แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษาตลอดชีวิตเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวง การศึกษาในปัจจุบัน แนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตมีมานานแล้วในคัมภีร์กุรอานมีคำสอน ว่าบุคคลพึงเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพหรือจากครรภ์มารดาถึงสุสาน คอมินิ อุสนักการศึกษาในสมัยนั้นได้กล่าวถึงกระบวนการศึกษาตลอดชีวิตว่าควรจัดให้มี โรงเรียนสำหรับทุกคน คือ โรงเรียนสำหรับทารกแรกเกิด เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน คนหนุ่มสาว และคนชรา ในเรื่องการศึกษาตลอดชีวิตได้มีการเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อ 60 กว่าปีที่ผ่านมา และเพิ่มความสนใจไปทั่วโลก ในการประชุมระหว่างชาติว่าด้วย การศึกษาผู้ใหญ่จัดโดยองค์การ Unesco ที่กรุงมอนตรีอัล ประเทศแคนาดา ค.ศ. 1960 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 1972 และที่กรุงไนโรบี ค.ศ. 1986 จากการประชุม ดังกล่าวได้มีการได้แนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งมีสาระสำคัญคือ
1.)
การศึกษาตลอดชีวิต เป็นการจัดการศึกษาให้กับทุกคน ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จาก เด็กถึง วัยชรา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงต่าง ๆ ของชีวิตทั้งนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง การปกครอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์ทุกคนต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อปรับตนเองให้ก้าวทันยุคกับกระแส โลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นแนวโน้มการพัฒนาในโลกปัจจุบัน
2.)
สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์ด้านล่างนี้ นะครับ
กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการผสมผสานและเชื่อมโยงการเรียนรู้ ที่เกิดจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อนำผล ทางการเรียนรู้นั้น ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม การจัดการเพื่อให้บุคคลเกิดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต จึงต้องจัด หลักสูตร สื่อ วิธีการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม และ ปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเข้าถึงการเรียนรู้ ได้สะดวก และนำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง 3.) การศึกษาตลอดชีวิต ให้ความสำคัญกับผู้เรียนในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของ การเรียนรู้ โดยเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพ มีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ มีอิสรภาพที่จะเลือก เนื้อหา รูปแบบ วิธีการในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง 4.) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการสื่อสารและคนนา คม ทำให้ การติดต่อสื่อสารตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ในสังคมมนุษย์เป็นไปอย่าง รวดเร็วกว้างขวาง ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เข้าถึง ความรู้อันมหาศาลได้โดยไม่มีขีด คั่นพรมแดนแห่งความรู้ ทำให้การศึกษาตลอดชีวิต เป็นวงจรที่ไม่หยุดนิ่ง และมีพลังต่อการเปลี่ยนแปลง 5.) สังคมปัจจุบันและอนาคตใช้ความรู้เป็นพลังในการกระทำทางสังคม ระบบทุก ระบบในสังคมย่อมใช้ความรู้เป็นพลังในการขับเคลื่อนระบบ ดังนั้น การศึกษาและการ เรียนรู้จึงเป็นกลไก ที่ระบบต่าง ๆ ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ดังนั้น ทุก ๆ ระบบทุก หน่วยงานจึงมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการศึกษาตลอดชีวิตของทุกคนในสังคม ตั้งแต่ ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ในสังคม
-ความมุ่งหมายและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต/ 1.) มุ่งให้ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ทุกฐานะทางเศรษฐกิจและ สังคม ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยมีสิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมกัน 2.) เพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความ ต้องการโดยศึกษาได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ 3.) เพื่อให้หน่วยของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต 4.) เพื่อให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เหมาะสมกับสภาวการณ์ และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการ พัฒนาสังคม และประเทศชาติได้อย่างมีคุณค่า
-กศน.อำเภอหนองบัวแดง กับ การบูรณาการการศึกษาตลอดชีวิตสู่กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ
1.) กิจกรรมการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.) กิจกรรมการส่งเสริมการรู้หนังสือ
3.) กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
4.) กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง
5.) กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน
6.) กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัด
7.) กิจกรรมการนิเทศกำกับติดตามและประประเมินผล
********โชติรักข์ นาจะหมื่น/ครูอาสาฯ***
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิค. http://www.nfe.go.th/13/banprak/article/article 05.html http://dnfe5.nfe.go.th.th/ilp/liciti/longlife.html
1. มนุษย์แสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะมนุษย์เรียนรู้จาก ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสังคมทุกขณะ 2. การศึกษาที่แท้จริงไม่ได้จำกัดเพียงในโรงเรียนแต่ครอบคลุมถึงการศึกษา นอกโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย 3. การศึกษาตลอดชีวิตเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้รับการศึกษา เพราะสามารถ เลือกเรียนตามรูปแบบที่ตนต้องการ ยืดหยุ่นได้ตามโอกาส ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้จาก ทุกแห่งตามโอกาสจะอำนวย
การเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) หมายถึง การรับรู้ ความรู้ ทักษะ และ เจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใด ๆ โดยสามารถจะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียน ต่าง ๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้ บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเอง แนวความคิดหลักของการศึกษาตลอดชีวิต ดังนี้