[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

                                                                                               

ประวัติกศน.ตำบลคูเมือง

                                                                                     

            ประวัติคูเมืองหนองบัวแดงนี้ ผู้เขียนรวบรวมไว้ตรงตามคำที่บรรพบุรุษเล่าสู่ฟัง (นายสาร  แก้วเมืองกลาง) อดีตผู้ใหญ่บ้านโนนงิ้ว ตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ท่านเล่าให้ฟังเมื่อธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ 
ขณะนั้นผู้ใหญ่สารอายุ ๘๒ ปี เป็นที่คาดหวังว่าประวัติคูเมืองโดยสังเขปนี้จะเป็นหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สามารถนำไปประกอบทางโบราณคดีได้ตามสมควร

            คูเมืองเป็นโบราณสถานอยู่ในพื้นที่บ้านโนนงิ้ว หมู่ที่ ๓ ตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง  ห่างจากโนนงิ้วประมาณระยะทาง ๓ เส้น อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน ถ้าผู้มีความประสงค์จะไปเที่ยวชมโบราณสถานแห่งนี้มีถนนจากหมู่บ้าน  มีสัญลักษณ์ให้เห็นเด่นชัดอยู่คือ ต้นไม้นานาชนิดจะเกิดขึ้นตามคูเมืองเป็นแนวยาวตามลักษณะของคูเมือง

             คูเมืองเป็นคูดินที่สร้างขึ้นด้วยดิน บรรพบุรุษเล่าสู่กันฟังว่า แต่ก่อนคูเมืองสูง  ๓ เมตร (๖ ศอก) หลังคูเมืองหรือสันคูเมืองความกว้าง ๓ เมตร (๖ ศอก) เช่นเดียวกัน มีประตูเข้าเมืองประตูเดียวอยู่ทางทิศใต้  จุดประสงค์ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันศัตรู  คูเมืองสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ใดไม่มีหลักฐานชัดเจน เพราะเพียงแต่บรรพบุรุษเล่าสืบต่อกันมาปากต่อปากเท่านั้น แต่ก็น่าเชื่อถือได้เพราะหลักฐานทุกอย่างมีปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้อย่างชัดเจน

             ภายในบริเวณคูเมืองมีเนื้อที่ประมาณ  ๒๕๐ ไร่เศษ มีลักษณะเป็นรูปไข่ มีสระน้ำอยู่ภายใน ๒ สระ สระหนึ่งอยู่ทางทิศเหนือขุดไว้ใช้เป็นน้ำดื่มโดยเฉพาะ  ปัจจุบันเรียกว่าหนองสระ  อยู่ในที่นาของนายวิชัย  เกียรติศักดิ์ ส่วนอีกแห่งหนึ่งขุดไว้เพื่อบริโภคใช้สอยอยู่ทางทิศตะวันตกปัจจุบันเรียกหนองนาใหญ่ อยู่ในที่นาของนายโอ้ม  เผิญชัยภูมิ ตรงกลางจะเป็นบ้านของ      เจ้าเมือง ผู้ปกครองหรือเจ้าเมือง ชื่อว่า เจ้าหมื่นก้วน แต่ในเวลาต่อมา ชาวบ้านทั่วๆ ไป จะเรียกท่านว่าเจ้าหมื่นกว้าน

             ผู้สูงอายุท่านเล่าต่อไปว่า พ่อของท่านเล่าให้ฟังอีกต่อหนึ่ง คูเมืองนั้นสร้างพร้อมๆ   กับพระธาตุเก่าน้อย อำเภอเกษตรสมบูรณ์ พระธาตุสิลาสามหมื่น บ้านแจ้ง อำเภอภูเขียว   สามคนเป็นเพื่อนกัน จะเดินมาจากประเทศลาว คนหนึ่งอยู่ที่เมืองภูเขียว คนที่สองอยู่ที่เมืองเกษตรสมบูรณ์ คนสุดท้ายคือ หมื่นก้วน ได้มาสร้างบ้านเมืองอยู่ตรงที่คูเมือง

              การสร้างคูเมืองขุดดินขึ้นถมเป็นคูสูง จากทิศเหนือเป็นแนวยาวไปทางทิศตะวันตก ปัจจุบันได้กลายเป็นลำห้วยน้ำที่สำคัญที่ราษฏรได้อาศัยทำการเกษตรมีชื่อว่า  ห้วยเมือง  ลำห้วยเมืองจะไหลลงสู่ลำห้วยเรื่อยๆ น้ำจะลงสู่แม่น้ำชี  ส่วนทางทิศตะวันออกราษฎรในยุคนั้นจะอาศัยน้ำเพื่อ  ใช้ในการอุปโภคและบริโภค อาศัยน้ำในกุดเรียกว่า กุดแข้ (กุดจระเข้) ท่านเล่าว่ามีความลึกมากจนจระเข้อาศัยอยู่ได้ จึงเรียกกุดนี้ว่ากุดแข้ ตามสำเนียงภาษาอีสาน เดี๋ยวนี้ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่ แต่ราษฎรได้บุกรุกเกลี่ยดินถมพื้นที่ทำเกษตร

               สำหรับหลักฐานอีกอย่างหนึ่งของเมืองเจ้าหมื่นก้วนก็คือ วัดคู่บ้าน อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคูเมืองชื่อว่า วัดป่าดอนเสมา ที่เห็นได้เด่นชัด คือ   มีใบเสมานั้นปรากฏมากมายทำด้วยศิลาทั้งนั้น แต่เสียดายผู้สร้างวัดในสมัยนั้นไม่ได้จารึกหลักฐานอะไรไว้เลย พระพุทธรูปปางต่างๆ ถูกพวกมิจฉาชีพลักขโมยไปจนหมดสิ้น เพราะขาดคนดูแลรักษา ขอเชิญท่านผู้สนใจไปเที่ยวแวะชมได้ ปัจจุบันนี้ได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ มีหลวงปู่บุญมา เป็นเจ้าอาวาส (ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๕ ท่านอายุ ๙๑ ปี)

               ส่วนป่าช้าสำหรับฝังศพในสมัยนั้น ปัจจุบันเป็นสถานที่ราชการ คือ โรงเรียนคุรุประชานุกุล อยู่ทางทิศใต้ของคูเมือง   ตรงประตูเข้าออกเมือง พ.ศ. ๒๕๐๒ ชาวบ้านได้ก่อสร้างอาคารเรียนและขุดพบกระดูกคนสมัยโบราณแต่ผุกร่อนเป็นเศษเล็กๆ น้อยๆ พอให้ทราบได้เท่านั้นซึ่งมีกระดูกขา แขน มีขนาดใหญ่มาก ผิดจากลักษณะของมนุษย์ทั่วไปผู้สูงอายุเล่าตอนอวสานว่า สาเหตุที่เมืองหมื่นก้วนต้องกลายเป็นเมืองร้างเพราะโรคไข้จับสั่นระบาดผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ผู้ปกครองเมืองก็เสียชีวิต ราษฎรจึงได้สร้างศาลหมื่นก้วนไว้ตรงกลางคูเมืองแล้วผู้คนอพยพหนีไป       คนละทาง จึงกลายเป็นบ้านเมืองร้างมาจนทุกวันนี้

               ปัจจุบันราษฏรได้ย้ายศาลเจ้าหมื่นก้วนไปตั้งอยู่บนคูเมืองทางทิศเหนือ เมื่อถึงเทศกาลวันสงกรานต์ ชาวบานหนองแพง โนนงิ้วจะบวงสรวงวิญญาณเจ้าหมื่นก้วน พร้อมกับนำดนตรีพื้นบ้านไปบรรเลงและฟ้อนรำถวายอย่างสนุกสนาน พร้อมกับขอพรให้คุ้มครองรักษาลูกหลานชาวบ้านทุกคนให้มีความสุขสวัสดีทั่วกัน

                                              ที่ตั้ง

        ตำบลคูเมือง เป็นตำบลที่แยกออกมาจากตำบลกุดชุมแสง ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด ๑๗ หมู่บ้าน โดยตั้งชื่อ ตำบลคูเมือง เพราะ มีสถานที่สำคัญคือคูเมือง ซึ่งมีลักษณะเป็นกำแพงดินซึ่งมีมาแต่โบราณ เพื่อให้เป็นกำแพงรอบเมือง เพื่อป้องกันภัยจากศัตรูรุกราน ปัจจุบันคูเมืองตั้งอยู่ที่บ้านคูเมือง

กศน.ตำบลคูเมือง  ตั้งอยู่  ณ  องค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง ถนนสายหนองบัวแดง-วังใหญ่   บ้านโนนดู่ หมู่ที่ ๔ ตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดชัยภูมิ  อยู่ห่างจากจังหวัดชัยภูมิประมาณ ๗๒ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอำเภอหนองบัวแดง ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร   มีพื้นที่ ๘๕.๕๐ ตารางกิโลเมตรอำเภอหนองบัวแดง

                                                                     อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับ ต.หนองแวง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ
ทิศใต้ ติดกับ ต.ชีบน  อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.กุดชุมแสง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ท่าใหญ่ อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ

          การเดินทางเข้าสู่  กศน.ตำบลคูเมือง 
         เส้นทางที่ ๑ จากจังหวัดชัยภูมิไปเส้นอำเภอหนองบัวแดงโดยข้ามภูแลนคา (ผาเกิ้ง)  ประมาณ ๔๙ กิโลเมตรเมื่อถึง  อ.หนองบัวแดง เลี้ยวซ้ายไป ต.คูเมือง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๙ กิโลเมตร

         เส้นทางที่ ๒ จากแยกสมอทอด จ.เพชรบูรณ์เลี้ยวขวาไป ข้ามเขาผ่าน  อ.ภักดีชุมพล ผ่านแม่น้ำชี จะไม่ผ่านตัวอำเภอหนองบัวแดง

                                                                          
พื้นที่รับผิดชอบ

ครู

หมู่บ้านที่รับผิดชอบ

หมู่ที่

บ้าน

นางเบญจพร  ดีเลิศ

โนนดู่

ใหม่ห้วยกนทา

ห้วยกนทา

ปากห้วยเดื่อ

โนนสวนปอ

๑๒

ลาดศิลาทอง

นางสาวราตรี  เชื้อชัย

ท่าข่อย

๑๐

โนนตาปู่

๑๑

โนนคูณ

๑๕

ท่าข่อยพัฒนา

๑๖

ภูมิมะค่า

๑๗

ห้วยกนทาเหนือ

นางสาวนฤมล  เกตุก้อน

บ้านเหมือดแอ่

หนองแพง

โนนงิ้ว

๑๓

โนนดู่พัฒนา

๑๔

คูเมือง

 



เข้าชม : 3398
 



เว็บไซต์ กศน.ตำบลคูเมือง ถนนหนองบัวแดง-ภักดีชุมพล  ตำบลคูเมือง  อำเภอหนองบัวแดง  จังหวัดชัยภูมิ 
โทรศัพท์ 0817090812 E-mail : cyber.nok_deena@hotmail.com

Powered by Nongbuadaeng.NFE_SITE 2012   Modify by   ฐิติพงค์ สังเงิน  Version 2012