า ปัญหาหลักของคนในชุมชนคือการขาดแหล่งน้ำในการทำการเกษตร ขาดที่ดินทำกิน ดินเสื่อมสภาพไม่เหมาะต่อการทำการเกษตร
ความต้องการของชุมชน
ความต้องการของชุมชนซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (Village
Development Report) ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองชัยภูมิ พบว่าความต้องการหลักของชุมชนได้แก่
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ชุมชนมีความต้องการงบประมาณสนับสนุนในการสร้างและพัฒนาแหล่งน้ำให้มีเพียงพอในการทำการเกษตรในฤดูแล้ง การสร้างถนนเข้าหมู่บ้านเพื่อความสะดวกในการคมนาคมขนส่งสินค้าทางการเกษตรของคนในชุมชน การปรับปรุงแก้ไขปัญหาการเสื่อสภาพของดินให้สามารถทำการเกษตรได้ การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้าและประปา
2. ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนมีความต้องการให้หน่วยงานของรัฐช่วยส่งเสริมรณรงค์และถ่ายทอดความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในด้านการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้การประหยัดและการออม การส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
3. ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน ชุมชนมีความต้องการให้หน่วยงานของรัฐ ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่อง การหาตลาดรองรับผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอาชีพ มีการจัดฝึกอบรมการผลิตสินค้า การจัดงบประมาณอุดหนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ จัดการฝึกอบรมทักษะการประกอบอาชีพ
4. ด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส ชุมชนมีความต้องการให้หน่วยงานของรัฐส่งเสริมการฝึกอาชีพให้ผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว การหาอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรในฤดูกาลที่ไม่ได้ทำการเกษตร ให้การส่งเสริมและสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ เด็ก คนชรา คนยากจน และคนด้อยโอกาสอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
5. ด้านผู้นำชุมชน ชุมชนมีความต้องการให้ส่งเสริมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชนส่งเสริมและสนับสนุนการไปศึกษาดูงานเพื่อให้ผู้นำชุมชนได้นำเอาความรู้ที่ได้มาพัฒนาชุมชนของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
การมีส่วนร่วมของชุมชน
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลรอบเมือง จัดการศึกษาโดยมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการดังนี้
1. คณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาวางแผนบริหาร จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับตำบล
2. คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชน เพื่อพิจารราวางแผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับตำบล
3. องค์กรนักศึกษาระดับตำบล เพื่อร่วมพิจารราวางแผนบริหารจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับตำบล
4. องค์กรนักศึกษาระดับอำเภอ เพื่อร่วมพิจารณาวางแผนบริหารจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับอำเภอ_
5. องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานเครือข่าย ภูมิปัญญา ให้การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน
ปัจจุบันศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลรอบเมือง เป็นแม่ข่ายจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมี หัวหน้า กศน.ตำบล และครู ศรช. ที่อยู่ในพื้นที่ตำบล ซึ่งเปรียบเสมือนห้องเรียนของสถานศึกษา มีการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ครูและผู้เรียนร่วมวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีการกำหนดตารางการพบกลุ่มอย่างชัดเจนและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ครบทุกระดับ
สภาพปัจจุบันของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลรอบเมือง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลรอบเมือง สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ดำเนินการจัดการเรียนการสอนการศึกษาพื้นฐานสายสามัญ ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมมีหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและการแสวงหาความรู้ การศึกษาต่อเนื่องการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือในการประกอบอาชีพของบุคคลและกลุ่มอาชีพต่างๆของคนในพื้นที่ โดยมีการสำรวจความต้องการของชุมชนก่อนการจัดทำหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนให้มากที่สุด การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ ความสามารถของกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สามารถจัดการกับตนเอง จัดการกับสิ่งแวดล้อม
ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ชุมชน ได้อย่างมีความสุข และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการบูรณาการความรู้และทักษะจากประสบการณ์ที่มีอยู่หรือจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนรูปแบบต่างๆ และทุนทางสังคม เป็นเครื่องมือในการจัดการสังคมและชุมชนให้มีความเข้มแข้ง พึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความต้องการของชุมชนต่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของชุมชนต่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบลรอบเมือง สามารถวิเคราะห์ได้ผลดังนี้
1. การจัดการศึกษาต้องสอดคล้องกับสภาพสังคม/ชุมชน เมื่อสังคม/ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงการศึกษาก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จะต้องมีการแก้ไขหลักสูตรสถานศึกษาให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพสังคม/ชุมชนอยู่เสมอ
2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เกิดแนวความคิดด้านการเรียนการสอนที่พัฒนาตลอดจนเกิดการคิดค้นแนวทางใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนอยู่เสมอ ครูผู้สอนจึงควรมีความรอบรู้และสามารถนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. การนิเทศและติดตามประเมินผล จะช่วยให้เกิดมาตรฐานการศึกษาเพราะการนิเทศติดตาม
ประเมินผลเป็นระบบในการควบคุมดูแลการศึกษาและการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเมื่อพบข้อบกพร่องก็จะได้มีการปรับปรุง ช่วยเหลือ แนะนำและแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นผู้บริหารจึงควรให้
ความสำคัญต่อการนิเทศและติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ให้มากยิ่งขึ้น
การบริการขั้นพื้นฐาน
การคมนาคมและการขนส่ง
สภาพการคมนาคมตำบลรอบเมืองใช้การคมนาคมทางบกเป็นหลัก เส้นทางการคมนาคมติดต่อภายในเขตตำบลใกล้เคียงใช้เส้นทาง
- ถนนชัยภูมิ –หนองบัวแดง
- ถนนชัยภูมิ-บ้านเขว้า
- ถนนนิเวศรัตน์
- ถนนรพช. ในการเดินทางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและตำบล
ประชาชนส่วนใหญ่ใช้บริการรถโดยสารขนาดเล็ก รถจักรยานยนต์และรถสามล้อรับจ้างในการสัญจรไปมา ส่วนการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรนิยมใช้รถยนต์บรรทุกขนาดเล็กหรือรถยนต์กระบะส่วนบุคคลขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาดหรือแหล่งรับซื้อต่าง ๆ
สาธารณูปโภค
- โทรศัพท์ ส่วนใหญ่ประชาชนใช้โทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์มือถือ ในพื้นที่มีโทรศัพท์สาธารณะให้บริการที่บ้านโนนกอก หมู่ที่ 1 จำนวน 1 จุด และบ้านกกบก หมู่ที่ 3 จำนวน 1 จุด
- ระบบไฟฟ้า มีผู้ใช้ไฟฟ้า จำนวน 866 ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้จำนวน 22 ครัวเรือน
- ระบบประปา มีผู้ใช้น้ำ จำนวน 849 ครัวเรือน ไม่มีน้ำใช้ จำนวน 39 ครัวเรือน
ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำตามธรรมชาติ มีทั้งหมด 12 แห่ง ได้แก่
1. บ่อเกลือ หมู่ที่ 1 บ้านโนนกอก มีพื้นที่ 15 ไร่
2. หนองเรือ หมู่ที่ 1 บ้านโนนกอก มีพื้นที่ 4 ไร่
3. โคกหินแห่ หมู่ที่ 1 บ้านโนนกอก มีพื้นที่ 1 ไร่
4. สระแตง หมู่ที่ 1 บ้านโนนกอก มีพื้นที่ 2 งาน
5. ลำห้วยชีลอง หมู่ที่ 1 บ้านโนนกอก
6. หนองแปน หมู่ที่ 2 บ้านขี้เหล็กใหญ่ มีพื้นที่ 18 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวา
7. หนองเบ็น หมู่ที่ 2 บ้านขี้เหล็กใหญ่ มีพื้นที่ 40 ไร่
8. หนองแสง หมู่ที่ 3 บ้านกกบก มีพื้นที่ 2 ไร่
9. หนองสระวัด หมู่ที่ 3 บ้านกกบก มีพื้นที่ 1 ไร่
10. ลำห้วยปะทาว หมู่ที่ 3 บ้านกกบก
11. ลำห้วยเสว หมู่ที่ 3 บ้านกกบก
12. หนองหลุมดิน หมู่ที่ 4 บ้านมดดินแดง มีพื้นที่ 6 ไร่46.4 ตารางวา
แหล่งน้ำที่สร้างขี้น มีทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่ ฝายน้ำล้น หมู่ที่ 3 บ้านกกบก จำนวน 2 แห่ง
งบประมาณ
ที่
|
ชื่อโครงการ / กิจกรรม
|
งบประมาณ
|
ระยะเวลา
|
ผู้รับผิดชอบ
|
แผนงาน / งบประมาณ
|
บาท
|
สต.
|
๑
|
กิจกรรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตร ๓๐ ชั่วโมง
|
|
|
|
|
|
|
๑.๑ วิชาการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
|
๗,๐๐๐
|
-
|
๑๑ ก.พ. – ๒๒ ก.พ. ๒๕๕๖
|
นางสาวกานดา กาฬปักษ์
|
งบดำเนินงาน
|
|
๑.๒ วิชาการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
|
๗,๐๐๐
|
-
|
๑๑ ก.พ. – ๒๒ ก.พ. ๒๕๕๖
|
นายมงคล บุญคำภา
|
งบดำเนินงาน
|
|
๑.๓ วิชาการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
|
๖.๐๐๐
|
-
|
๑๑ ก.พ. – ๒๒ ก.พ. ๒๕๕๖
|
นายมงคล บุญคำภา
|
งบดำเนินงาน
|
๒
|
โครงการปรับพื้นฐานผู้เรียนโดยเน้นด้านคุณธรรม ๙ ประการ
|
๒๐,๑๐๐
|
-
|
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
|
กศน.ตำบลรอบเมือง
|
งบดำเนินงาน
|
๓
|
โครงการพัฒนาผู้เรียนด้านวิชาการ
|
๘,๔๐๐
|
-
|
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
|
กศน.ตำบลรอบเมือง
|
งบดำเนินงาน
|
๔
|
โครงการพัฒนาผู้เรียนด้านการใช้ ICT
|
๕,๐๐๐
|
-
|
๑๓-๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
|
กศน.ตำบลรอบเมือง
|
งบดำเนินงาน
|
๕
|
โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
|
๓๐,๐๐๐
|
-
|
ธ.ค. ๒๕๕๕ – ก.ย. ๒๕๕๖
|
กศน.ตำบลรอบเมือง
|
งบดำเนินงาน
|
|
รวม
|
๘๓,๕๐๐
|
-
|
ตัวอักษร (แปดหมื่นสามพันห้าร้อยบาทถ้วน)
|
สิ่งอำนวยความสะดวก
๑. มีอาคารเป็นเอกเทศ สภาพแข็งแรงมั่นคง มีแสงสว่างเพียงพอ มีสถานที่พบกลุ่มและพร้อมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใน กศน.ตำบลรอบเมือง
๒. มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งโต๊ะ ๖ เครื่อง โน้ตบุ๊ค ๒ เครื่อง
๓. จัดให้บริการพิมพ์งาน ปริ้นงาน สำหรับนักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
แหล่งเรียนรู้
ที่
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
ผู้รับผิดชอบ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่ตั้ง
|
ผู้รับผิดชอบ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาคีเครือข่าย
ที่
|
ภาคีเครือข่าย
|
ที่ตั้ง
|
กิจกรรม/หมายเหตุ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เกียรติยศ ชื่อเสียง และผลงาน/โครงการดีเด่นของสถานศึกษา
ปรัชญาของสถานศึกษา
“คิดเป็น มุ่งเครือข่ายร่วมจัด ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง”
วิสัยทัศน์ (Vision) ของสถานศึกษา
“ประชาชนในตำบลรอบเมืองได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง และเท่าเทียม”
พันธกิจ (Mission) ของสถานศึกษา
พันธกิจที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตโดยเน้น การศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาต่อเนื่อง ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจที่ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย โดยเน้นการพัฒนาสถานศึกษา ๓ ดี
พันธกิจที่ 3 สร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายในการร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นกลไกในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
พันธกิจที่ 4 ส่งเสริมให้ชุมชนจัดการความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยบูรณาการ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาสากลผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
พันธกิจที่ 5 พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้และทักษะการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์ (Goals) ของสถานศึกษา
1. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
2. ประชาชนในท้องถิ่นได้รับการพัฒนาวิชาชีพ มีอาชีพเสริมและรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถพึ่งพาตนเอง และเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
3. ประชาชนในท้องถิ่นได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนเป้นผู้มีนิสัยในการรักการอ่าน
4. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมกาจัดการศึกษาตลอดชีวิตร่วมกับ กศน.
5. ชุมชนได้รับการพัฒนาให้เป็นชุมชนที่มีความรู้ มีความเข้มแข็งและมีความภูมิใจใน ภูมิปัญญาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น
6. สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสังคม
ตัวชี้วัดของสถานศึกษา
1. ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและประชากรวัยแรงงานได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอย่างน้อยร้อยละ 70
2. ผู้เข้ารับการฝึกวิชาชีพผ่านการฝึกอย่างน้อยร้อยละ 80
3. อัตราผู้ไม่รู้หนังสือลดลงกว่าปีที่แล้วอย่างน้อยร้อยละ 30
4. ภาคีเครือข่ายอย่างน้อยจำนวน 10 องค์กรเข้ามีมาส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมกับ กศน.
5. มีการจัดทำทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่นในทุกหมู่บ้านและมีการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่และ
แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหมู่บ้าน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
6. ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับดี
10. นโยบาย (Policies) ของสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลรอบเมือง ได้กำหนดนโยบายการ
ดำเนินงานการจัดส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในปีงบประมาณ พ.ศ.255( เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 โดยยึดแนวนโยบายของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดังต่อไปนี้
1. นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ ดำเนินการสำรวจผู้ไม่รู้หนังสือในพื้นที่และดำเนินการหลักสูตรและสื่อที่เหมาะสมกับสภาพของกลุ่มเป้าหมาย โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ปรับรูปแบบการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของผู้เรียน ให้ความสำคัญกับการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ การเทียบระดับการศึกษาและการประสานความร่วมมือกับองค์กรหลักในการจัดการศึกษา มุ่งจัดการศึกษาต่อเนื่องหลักสูตรระยะสั้นและการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง
2. นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย ดำเนินการปรับปรุงพัฒนา กศน.ตำบลเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ประจำตำบล จัดทำฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือและดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมรักการอ่านสู่กลุ่มเป้าหมาย
3. นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ใน กศน.ตำบล ส่งเสริมให้และส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ผู้รู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
4. นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ ดำเนินการสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นกระบวนการเกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรธรรมชาติ และสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ
5. นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดหาสื่อ และพัฒนารูปแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ขยายโอกาสการให้บริการการศึกษาแก่ชุมชน เช่น Student Channelและอินเตอร์เน็ตตำบล
6. นโยบายด้านภาคีเครือข่าย เน้นการสร้างความเข้าใจของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับเครือข่าย ส่งเสริมให้เครือข่ายได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตร่วมกับ กศน.
7. นโยบายด้านการบริหารจัดการ มุ่งพัฒนาคุณภาพของบุคลากรให้มีคุณภาพ จัดระบบและ
กระบวนการนิเทสภายในที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ปรับปรุงระบบการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา เร่งสร้างวัฒนธรรมการทำงานและค่านิยมร่วมกันภายในองค์กร
10. กลยุทธ์การดำเนินงานของสถานศึกษา
เพื่อให้การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของ กศน.ตำบลรอบเมือง
บรรลุผลสำเร็จตามยุทธศาสตร์การดำเนินงาน จึงได้วางแผนกลยุทธ์การดำเนินการดังต่อไปนี้
1. การประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายรูปแบบและทั่วถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้กลยุทธ์ ปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐานแก่ผู้เรียน จัดทำแผนการเรียนรู้รายบุคคล ขยายช่องทางการเรียนรู้ ขยายและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ (สอนเสริม,พบผู้รู้,ออนไลน์) ลุยถึงที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายอย่างทั่วถึง จัดหาวิทยากรที่มีความรู้ประสบการณ์และมีเทคนิคในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษา__พัฒนาบุคลากรด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดกิจกรรมสัญจร (ลุยถึงที่) ใช้กระบวนการหมุนเวียนสื่อจัดกิจกรรมหลากหลายโดนใจผู้เรียน และบริการที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ
2. การทำงานเป็นทีม ใช้กลยุทธ์จัดตั้งทีมงาน แบ่งตามบทบาทหน้าที่ความรู้ความสามารถ และพัฒนากยภาพและฝึกอบรมให้กับบุคลากร
3. มีมนุษยสัมพันธ์และเป็นนักประสานงานที่ดี โดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาบุคลิกภาพและฝึกอบรม