๑. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชัยภูมิ
๒. สถานที่ตั้ง ๙๐ ถนนบรรณาการ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
โทรศัพท์ ๐-๔๔๘๑-๑๙๐๖ โทรสาร -
E-Mail pnang_2307@hotmail.com
๓. ลักษณะอาคาร เอกเทศ
๔. ระยะเวลาดำเนินการ ๒๘ ปี
๕. จำนวนสมาชิกห้องสมุด คน
๖. ผู้ใช้บริการเฉลี่ยต่อวัน คน
๗. จำนวนสื่อสิ่งพิมพ์ เล่ม
๘. จำนวนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อ VCD จำนวน แผ่น
๙. จำนวนผู้ปฏิบัติงาน ๒ คน
นางลำดวน มียิ่ง ตำแหน่ง บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ
นางสาวสุปราณี รักถาวร ตำแหน่ง บรรณารักษ์ ( อัตราจ้าง )
๑๐. คณะกรรมการสถานศึกษา
๑๐.๑ นายนายถนอมจิตร อินทร์ทอง
๑๐.๒ นางนิภารัตน์ ดีโนนอด
๑๐.๓ นายทวี รัตนะอุตสาหะ
๑๐.๔ นายศักดิ์ ฝ่ายสัจจา
๑๐.๕ นายชูชัย กล้าแท้
๑๐.๖ นายฐิติพงษ์ คุ้มวงษ์
๑๐.๗ นางอุษา โพธิ์ชัย
๑๐.๘ นางรัตนา กองจันทร์
๑๐.๙ นายเกษม ทาขามป้อม
๑๑. รางวัลหรือการเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับจากหน่วยงาน
๑๑.๑ ได้รับรางวัลชมเชย การจัดแสดงผลงานทางวิชาการ ประเภท ความคิดสร้างสรรค์ เนื่องในวัน กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่เศรษฐกิจพอเพียง วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
๑๑.๒ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นห้องสมุดประชาชน อันดับดี ประจำปี ๒๕๕๒
๑. ระบบการบริหารจัดการ
๑.๑ แผนปฏิบัติการ
การวางแผนการจัดกิจกรรมห้องสมุดเป็นหัวใจสำคัญ ห้องสมุดประชาชน
จังหวัดชัยภูมิ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชัยภูมิ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการตามแนวทางการเปลี่ยนแปลงบทบาทห้องสมุดประชาชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเน้นวิธีการบริการที่จะให้ประชาชนเรียนรู้มากที่สุด 3 ประการคือ เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย เป็นแหล่งเรียนรู้การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบและเป็นศูนย์ข้อมูลชุมชน ใช้แนวคิดและปรับปรุงการจัดการห้องสมุดเพื่อรองรับการพัฒนาโดยจัดทำแผนแบบมุ่งเน้นผลงานเป็นหลัก เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด ตามนโยบายของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการห้องสมุด
๑.๒ ข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด มีดังนี้
๑.๒.๑ สื่อสิ่งพิมพ์
๑.๒.๑.๑ หนังสือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชัยภูมิ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชัยภูมิ สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดชัยภูมิ เป็นสถานที่รวบรวมสรรพวิชา ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และจัดให้บริการหนังสือทุกประเภท คือ หนังสือวิชาการทั่วไป หนังสือนวนิยายและบันเทิง หนังสือแบบเรียนการศึกษาระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและหนังสืออ้างอิง โดยให้บริการการอ่าน บริการยืม แนะแนวการอ่าน บริการหนังสือจอง ตลอดจนบริการค้นคว้าและตอบคำถาม ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชัยภูมิได้จัดระบบหมวดหมู่หนังสือตามแบบทศนิยมดิวอี้ ( ระบบตัวเลข ) เพื่อสะดวกในการค้นหา บริการยืม - คืน ด้วยระบบโปรแกรมห้องสมุด PLS5 ยืมได้ครั้งละไม่เกิน 4 เล่ม มีกำหนด 7 วัน หนังสืออ้างอิงให้บริการอ่านเฉพาะในห้องสมุด สำหรับการจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด ห้องสมุดได้ทำการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการและเสนอคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกประเภทและเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของประชาชน
๑.๒.๑.๒ วารสาร / นิตยสาร
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชัยภูมิ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชัยภูมิ สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดชัยภูมิ ให้บริการวารสาร นิตยสาร จากเงินงบประมาณ ทั้งหมด ๑๒ รายการ คือ
๑. อสท.
๒. ชีวจิต
๓. เทคโนโลยีชาวบ้าน
๔. คู่สร้างคู่สม
๕. งานฝีมือ
๖. แม่บ้าน
๗. ขวัญเรือน
๘. สกุลไทย
๙. สตาร์วอกเกอร์
๑๐. มติชนสุดสัปดาห์
๑๑. วัฏจักรงาน
๑๒. student Weekly
และมีวารสารวิชาการ / นิตยสาร ที่ได้รับบริจาคจากหน่วยงานอื่น ๆ อีกประมาณ ๓๐ รายการ
๑.๒.๑.๓ หนังสือพิมพ์
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชัยภูมิ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชัยภูมิ สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดชัยภูมิ ได้บริการหนังสือพิมพ์ จำนวน ๔ ฉบับ
๑. ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน คม ชัด ลึก
๑.๒.๒ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
๑.๒.๒.๑ VCD และ DVD
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชัยภูมิ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชัยภูมิ สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดชัยภูมิ จัดให้บริการแผ่นซีดีประเภทสารคดี และวิชาการทุกด้านสามารถชมที่ห้องสมุด และยืม ออกนอกห้องสมุดได้ครั้งละ ๒ แผ่น มีกำหนด ๗ วัน
๑.๒.๒.๒ เครื่องรับโทรทัศน์
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชัยภูมิ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชัยภูมิ สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดชัยภูมิ ได้ติดตั้งเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมไทยคม และจะเปิดให้บริการให้สมาชิกรับชมรายการ โทรทัศน์เพื่อการศึกษา ETV และให้บริการครูศูนย์การเรียนชุมชนในการนำนักเรียน นักศึกษามารับชมรายการที่ห้องสมุดตลอดทุกภาคเรียน
๑.๒.๒.๓ คอมพิวเตอร์
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการศึกษาพัฒนาไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการศึกษาจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องปรับระบบการให้บริการของห้องสมุดให้สอดคล้อง
กับความเป็นไปของสังคมเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชนที่ทันสมัย ซึ่งห้องสมุดได้ดำเนินงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการรับบริการยืม - คืน สื่อและงานบริหารของห้องสมุด