[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 


 
 





 

             ประวัติความเป็นมาตำบลบุ่งคล้า
หมู่บ้านของชุมชนแห่งนี้ มีลักษณะเป็นกลุ่มหรือเป็นคุ้มได้แก่ คุ้มบ้านนอก-หนองสามพัน คุ้มบ้านโนนสะแบง คุ้มตะวันออก คุ้มบ้านน้อยหนองไผ่ คุ้มบ้านใต้ คุ้มบ้านโนนฝาย และคุ้มบ้านโนนหัวนา-เกาะแก้ว คุ้มต่างๆ มีครัวเรือนอยู่กันอย่างหนาแน่น ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครือญาติกันที่ชาวบ้านพูดกันว่า “มีผีเชื้อเดียวกัน” ประชากรมีแหล่งน้ำสำหรับใช้ดื่มและใช้สอยต่างๆ โดยอาศัยน้ำในลำห้วยบุ่งคล้า ห้วยเกาะแก้ว หนองสามพัน กุดแหลมและลำชีลอง ลักษณะพื้นที่ทั่วไปเป็นที่สูงเป็นสันโนนน้ำท่วมไม่ถึง ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นที่ปลูกบ้านเรือนห่างออกไปทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้ของหมู่บ้านเป็นที่ราบเหมาะสำหรับทำนา ทำไร่และทำสวน บางแห่งก็เป็นห้วยหนองคลองบึงชาวบ้านได้อาศัยสำหรับทำมาหาเลี้ยงชีพจาก พื้นที่ดินดังกล่าวมาแต่บรรพบุรุษ หนองสามพันลำห้วยบุ่งคล้า ก็มีชาวบ้านมาอาศัยทำสวน ทำไร่ ปลูกพืชล้มลุกบ้าง ปลูกไม้ยืนต้นบ้าง ที่ฝั่งหรือริมหนองและลำห้วยบางแห่งที่สูงๆ ชาวบ้านก็อาศัยปลูกบ้านเรือน เช่น คุ้มบ้านใต้ คุ้มบ้านโนนฝาย เป็นต้น

ตามประวัติคำบอกเล่า เดิมแรกนั้นที่ดินแห่งนี้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชนชาติลาวโบราณมาก่อน เข้าใจว่าคงจะมีกลุ่มชนมาตั้งบ้านเรือนพร้อมกับกลุ่มชนที่ตั้งบ้าน “กุดโง้ง” หรือพร้อมกับตั้งเมืองหามหอก เพราะมีหลักฐานหลายอย่างให้เห็น เช่น บ้านกุดโง้งก็มีใบเสมาหินขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ส่วนเมืองหามหอก ที่บ้านไร่ อำเภอบ้านเขว้า ก็มีหลักฐานปรากฏอยู่ให้เห็น เช่น คูเมืองเป็นแนวดินสูงยาวหลายสิบเส้น และ มีคลองล้อมรอบอีกด้วย ส่วนที่เป็นบุ่งคล้าก็มีหลักฐานว่า น่าจะเคยเป็นบ้านเมืองคนโบราณมาก่อน แต่กลุ่มชนเหล่านั้นได้อพยพย้ายบ้านย้ายเมืองไปอยู่ที่อื่นเพราะภัยสงคราม หลักฐานต่างๆ ที่ว่า คือ เศษอิฐ เศษกระเบื้อง และเศษโลหะเป็นจำนวนมากที่พบเห็นอยู่ คือ ที่บริเวณบ้านพ่อทายกอ่วงและแถวบริเวณที่สร้างเมรุ กับที่พบเห็นที่บริเวณสวนเอกชนคุ้มบ้านโนนฝาย จึงทำให้เข้าใจว่าที่ที่ตั้งบ้านบุ่งคล้าปัจจุบันนี้เคยเป็นที่สร้างบ้าน สร้างเมืองของคนโบราณมาก่อนแล้ว

ต่อมาในสมัยกรุงรัตน โกสินทร์เป็นราชธานีการสงครามใหญ่และสงครามย่อมก็มีอยู่เสมอเพราะชาติไทย กำลังรวบรวมกำลังคนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญหลักในการสร้างบ้าน สร้างเมือง การกวาดต้อนผู้คนที่เป็นเชลยไปเป็นของตนก็เป็นธรรมดาของผู้ชนะสงคราม โดยเฉพาะผู้คนในภาคอีสานที่เป็นคนพูดลาว ที่ได้ตั้งเมืองอยู่ทางทิศตะวันตกของภาคอีสาน เช่น เมืองหนองบัวลำภู เมืองภูเวียง เมืองพระไกรสีหนาท (เมืองภูเขียว) เมืองชนบท เมืองชัยภูมิ ลงไปถึงเมืองนครราชสีมาบางส่วน เช่น อำเภอโนนลาว อำเภอสีคิ้ว ไปถึงเมืองสระบุรีบางส่วน บรรพบุรุษของคนในอำเภอและจังหวัดดังกล่าวล้วนแต่เป็นคนลาวอพยพหรือถูกกวาด ต้อนมาจากเวียงจันทร์ทั้งนั้น
กลุ่มชนผู้เป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านบุ่ง คล้าที่ได้อพยพย้ายบ้านย้ายเมืองมาตั้งบ้านบุ่งคล้าแห่งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มาตั้งบ้านบุ่งคล้าก่อน ส่วนกลุ่มชนที่ 2 มาเข้าร่วมทีหลัง กลุ่มชนทั้ง 2 กลุ่มได้อพยพมาพร้อมกับนายแล

เมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ประเทศลาวมีเมืองเวียงจันทน์ คือ กรุงศรีสัตนาคนหุตเป็นเมืองหลวงประมาณ พ.ศ. 2535 มีคนลาวคนหนึ่งชื่อว่านายแลเป็นเชื้อพระวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทน์ เป็นคนเฉลียวฉลาดมีความรู้ดีและมีความสามารถสูง ได้พิจารณาเห็นว่าภูมิประเทศภาคอีสานแห่งกรุงสยามในสมัยนั้นเป็นที่อุดม สมบูรณ์ เหมาะที่จะสร้างบ้านสร้างเมืองและอยู่ในขอบเขตขันธสีมาของพระเจ้ากรุงสยาม จึงกราบลาพระเจ้าอนุวงศ์ซึ่งเป็นเจ้าครองประเทศลาว พร้อมด้วยครอบครัวคนลาวที่สมัครใจที่จะไปอยู่ที่อื่นด้วย ได้อพยพครอบครัวข้ามแม่น้ำโขงผ่านมาทางเมืองหนองบัวลำภู มีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองกาบแก้วบัวบาน และได้ชักชวนครอบครัวคนลาวที่ได้อพยพเข้ามาอยู่ก่อนแล้ว พาอพยพมาเป็นแรมเดือนแรมปี ผ่านเมืองภูเวียง เมืองพระไกรสีหนาท (ภูเขียว) เดินทางผ่านลงไปทางทิศใต้ขึ้นเขาลงเหว โดยยกเป็นขบวนคาราวานเป็นจำนวนไม่น้อยครอบครัว ในระหว่างที่เดินมาถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำชี ครอบครัวลาวบางส่วนก็ได้แยกไปตั้งบ้านเรือนเป็นหมู่บ้านหลายหมู่บ้านขึ้น เมื่อประมาณปี 2535 ส่วนนายแลพร้อมครอบครัวคนลาวอีกส่วนหนึ่งได้อพยพเดินทางไปทางทิศใต้จนถึง เมืองนครราชสีมา ได้ตั้งบ้านเมืองขึ้นเป็นหมู่บ้านหลายแห่งในหลายอำเภอของเมืองนครราชสีมา เช่น บ้านนารายณ์ บ้านชิน ในเขตอำเภอโนนลาว (ปัจจุบันคืออำเภอโนนไทย)

ชุมชนที่ 1 ที่อพยพย้ายครอบครัวมาพร้อมกับนายแล เมื่อปี พ.ศ. 2535 ครั้งนั้น กลุ่มชนกลุ่มนี้ได้ย้ายครอบครัวมาจากบ้านเดิมชื่อว่า “บ้านบุ่งคล้า – นาโพธิ์” ซึ่งอยู่ในเขตเมืองหนองบัวลุ่มภูหรือเมืองกาบบัวบาน (อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี) ในปัจจุบันนี้ ชนกลุ่มนี้ได้พบเห็นชัยภูมิอันอุดมสมบูรณ์ดีซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านบุ่งคล้า เดี๋ยวนี้ มีลำห้วยไหลผ่าน มีหนองสามพันอยู่ใกล้ๆ เหมาะสมที่จะตั้งบ้านอยู่จะได้ประกอบการทำมาหากินเป็นหลักเป็นฐานได้เป็น อย่างดี จึงได้พร้อมกันทุกครอบครัวที่อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มลาวกลุ่มนี้ ได้พร้อมกับลูกบ้านได้ตั้งชื่อหมู่บ้านของตนว่า “บ้านบุ่งคล้า” โดยได้เอานามบ้านเก่าบ้านหลังของพวกตน คือ บ้านบุ่งคล้า – นาโพธิ์ เมืองหนองบัวลำภู มาตั้งชื่อบ้านใหม่เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจไว้ว่า พวกตนนั้นได้ย้ายบ้านมาจากบ้านบุ่งคล้า – นาโพธิ์ และได้เรียกชื่อห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้านนั้นว่า “ห้วยบุ่งคล้า”


           ที่ตั้ง
ตำบลบุ่งคล้าตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองชัยภูมิไปทางทิศตะวันออก เฉียงใต้เป็นระยะทาง 13 กิโลเมตร เดิมขึ้นอยู่กับตำบลหนองนาแซง ได้แยกเขตตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2536 ได้ยกฐานะเป็นสภาตำบลเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2538 และยกฐานะเป็นองค์การบริหาร ส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540


           อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหนองไผ่ และตำบลหนองนาแซง จังหวัดชัยภูมิ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลกุดตุ้ม และตำบลโพนทอง จังหวัดชัยภูมิ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหนองนาแซง จังหวัดชัยภูมิ

           เนื้อที่
ตำบลบุ่งคล้า มีเนื้อที่ประมาณ 49.5663 ตารางกิโลเมตรหรือ 30,979.40 ไร่

           ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับ การเกษตรแหล่งน้ำที่สำคัญไหลผ่านตำบล ได้แก่ ลำห้วยหลัวและลำห้วยชีลอง มี ๑๒ หมู่บ้าน
หมู่ที่ ๑ บ้านขวาน้อย               หมู่ที่ ๗ บ้านโนนแดง
หมู่ที่ ๒ บ้านหนองฉิม              หมู่ที่ ๘ บ้านโนนหัวนา
หมู่ที่ ๓ บ้านบุ่งคล้า                 หมู่ที่ ๙ บ้านสัมพันธ์
หมู่ที่ ๔ บ้านกุดโง้ง                  หมู่ที่ ๑๐ บ้านขวาน้อย
หมู่ที่ ๕ บ้านสัมพันธ์                หมู่ที่ ๑๑ บ้านบุ่งคล้า
หมู่ที่ ๖ บ้านหัวนา                    หมู่ที่ ๑๒ บ้านบุ่งคล้า

          ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 7,685 คน
• ชาย 3,650 คน
• หญิง 4,035 คน
มีความหนาแน่นเฉลี่ย 155 คน/ ตารางกิโลเมตร

           การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 6 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 12 แห่ง
หอกระจายข่าว จำนวน 12 แห่ง

           สถาบันและองค์กรศาสนา
วัด จำนวน7 แห่ง

           การสาธารณสุข
สถานีอนามัยประจำหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง

          
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ป้อมตำรวจ จำนวน 1 แห่ง

            การคมนาคม
ตำบลบุ่งคล้ามีเส้นทางหลักเป็นถนนลาดยางตลอดสาย สามารถติดต่อกันตั้งแต่ หมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 12 จำนวน 2 สาย
- ถนน คสล. ภายในหมู่บ้าน 75 สาย
- ถนนดิน 224 สาย
- ถนนลูกรัง 66 สาย
- สะพาน คสล. 3 แห่ง
- รางระบายน้ำ 2 แห่ง

          
การโทรคมนาคม
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 12 แห่ง

           การไฟฟ้า
ตำบลบุ่งคล้ามีไฟฟ้าเข้าถึง หมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 12 แต่ไม่ครบทุกครัวเรือน

            แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
- ลำน้ำ, ลำห้วย 15 สาย
- บึง, หนอง 1 แห่ง

            แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

- ฝาย , ทำนบ 23 แห่ง
- สระน้ำ 14 แห่ง
- ประปาส่วนภูมิภาค 1 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน - แห่ง
          
            ข้อมูลด้านการเมืองการปกครอง


 








































 



เข้าชม : 789
 
 
ที่ตั้ง  ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองชัยภูมิ
ถนนบรรณาการ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ๓๖๐๐๐
 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05