[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 


ใบความรู้โครงงาน

 

หลักการเขียนโครงงาน

1. ชื่อเรื่อง :  ต้องเขียนชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจว่าทำอะไร เป็นชื่อที่เรียกความสนใจจากผู้อ่านได้เป็นอย่างดี ไม่เป็นภาษาหยาบคาย
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน :
ต้องระบุจำนวนคนที่ทำโครงงานให้ชัดเจน โดยบอกตำแหน่งและหน้าที่ของสมาชิกโครงงานแต่ละคนให้เรียบร้อย
3. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน :
คืออาจารย์ที่นักเรียนขอคำปรึกษาในการทำโครงงานของนักเรียน
4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน :
เป็นข้อความ ซึ่งควรจะเป็นความเรียงที่ชี้ให้เห็นถึงประเด็นความสำคัญของปัญหา    ความจำเป็น
ที่ต้องทำและเมื่อทำการศึกษาแล้วจะช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้างโดยจะต้องเขียนดังนี้
      4.1 เป็นข้อความที่โน้มน้าวให้ผู้อ่านเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสภาพปัญหา
      4.2 เป็นข้อความที่บอกว่า ทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร ทำไมสมาชิกโครงงานถึงเลือกทางออกนี้ โดยเป็นข้อความที่ต่อเนื่อง
สมเหตุ สมผล โดยสามารถอ้างอิงหลักการทฤษฎี หรือสภาพการณ์ในปัจจุบัน จากการศึกษางานวิจัย ฯลฯ เพื่อสนับสนุนแนวความคิดของ
ตนเองได้ เพื่อเป็นการโน้มน้าวผู้อ่านและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับโครงงานของนักเรียน
5. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน :
มักเขียนเป็นรายข้อเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ โดยบอกว่า โครงงานนี้ทำขึ้นเพื่ออะไร โดยมีหลักในการเขียนดังนี้
     5.1 อยู่ในขอบเขตของปัญหาที่ทำโครงงาน
     5.2 ใช้คำที่บ่งบอกลักษณะงาน เช่น เพื่อศึกษารายละเอียด เพื่อผลิตหรือซ่อมแซมเครื่องใช้เพื่อวิเคราะห์ปัญหา เพื่อแก้ปัญหา
เพื่ออธิบาย เป็นต้น
    5.3 เขียนด้วยภาษาที่รัดกุม ชัดเจน เข้าใจง่าย
6. ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน :
ต้องบอกผู้อ่านโครงงานว่าเมื่อทำโครงงานนี้แล้วได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง เช่น เป็นการเสริมสร้างความรู้ในด้านใดให้มีมากขึ้นหรือไม่ นำผลที่ได้ไปใช้ทำอะไรได้บ้าง เกิดประโยชน์กับผู้ทำโครงงานอย่างไร เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร เป็นต้น
7. รูปแบบชิ้นงาน :
ควรเป็นรูปภาพของชิ้นงานเทคโนโลยีที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อให้ผู้อ่านโครงงานเห็นภาพเทคโนโลยีที่ต้องการผลิตว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ผู้อนุมัติโครงงานตัดสินใจอนุมัติได้ง่ายขึ้นอีกด้วย โดยรูปภาพควรมีรายละเอียดระบุไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ ขนาด
สัดส่วน วัสดุทใี่ ช้ กลไกในการใช้งาน การจัดเก็บ ฯลฯ
8. วิธีการดำเนินงาน :
เป็นข้อความที่บอกวิธีการและขั้นตอนของการทำงานโดยเป็นไปตามวันเวลาที่ได้วางแผนไว้ โดยเมื่อปฏิบัติจริง
อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง โดยมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
     8.1 ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นที่เตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงานจริง การจัดเตรียมได้แก่เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและสถานที่ในการปฏิบัติงาน การค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมฯลฯ
     8.2 ขั้นปฏิบัติงาน ลงมือปฏิบัติงานตามแผนและขั้นตอนที่วางไว้
     8.3 ขั้นทดสอบ นำเทคโนโลยีที่ผลิตไปทดสอบอย่างไร ต้องอธิบาย
     8.4 ขั้นปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงาน
9. วัสดุและอุปกรณ์ :
บอกชื่อและเครื่องมือ ที่ต้องใช้ในการสร้างเทคโนโลยีทั้งหมด โดยระบุจำนวนให้เรียบร้อย
10. แผนระยะเวลาในการปฏบิ ัติงาน สถานท่แี ละงบประมาณ :
ควรบอกว่าแต่ละขนั้ ตอนของกระบนการเทคโนโลยีทั้ง 7 ขั้น แต่ละขั้นทำอยู่ในช่วงเวลาใดให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านโครงงานเห็นภาพการทำงานอย่างชัดเจน ระบุสถานที่ที่ใช้ในการสร้างเทคโนโลยี และ
งบประมาณอย่างละเอียดว่ามีค่าใช้จ่ายใดบ้าง ซึ่งในการปฏิบัติงานจริงอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมได้
11. แหล่งค้นคว้า :
บอกว่าในการผลิตเทคโนโลยีดังกล่าวต้องใช้แหล่งค้นคว้าจากที่ใดบ้าง ควรเขียนให้ถูกต้องตามหลักบรรณานุกรม




แหล่งอ้างอิง :
กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานการออกแบบและเทคโนโลยี กลุ่ม
สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว , 2547.
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน


 

 
               
 
 
 
 
 


เข้าชม : 2377
 



เว็บไซต์กศน.ตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง  จังหวัดชัยภูมิ 
โทรศัพท์ 044-872279 E-mail : cyber.webmaster@hotmail.co.th

Powered by Nongbuadaeng.NFE_SITE 2012   Modify by   ฐิติพงค์ สังเงิน  Version 2012