|
|
|
ข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษา กศน.ตำบลลาดใหญ่
ชื่อสถานศึกษา
กศน.ตำบลลาดใหญ่ ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ที่ตั้ง
กศน. ตำบลลาดใหญ่ ตำบลลาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลลาดใหญ่ หมู่ ๕ ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ ๓๖๐๐๐
อาคาร
กศน.ตำบลลาดใหญ่ ใช้อาคารที่ได้พื้นที่จัดสรรและงบประมาณ จาก อบต. ตำบลลาดใหญ่ เป็นศูนย์การเรียนชุมชน ให้ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลลาดใหญ่ เป็นสถานที่ในการพบกลุ่มเพื่อทำการเรียนการสอน และใช้ในกิจกรรมทางการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย
บริเวณอาคารมีพื้นที่ลักษณะตัวอาคารเป็นอาคารชั้นเดียว มุงหลังคากระเบื้อง ภายในตัวอาคารจะแยกเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งยกพื้นขึ้นเล็กน้อยทำเป็นห้องเก็บสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ส่วนที่สองเป็นที่โล่งเป็นบริเวณทำกิจกรรม มีบรรยากาศที่เย็น ร่มรื่น สบาย
สังกัด
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมาตำบลลาดใหญ่
ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิชัยภูมิ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2440 เดิมมีชื่อว่า บ้านโนนหินลาด ได้ทำการอพยพมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากบ้านโพนทองบ้านผือ บ้านหนองหญ้ารังกา และ บ้านหนองคอนไทย เริ่มแรกมีเพียง ๘ – ๙ หลังคาเรือน ต่อมาจึงมีการ อพยพเพิ่มเติมจากบ้านเล่าและบ้านหนองคอนไทย โดยส่วนใหญ่จะเป็นการอพยพตามสายญาติ
แรกเริ่มเข้ามาเพื่อทำการล่าสัตว์ เมื่อพบทำเลดีมีลำห้วยหินลาดใหญ่ไหลมาจากด้านบนลงสู่ลำน้ำก่ำ และมีพื้นที่เป็นเนินสูงที่เหมาะจะทำการเกษตร อีกบางส่วนของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มลำน้ำก่ำและน้ำชี มีบึงหนองหลายแห่งจึงชักชวนกันมาเพื่อจับจองที่ดินทำกิน โดยแรกเริ่มทำการปลูกฝ้ายเพื่อทำผ้าห่ม เหตุจากมีพื้นที่เป็นเนินสูงชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า “ บ้านโนนหินลาด ” และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ทางราชการได้กำหนดให้เป็นหมู่บ้านที่ ๗ ตำบลกุดตุ้ม และต่อมาจึงมีคำสั่งให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บ้านลาดใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ เนื่องจากบ้านลาดใหญ่เจริญเติมโตเร็ว มีผู้อพยพเข้ามาอยู่ รวมทั้งแยกครอบครัวออกไปใหม่ จนมีทั้งสิ้นกว่า ๑ หลังคาเรือนและจากการแยกมาในครั้งนั้น ส่งผลให้ต้องทำการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านเป็นครั้งแรกด้วยการยกมือเสนอชื่อ ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ หมื่นไกร ไพรรักษ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ – ๒๔๔๕ ต่อมามีคำสั่งให้แยกหมู่บ้านลาดใหญ่ออกจากตำบลกุดตุ้มมาเป็นตำบลลาดใหญ่ โดยแยกออกเป็น ๑๐ หมู่บ้าน รวมระยะเวลาในการก่อตั้งหมู่บ้านเป็นเวลา ๑๑๔ ปี
สภาพทั่วไปของตำบล
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงคล้ายเนินและที่ราบลุ่มเป็นส่วนน้อย มีพื้นที่ทั้งหมด ๙.๕ ตารางกิโลเมตร มีลำน้ำชีและลำน้ำก่ำเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับตำบลห้วยบง อำเภอเมืองชัยภูมิ และตำบลโนนสะอาด อำเภอคอนสวรรค์
ทิศใต้ ติดกับตำบลกุดตุ้ม อำเภอเมืองชัยภูมิ
ทิศตะวันออก ติดกับตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี แม่น้ำซีเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างจังหวัดชัยภูมิ กับ จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันตก ติดกับตำบลกุดตุ้ม อำเภอเมืองชัยภูมิ
ทำเนียบบุคลากร
ลำดับที่
|
ชื่อ - สกุล
|
ตำแหน่ง
|
๑
|
นายเกษม ทาขามป้อม
|
ผอ.กศน.อำเภอเมืองชัยภูมิ
|
๒
|
นายประสัน จำพันธุ์
|
ครูอาสาสมัครฯ
|
๓
|
นายรัตนพล หงษ์เหลี่ยม
|
หัวหน้า กศน.ตำบลลาดใหญ่
|
๔
|
นายอานนท์ จันทวงศ์
|
ครู กศน.ตำบลลาดใหญ่
|
๕
|
นางจารุวรรณ ชาญนอก
|
ครู ศรช.ตำบลลาดใหญ่
|
๖
|
นางปรนัน ดาวช่วย
|
ครู ศรช.ตำบลลาดให
|
๗
|
นางเตือนใจ พันธุ์โสภณ
|
ครูประจำกลุ่มลาดใหญ่
|
จำนวนประชากรของตำบล
มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,910 คน โดยแยกเป็น ชาย 1,426 คน หญิง 1,484 คน
ตารางแสดงจำนวนประชากรตำบลลาดใหญ่ แต่ละหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวน
ครัวเรือน
ทั้งหมด
|
ประชากร (คน)
|
รวม
ประชากร
ทั้งหมด
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
1
|
บ้านโนนคูณ
|
154
|
276
|
273
|
593
|
|
2
|
บ้านลาดน้อย
|
18
|
15
|
9
|
1,092
|
|
3
|
บ้านลาดใหญ่
|
43
|
8
|
5
|
275
|
|
4
|
บ้านดงบัง
|
143
|
301
|
331
|
980
|
|
5
|
บ้านโนนก้านตง
|
136
|
244
|
238
|
1,120
|
|
6
|
บ้านกุดเวียน
|
106
|
163
|
198
|
546
|
|
7
|
บ้านดงบังน้อย
|
66
|
133
|
162
|
956
|
|
8
|
บ้านลาดใหญ่
|
60
|
14
|
12
|
482
|
|
9
|
บ้านโนนก้านตง
|
58
|
129
|
121
|
449
|
|
10
|
บ้านชัยเจริญ
|
68
|
142
|
135
|
265
|
|
รวม
|
852
|
1,426
|
1,484
|
2,910
|
|
ข้อมูลอาชีพของตำบล
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม , ค้าขาย และรับจ้าง
การสาธารณูปโภค
มีไฟฟ้าใช้ครบครัวเรือน และยังมีการขยายเพิ่มเติมเนื่องจากมีการขยายหมู่บ้านออกไปตามที่ ประกอบการเกษตร การติดต่อสื่อสารประชาชนส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์มือถือ
แหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ
ลำน้ำ 4 สาย , หนองน้ำ 8 สาย , ฝาย 6 แห่ง บ่อน้ำตื้น 30 แห่ง บ่อน้ำโยก 8 แห่ง, อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง , ประปาหมู่บ้าน 4 แห่ง
ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของตำบล
1. หมวกจักสาน 4. สิ่งทอต่าง ๆ
2. เห็ดขอนขาว 5. ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
3. ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ 6. แพทย์แผนไทย ( ยาสมุนไพร , ลูกประคบ , ฯลฯ)
สถานศึกษาและการสาธารณะสุข
มีสถานศึกษาในพื้นที่ 6 แห่ง ประกอบด้วย
1. โรงเรียนบ้านโนนคูณ โรงเรียนระดับประถมศึกษา
2. โรงเรียนดงบังราษฎร์นุเคราะห์ โรงเรียนระดับประถมศึกษา
3. โรงเรียนบ้านโนนหว้านไพล โรงเรียนระดับประถมศึกษา
4. โรงเรียนบ้านกุดเวียน โรงเรียนระดับประถมศึกษา
5. โรงเรียนบ้านลาดน้อย โรงเรียนระดับประถมศึกษา
6. โรงเรียนบ้านลาดใหญ่ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา
สถานีอนามัยลาดใหญ่
มีสถานีวิทยุชุมชน 2 แห่ง
1. สถานีวิทยุชุมชน FM 96.00 ม. 3 ตำบลลาดใหญ่ อ . เมือง จ . ชัยภูมิ
2. สถานีวิทยุชุมชน FM 98.75 ม. 3 ตำบลลาดใหญ่ อ . เมือง จ . ชัยภูมิ
มีโรงงานขนาดกลาง 1 แห่ง
1. โรงงานทอผ้า ม. 3 ตำบลลาดใหญ่ อ . เมือง จ . ชัยภูมิ
ข้อมูลด้านการเมือการปกครอง
นายเอกชัย สีแสง กำนันตำบลลาดใหญ่
หมู่ 1 บ้านโนนคูณ ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายเอกชัย สีแสง โทร. 080-0201231
หมู่ 2 บ้านลาดน้อย ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสุรชา บุญถือ โทร. 083-128326
หมู่ 3 บ้านลาดใหญ่ ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายชูเดช ต่อชาติ โทร. 081-7091138
หมู่ 4 บ้านดงบังใหญ่ ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสามารถ ติละโพธิ์ โทร. 084-8303050
หมู่ 5 บ้านโนนหว้านไพล ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายณรงค์ พันธุ์หินลาด โทร. 089-8467511
หมู่ 6 บ้านกุดเวียน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายวินัย เหมาะจูม โทร. 085-4683088
หมู่ 7 บ้านดงบังน้อย ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายรวมชัย ศิริพรทุม โทร. 082-1439714
หมู่ 8 บ้านลาดใหญ่ ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายบุญเรือง หวะสุวรรณ์ โทร. 080-1619815
หมู่ 9 บ้านโนนก้านตง ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสมบัติ สีสะ โทร. 089-2836649
หมู่ 10 บ้านชัยเจริญ ชื่อผู้ใหญ่บ้าน นายสุรพล นามวงษา โทร. 082-8614088
การคมนาคม
การคมนาคมมีเส้นทางที่ใช้ติดต่อกับอำเภอและจังหวัดได้ 2 เส้นทาง คือ
1. ถนนสายชัยภูมิ - บัวใหญ่
มีหมู่บ้านที่ใช้เส้นทางนี้ จำนวน 7 หมู่บ้าน คือ บ้านลาดใหญ่ ม. 3 บ้านลาดน้อย บ้านกุดเวียน บ้านชัย-เจริญ บ้านโนนก้านตง บ้านโนนหว้านไพล บ้านลาดใหญ่ ม. 8
2. ถนนสายชัยภูมิ - คอนสวรรค์
มีหมู่บ้านที่ใช้เส้นทางนี้ จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านโนนคูณ ม. 1 บ้านดงบัง ม. 4 บ้านดงบังน้อย ม. 7 มีรถโดยสารรับจ้างทั้ง 2 สาย มีความสะดวกในการติดต่อ อีกทั้งมีถนนเชื่อมผ่านระหว่างหมู่บ้าน เพื่อเดินทางติดต่อกันได้สะดวก ประชาชนส่วนใหญ่ใช้บริการรถโดยสารขนาดกลาง , รถจักรยานยนต์ และรถสามล้อรับจ้างส่วนการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร นิยมใช้รถบรรทุกขนาดกลาง หรือรถยนต์กระบะส่วนบุคคล ที่มีอยู่ในหมู่บ้านขนส่งสู่ตลาด หรือแหล่งรับซื้อต่าง ๆ
|
|
เข้าชม : 1130 |
|
|
|
|