[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 


 
 






กศน.ตำบลโคกสูง

กศน.ตำบลโคกสูงมีพื้นที่รับผิดชอบ  จำนวนหมู่บ้าน    หมู่บ้าน ประกอบด้วย

          ๑.บ้านโคกสูง             หมู่ที่ 

          ๒.บ้านโสกตลับ          หมู่ที่ 

          ๓.บ้านย่างบ่า            หมู่ที่ 

          ๔.บ้านห้วยยาง           หมู่ที่ 

          ๕.บ้านหนองโสมง       หมู่ที่ 

          ๖.บ้านห้วยตะแคง       หมู่ที่ 

 

นักศึกษา  กศน.ตำบลโคกสูง

                   หลักสูตร   ๕๑  จำนวน  ๓๕๑  คน

                   -  ประถมศึกษา  ๑๐  คน

                   -  ม.ต้น     ๑๐๒  คน

                   -  ม.ปลาย    ๒๔๒  คน

                   หลักสูตร ม.๖  แปดเดือน  จำนวน  ๒๐  คน

 

มีการจัดพบกลุ่มทุกวันพฤหัสบดี  และวันศุกร์  ของทุกสัปดาห์

โดยมี  ครูที่รับผิดชอบการพบกลุ่ม    คน

                   ๑.๑ นายสมัคร  ชาวประทุม             หัวหน้า  กศน.ตำบลโคกสูง

                   ๑.๒ นายวุฒิพงษ์  ตั้งใจ                 ครู  กศน.ตำบลโคกสูง

                   ๑.๓ นางสาววนิดา  ด้วงปัญญา         ครู  ศรช.ตำบลโคกสูง

 

 

วิเคราะห์  SWOT  ของ กศน.ตำบลโคกสูง

          SWOT Analysis  คือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กรเป็นขั้นตอนแรกๆในการทำแผนประเภทต่างๆ  เช่น  แผนกลยุทธ์ ซึ่งกำลังเป็นแผนที่วงการต่างรวมทั้งวงการ กศน.สนใจ

          ๑.สภาพแวดล้อมภายในองค์กร  (งบประมาณ เครื่องมือ  เทคโนโลยี  บุคลากร  ภารกิจของหน่วยงาน  โครงสร้างการบริหาร)

                  ๑) Strength (จุดแข็ง)  คือ สภาพที่ทำให้หน่วยงาน  (กศน.ตำบลโคกสูง)  เข็มแข็งพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าได้  จุดแข็งของ กศน.ตำบลโคกสูง  มีจุดแข็งดังต่อไปนี้

                        .๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ให้การสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา  กศน.ตำบลโคกสูง เป็นอย่างดี

                        .๒) ผู้นำชุมชน  /ประชาชนในชุมชน  /องค์กรนักศึกษา  /คณะกรรมการ กศน.ตำบลโคกสูง เห็นความสำคัญ  ของการศึกษาในชุมชนเป็นอย่างมาก  มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  กำกับติดตามและแก้ไขปัญหารวมกับครู  กศน.ตำบลโคกสูงสม่ำเสมอ  ร่วมวางแผนการพัฒนา  กศน.ตำบลอย่างเป็นระบบ

                        .๓) นักศึกษาส่วนใหญ่  เป็นกลุ่มผู้นำชุมชน  และกลุ่มเยาวชนที่มีความรับผิดชอบสูง  และองค์กรนักศึกษา มีความรู้ ความสามารถ  ทักษะในการทำงานสูง  เช่น  ด้านคอมพิวเตอร์  ด้านการประชาสัมพันธ์  สามารถทำงานทดแทนกับได้  มีความพร้อม  มีความสามัคคี  ช่วยเหลือกันสร้างกระบวนการการทำงานเป็นทีม

                        .๔) ภารกิจหรืองานในหน้าที่ของ กศน.ตำบลโคกสูง  มีลักษณะงานที่หลากหลาย  หน้าสนใจ  มีหลายหลักสูตรหลายวิธี  ช่วยพัฒนาสังคมได้ 

                        .๕) มีการจัดเวทีชาวบ้าน

                        .๖) มีความพร้อมทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสื่อเทคโนโลยี ที่หลากหลาย ง่ายต่อการเรียนรู้                
                        ๑
.๗) ด้านนโยบายและแผน  มีการจัดวางแผนอย่างเป็นระบบและเป้าหมายการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน  สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย  แผนระดับสูงได้

                  ๒) Weakness  (จุดอ่อน)  คือ สภาพที่ทำให้การดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายไม่ได้

                        .๑) ด้านกลุ่มเป้าหมาย  (นักศึกษา) บางรายขาดความรับผิดชอบ  ไม่มีวินัยในตนเอง  ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน  และไม่มีการทำงานเป็นกลุ่ม

                        .๒) กิจกรรมที่เด่นในชุมชนยังไม่ปรากฏยั่งยืน

                        .๓) พื้นฐานด้านความรู้ที่แตกต่างกัน

                        .๔) สื่อทางด้านเทคโนโลยีที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

                        .๕) ขาดงบประมาณในการปรับปรุงพัฒนา กศน.ตำบลให้คงทนถาวรและทันสมัย

          ๒. สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร  เช่น  ภาวะทางเศรษฐกิจ  วัฒนธรรมท้องถิ่น  ผู้นำชุมชน  ปัญหายาเสพติด  นโยบายของรัฐบาล)

                    ๑) Opportunities  (โอกาส)  คือสภาพที่ทำให้องค์กรพัฒนาก้าวหน้าแข่งกับองค์กรอื่นได้

                        .๑) ด้านกลุ่มเป้าหมาย  กศน.ตำบลโคกสูง  ยังมีกลุ่มเป้าหมายที่ให้ความสนใจ และความสำคัญต่อการศึกษาอีเป็นจำนวนมาก  จึงสามารถสร้างผลงานในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทั้งกลุ่มเป้าหมายที่ขาดโอกาสทางการศึกษา

                        .๒) ด้านเครือข่ายทางการศึกษา  ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถานศึกษาในระบบในการช่วยจัดการศึกษา  และยังมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คอยให้การสนับสนุนในการจัดการศึกษา ร่วมเป็นคณะกรรมการต่างๆมากมาย

 

                  ๒) Threats  (อุปสรรค)  คือสภาพที่กีดขวางเหนี่ยวรั้งการพัฒนา

                        .๑) ด้านงบประมาณ  ขาดงบประมาณจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงที่จะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่สมบูรณ์  หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของครู กศน.ในพื้นที่ที่ห่างไกล  และค่าตอบแทนที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานที่สามารถเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานได้

                        .๒) การร่วมกลุ่มต่างๆในชุมชนยังทำได้ยากในบางพื้นที่

                        .๓) การส่งเสริมทางด้านงบประมาณที่ส่งลงในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายไม่ต่อเนื่อง

๓. แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนา

              .๑) การจัดการอบรมพัฒนาให้ครู กศน.ได้มีความรู้ความสามรถเพิ่มมากขึ้น อยู่เสมอ 

    .๒) มีงบประมาณสำรองต่อการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่เพียงพอ

              .๓) งบประมาณที่จัดให้กับ กศน.ตำบลยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่นที่จับงานเพียงอย่างเดียวแต่มีประสิทธิภาพสูง

              .๔) หน่วยงานต้นสังกัดที่รับผิดชอบ  ควรให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา ปรับปรุง  กศน.ตำบลเป็นประจำทุกๆภาคเรียน และครู กศน.ตำบลควรของบประมาณสนับสนุนจากเครือข่ายด้วย

              .๕) ครูควรหาวิธีในการติดต่อกับนักศึกษาให้หลากหลายวิธีมากกว่านี้ และควรมีมาตรการในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนขององค์กร  ไม่ควรเป็นระบบที่ต้องการแต่ปริมาณแต่ขาดคุณภาพ

           

กลยุทธ์/แนวทางการดำเนินงาน

กลยุทธ์ที่ ๑  การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง

แนวทางการดำเนินงาน 

          -  เร่งสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจัดกิจกรรมสร้างกระแสความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต

๑.        คัดเลือกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเพื่อเจาะลึกจัดกิจกรรมนำร่องตาม  Roadmap กศน.รายตำบล/รายกลุ่มเป้าหมาย โดยดำเนินการ    ตำบล  พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงกับภาคีเครือข่าย  จัดทำข้อมูลรายบุคคลรายกลุ่ม  ตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่

๒.        พัฒนาและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนและผู้จัดการเรียนรู้

๓.        พัฒนาระบบ Call Center เพื่อให้บริการข่าวสารข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึงและสะดวกรวดเร็ว

๔.        จัดให้มีกระบวนการค้นหาความต้องการในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย

๕.        จัดให้มีการทำแผนการเรียนรู้รายบุคคล รายครอบครัว และรายกลุ่ม ในแต่ละชุมชน

 

กลยุทธ์ที่ ๒  ตอบโจทย์ในใจผู้เรียน (ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน)

แนวทางการดำเนินงาน 

๑.        แสวงหาและจัดทำฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน

๒.        สร้างความตระหนักและความเข้าใจกับภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบต่างๆ

๓.       สร้างแรงจูงใจให้เกิดความร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนกับภาคีเครือข่าย

๔.        จัดให้การระดมการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับภาคีเครือข่าย

๕.        จัดและพัฒนากิจกรรมเครือข่ายสัมพันธ์

๖.        ถอดบทเรียนการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อการปรับปรุง พัฒนา และขยายผลการทำงาน

๗.       จัดให้มีการทำวิจัยและพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา

กลยุทธ์ที่ ๓  พัฒนาแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาให้เป็นฐานความรู้ของชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน  กลยุทธ์ที่ ๓

          .  พัฒนาแหล่งการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้ของประชาชน

          .  เพิ่มช่องทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

          .  ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ในการดำเนินชีวิตให้กับประชาชนและกลุ่มเป้าหมาย

          ๓.๔  ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้มีชีวิต ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน และศูนย์การเรียนชุมชน

          ๓.๕  ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และสื่อในชุมชนให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของบุคคล และชุมชน

          ๓.๖  ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดกระบวนการการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต    

          ๓.๗  พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ระหว่างแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และองค์ความรู้จากภายนอก

 

กลยุทธ์ที่ ๔   ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

แนวทางการดำเนินงาน  กลยุทธ์ที่ ๔

๑.        จัดให้มีการพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีชีวิตประชาธิปไตย

๒.        จัดทำคลังหลักสูตร คลังสื่อ คลังเครื่องมือวัดผลประเมินผล คลังเทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ จากหลักสูตรและกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นเองและขององค์กร หน่วยงาน  ชุมชน ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๓.        จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การพบกลุ่ม การศึกษาดูงานเวทีประชาคมการเรียน

๔.        จากแหล่งเรียนรู้ การเรียนจากการฝึกปฏิบัติจริง  จัดทำข้อมูลการเรียนรู้  รายบุคคล   รายกลุ่ม และรายชุมชน เพื่อสะสมผลการเรียนรู้และประสบการณ์

๕.        พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้และให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ

๖.        จัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นการประเมินความรู้ ทักษะเจตคติและคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน

๗.       นำการจัดการความรู้มาใช้เพื่อปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

๘.        จัดบริการแนะแนวการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง

๙.        จัดและส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

กลยุทธ์ที่ ๕   จัดระบบบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ

แนวทางการดำเนินงาน  กลยุทธ์ที่ ๕

๑.        จัดให้มีการประกันคุณภาพการจัดการศึกษานอกโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียน

๒.        พัฒนาระบบการทำงานในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างต่อเนื่อง

๓.        พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการบริหาร และการจัดการความรู้เพื่อเป็นบุคลากรแกนนำในการปฏิรูปการศึกษานอกโรงเรียน

๔.        เสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานโดยใช้หลักธรรมมาภิบาล

๕.        ปรับวิธีการบริหารจัดการทรัพยากร ระหว่างภายในหน่วยงานและต่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากร

๖.        ระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เอื้ออำนวยต่อการบริการประชาชน

๗.       ปรับและพัฒนาระบบการบริหารการจัดการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำไปสู่การบริการ ณ จุดเดียว (One-Stop Service)

                    ๘.   พัฒนาระบบการประสานงานให้มีประสิทธิภาพ


 








































 



เข้าชม : 9206
 
 
ที่ตั้ง  ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองชัยภูมิ
ถนนบรรณาการ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ๓๖๐๐๐
 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05