[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

 
ข่าวประชาสัมพันธ์
กศน.ตำบลวังชมภูจัดกิจกรรมกรรมผู้สูงอายุ

เสาร์ ที่ 2 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2559


 กศน.ตำบลวังชมภูจัดกิจกรรมกรรมผู้สูงอายุ โครงการพัฒนาสุขภาพกาย  สุขภาพใจ  ผู้สูงวัยประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙
ในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ สวนอุษา ตำบลหนองแวง
........................................

นายบรรจง  พิมพ์ภูมี
ผอ.กสน.อำเภอหนองบัวแดง เป้นประธานกล่าวเปิดงาน


นายบุญชิต  สมัตถะเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้เรื่อง การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ


 
โครงการพัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพใจ ผู้สูงวัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙  กศน.ตำบลวังชมภู

แผนงาน : เร่งรัดและผลักดันการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต งบรายจ่ายอื่น  รหัสงบประมาณ๒๐๐๐๒๐๑๐๕๙๗๐๐๐๐๓  แหล่งของเงิน  ๕๙๑๑๕๐๐

ชื่อโครงการ  พัฒนาสุขภาพกาย  สุขภาพใจ  ผู้สูงวัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙   
สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้น

:  ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สร้างอุดมการณ์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์

          ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การสร้างจิตสาธารณะ การต้านยาเสพติดในรูปแบบกิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด กิจกรรมค่าย การแข่งขันกีฬา

 สอดคล้องกับมาตรฐาน กศน. :   มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ

                                          ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง

                                          มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ

            ตัวบ่งชี้ 2.4 คุณภาพผู้สอน/วิทยากรการศึกษาต่อเนื่อง
สอดคล้องกับมาตรฐานสมศ.               ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

ตัวบ่งชี้ที่1.1 ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงตามวัย รวมทั้งรู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัย 

       

๑. หลักการและเหตุผล

              ในปัจจุบันความเจริญทางเทคโนโลยีในด้านการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น  ขณะที่การเกิดลดลง  ทำให้สัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง  ส่งผลให้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ  ซึ่งในสถานการณ์สังคมของประเทศไทยในปัจจุบัน การพัฒนาในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยที่ผ่านมา  ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น การรับวัฒนธรรมสังคมทางตะวันตก  ค่านิยมทางวัตถุและภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัว มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ชุมชนเมืองหรือภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น  ทำให้โครงสร้างของสังคมไทยเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นครอบครัวใหญ่ที่อยู่รวมกันตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย จนถึงรุ่นลูกหลาน  กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือถึงแม้จะอยู่รวมกันแต่วิถีชีวิตสมัยใหม่ก็ไม่เอื้อต่อการมีเวลาให้กันทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวลดน้อยลง  ประกอบกับปัญหาค่าครองชีพในปัจจุบันทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งและกลายเป็นปัญหาของสังคมและประเทศ ทั้งนี้ปัญหาต่างๆของผู้สูงอายุในประเทศไทยสามารถจำแนกออกเป็น ๓ ด้าน ดังต่อไปนี้

๑. ด้านสุขภาพ  ๒. ด้านสภาพจิตและอารมณ์  ๓. ด้านสังคม  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทยที่กำลังเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้  และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประชากรโดยตรงทั้งในส่วนของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและประชากรวัยแรงงานที่ต้องแบกภาระการเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น  ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาและสถานการณ์
                กศน.ตำบลวังชมภู  สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองบัวแดง ได้ตระหนักในความสำคัญในการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสุขภาพกาย 

สุขภาพใจ  ผู้สูงวัยปรำจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในการปฏิบัติ ดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
 ๒. วัตถุประสงค์

           ๑.  เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ 

                 ๒.  เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ

                 ๓.  เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่ดีสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม

๓. เป้าหมาย 

      เชิงปริมาณ  

             ผู้สูงอายุของตำบลวังชมภูเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑๐  คน ทั้ง ๘ ตำบล   รวมทั้งสิ้น   ๘๐  คน  

      เชิงคุณภาพ 

             ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
และจิตใจตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

 

. วิธีการดำเนินงาน

กิจกรรมหลัก

วัตถุประสงค์

กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมาย

Output

พื้นที่ดำเนินการ

ระยะเวลา

งบประมาณ

.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน (P)

 เพื่อแจงชี้กำหนดแผนการดำเนินงาน

บุคลากร กศน.อำเภอหนอง

บัวแดง 

๑ คน

กศน.อ.หนองบัวแดง

ทั้ง ๘ ตำบล

เม.ย.-ก.ย ๕๙

 

.จัดทำ/ขออนุมัติโครงการ

(P)

เพื่อให้งานเป็นไปตามกระบวนการ

บุคลากร กศน.อำเภอหนอง

บัวแดง

๑ คน

กศน.อ.หนองบัวแดง

เม.ย.-ก.ย ๕๙

 

.ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม

( D )

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ

-ผู้สูงอายุในพื้นที่

ตำบลหนองบัวแดง

ตำบลกุดชุมแสง

ตำบลคูเมือง

ตำบลท่าใหญ่
ตำบลถ้ำวัวแดง
ตำบลนางแดด
ตำบลวังชมภู
ตำบลหนองแวง

 

๑๐ คน
๑๐ คน
๑๐ คน

๑๐ คน
 ๑๐ คน
 ๑๐ คน
  ๑๐ คน
  ๑๐ คน

สวนอุษา ศูนย์เรียนรู้

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เม.ย.-ก.ย ๕๙

๔,๐๕๐ บาท

.การนิเทศติดตาม ( C )

เพื่อเป็นการหาแนวทางการแก้ไขปัญหา

คณะกรรมการนิเทศติดตามงาน

๑๐ คน

สวนอุษา ศูนย์เรียนรู้

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เม.ย.-ก.ย ๕๙

 

.สรุปและรายงานผลกาดำเนินงาน

( A )

 เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน/นำผลที่ได้ปรับปรุง แก้ไขต่อไป

ศูนย์ กศน. อำเภอ

หนองบัวแดง

 

๒ คน

กศน.อ.หนองบัวแดง

เม.ย.-ก.ย ๕๙

 

                                                                            

. งบประมาณ

    แผนงาน :  เร่งรัดและผลักดันการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต  งบรายจ่ายอื่น  รหัสงบประมาณ๒๐๐๐๒๐๑๐๕๙๗๐๐๐๐๓  แหล่งของเงิน  ๕๙๑๑๕๐๐  โครงการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ งบรายจ่ายอื่น โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 4,050 บาท

(สี่พันห้าสิบบาทถ้วน) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
          - ค่าอาหาร ( ๘๐ คน × ๕๑ บาท )                                      เป็นเงิน     ๔,๐๘๐  บาท
( แต่ขอจ่ายเพียง ๔,๐๘๐
  บาท ) (สี่พันแปดสิบบาทถ้วน)
                                                                                                รวมเป็นเงิน ๔,๐๘๐
  บาท
หมายเหตุ     ทุกรายการขอถัวจ่ายเท่าที่จ่ายจริง            

 

 ๖. แผนการใช้จ่ายงบประมาณ

กิจกรรมหลัก

ไตรมาสที่  ๑

(ต.ค. ธ.ค. ๕๙)

ไตรมาสที่  ๒

(ม.ค. มี.ค. ๕๙)

ไตรมาสที่  ๓
(เม.ย.
มิ.ย. ๕๙)

ไตรมาสที่  ๔

(ก.ค. ก.ย. ๕๙)

.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน

 

 

/

 

.จัดทำ/ขออนุมัติโครงการ

 

 

/

 

.ดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม

 

 

/

 

.การนิเทศติดตาม

 

 

/

 

.สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

 

 

/

 

 


. ผู้รับผิดชอบโครงการ

           - ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองบัวแดง
            - ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน
           
- ครู กศน.ตำบล
           
- ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน

 . เครือข่าย

- องค์กรหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน/ชุมชน

 

 

  . โครงการที่เกี่ยวข้อง

           -โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต   

           -โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ    

๑๐.๑ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะในการดูแลสุขภาพ

๑๐.๒ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจและอารมณ์ของตนเอง

๑๐.๓ เข้ารับการอบรมสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้เป็นอย่างมีความสุข

  ๑๑. ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ

ตัวชี้วัดผลผลิต

ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุขภาพกาย จิต อารมณ์ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

 

      ตัวชี้วัดผลลัพธ์

ร้อยละ ๘๐ ของผู้เรียน/ผู้รับบริการมีทักษะในการดูแลสุขภาพกาย จิต อารมณ์ พัฒนาคุณภาพ

ชีวิตให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

  12. การติดตามประเมินผลโครงการ

-ประเมินผลระหว่างจัดกิจกรรม

-ประเมินผลการนำความรู้ไปใช้หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม

-แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

      

                         ลงชื่อ.......................................................ผู้เสนอโครงการ

                                     ( นางสาวพิชญาภา  แสงกุดเลาะ )

หัวหน้ากศน.ตำบลวังชมภู

 

                           ลงชื่อ.......................................................ผู้เห็นชอบโครงกา
                                  ( นายวัชธรพงพงษ์  พงษ์จำนงค์ ) 
ครูอาสาสมัครฯ


                            ลงชื่อ.......................................................ผู้อนุมัติโครงการ

                                           ( นายบรรจง  พิมพ์ภูมี )

                                  ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอหนองบัวแดง

ความรู้ที่ได้รับ

๑.      การดูแลสุขภาพเบื้องต้น หลัก ๑๑ อ.  ในการดูแลผู้สูงอายุ

"ผู้สูงอายุ" คำนิยามในทางการแพทย์และสาธารณสุข คือ ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยปกติร่างกายของสิ่งมีชีวิต จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายไปในทางที่เสื่อมลง ตั้งแต่อยู่ในวัยกลางคน แต่จะเห็นเป็นลักษณะของความเสื่อมอย่างชัดเจนตั้งแต่อายุประมาณ 40 กว่าปีเป็นต้นไป ผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย เนื่องจากความสูงอายุ ซึ่งแต่ละคน จะมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสุขภาพ และการใช้ชีวิตในวัยที่ผ่านมา ร่วมกับผู้สูงอายุบางคนมีโรคประจำตัว ซึ่งทำให้สมรรถภาพของร่างกายเสื่อมถอยลงไป จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้สูงอายุคือ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้สามารถใช้ชีวิตแต่ละวันอย่างมีความสุข มีอิสระที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพตามที่ตนต้องการ ถึงแม้สภาพร่างกายจะเสื่อมถอยไป และมีโรคเรื้อรังต่างๆ อยู่ก็ตามเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังกล่าวนี้ การดูแลผู้สูงอายุจะต้องเน้นที่จะทำให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ร่วมกับส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้ ตามที่สภาพร่างกาย จิตใจ และเวลาเอื้ออำนวย โดยยึดหลัก 11 อ.เพื่อสุขภาพกายใจที่ดี ดังนี้

1. อาหาร ความต้องการพลังงานลดลง แต่ความต้องการสารอาหารต่างๆ ยังใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุควรลดอาหารประเภทไขมัน (น้ำมันจากสัตว์ และพืช  ไข่แดง  เนย) และประเภทคาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง และน้ำตาล) ผู้สูงอายุควรได้รับอาหารโปรตีน หรือกลุ่มเนื้อสัตว์ ประมาณ 50-60 กรัมต่อวัน หรือประมาณมื้อละ 2 ช้อนโต๊ะ ควรเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย พวกปลาจะดีที่สุด ผู้สูงอายุกินไข่ขาวได้ไม่จำกัด แต่ควรกินไข่แดงไม่เกิน  3 ฟองต่อสัปดาห์ ผู้สูงอายุควรกินผักมากๆ ทั้งผักที่ใช้ใบ หัว และถั่วต่างๆ ผลไม้รับประทานได้มากเช่นกัน  แต่ควรเลือกผลไม้ที่ไม่หวานจัด ผลไม้ที่หวานจัด เช่น กล้วยสุก มะม่วงสุก ทุเรียน ลำไย ควรรับประทานแต่น้อย เพราะถ้ารับประทานมาก อาจจะทำให้เกิดโรคตามมาได้ เช่น เบาหวาน เป็นต้น

 

2. ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายประมาณสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายมีความคล่องตัว แข็งแรง ซึ่งจะทำให้การทรงตัว และการเคลื่อนไหวดีขึ้น ไม่หกล้มง่าย

3. อนามัย การดูแลตนเองโดยเฉพาะให้พยายาม ลด ละ เลิก สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น บุหรี่ เหล้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ  รวมทั้งสังเกตการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย การขับถ่าย เป็นต้น และควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่อายุประมาณ 65 ปี เป็นต้นไป

4. อุจจาระ ปัสสาวะ ต้องให้ความสนใจการขับถ่ายของผู้สูงอายุด้วยว่ามีปัญหาหรือไม่ บางรายอาจจะเกิดปัญหาถ่ายยาก ถ่ายลำบาก อีกส่วนหนึ่งอาจมีปัญหาเรื่องกลั้นการขับถ่ายไม่ได้ ซึ่งแต่ละปัญหาจะต้องให้การดูแลแก้ไขไปตามสาเหตุ

5. อากาศ และแสงอาทิตย์ เน้นให้อยู่ในสถานที่ ๆ มีสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสม


 

 

 

6. อารมย์ อดิเรก อนาคต และอบอุ่น เป็น 4 อ. ที่เน้นทางด้านความรู้สึกนึกคิด และจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้การมีชีวิตอยู่แต่ละวันมีความสุข มีความรื่นรมย์กับการมีชีวิตอยู่ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ควรเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่างๆ และปรับความรู้สึกนึกคิดไปตามนั้น ไม่ยึดแต่ลักษณะเก่าๆ ดั้งเดิมที่เคยเป็นมา ควรมีงานอดิเรกที่น่าสนใจ แต่ไม่ควรเป็นสิ่งที่เป็นภาระมากนัก เช่น ถ้าอยู่คนเดียวก็ไม่ควรเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก เพราะจะเป็นภาระในการซื้อหา และให้อาหาร  และถ้าสัตว์เจ็บป่วย  เสียชีวิต ก็จะเกิดความสลดหดหู่ และจิตใจเศร้าหมองได้ ผู้สูงอายุควรคิดถึงอนาคตด้วย และควรพยายามเข้าร่วมในสังคมกลุ่มต่างๆ ตามสมควร การมีเพื่อนรุ่นเดียวกัน หรือต่างรุ่นจะทำให้มีความอบอุ่น และรู้สึกถึงคุณค่าของตน

7. อุบัติเหตุ เกิดขึ้นได้ทุกขณะ และอาจทำให้เกิดความบาดเจ็บ และความพิการต่างๆ ได้ ควรพยายามดูแลสภาพบ้านเรือนให้ปลอดภัย มีแสงสว่างพอเหมาะ พื้นไม่ลื่น หรือควรมีราวจับในบางแห่งที่เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยๆ เช่น ห้องน้ำ เป็นต้น  ทั้งหมดนี้เป็นหลักการเบื้องต้น ในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งแต่ละคนจะมีปัญหาแตกต่างกันไป ดังนั้น จะต้องปรับการดูแลให้เหมาะสม หลักสำคัญก็คือ ต้องให้ท่านเหล่านั้นสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่ สุด และมีความสุขกายสบายใจในบั้นปลายของชีวิต ดังคำที่ว่า "เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลาน"

     ๒. กายบริหาร ๑๔ ท่า สำหรับผู้สูงอายุ 

1.ท่ายกแขน (Arm Raise)

ท่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อไหล่แข็งแกร่งขึ้น นั่งอยู่บนเก้าอี้ หลังตรง เท้าทั้งสองวางราบลงบนพื้น

 แยกเท้าออกจากกัน จนอยู่ในแนวเดียวกับแนวไหล่ ถือตุ้มน้ำหนักเหยียดลงตรงทาง ด้านข้าง ฝ่ามือคว่ำลง ใช้เวลา 3 วินาที เพื่อยกแขนขึ้นให้ ขนานกับพื้น หยุดอยู่ในท่านั้น 1 วินาที แล้วใช้เวลา 3 วินาที เพื่อลดแขนลงข้างตัว หยุด แล้วทำซ้ำ 8 ถึง 15 ครั้ง พัก แล้ว ทำชุดนี้อีก 8 ถึง 15 ครั้ง

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.นั่งบนเก้าอี้ มือถือตุ้มน้ำหนัก

2.เท้าวางราบบนพื้น

3.แขนเหยียดลงข้างตัว ฝ่ามือคว่ำ

4.ยกแขนทั้งสองข้างให้เสมอไหล่

5.หยุดอยู่ตรงนั้น

6.ค่อย ๆ ลดแขนลงทางด้านข้าง

2.ท่ายืนจากเก้าอี้ (Chair Stand)

ทำให้กล้ามเนื้อส่วนท้องและต้นขามีความแข็งแรง นั่งลง กลางเก้าอี้ส่วนหน้า เอนหลังลงอยู่ในท่า

กึ่งนอน หลังและไหล่ ตรง เข่างอ วางเท้าราบลงบนพื้น วางหมอนไว้ที่ตอนในของ เก้าอี้ก่อนเพื่อค้ำหลังของคุณให้ตรง ใช้มือให้น้อยที่สุด (หรือ ไม่ใช้เลย ถ้าทำได้) ดึงหลังของคุณมาข้างหน้าให้มาอยู่ใน ท่าตรง อย่าให้หลังพิงหมอน ระหว่างที่ดึงตัวขึ้น ทำหลังให้ ตรงจนรู้สึกว่า กล้ามเนื้อส่วนท้องทำงาน อย่าก้มไหล่ไปข้าง หน้าขณะคุณลุกขึ้น ต่อไป ขณะที่เท้ายังวางราบลงบนพื้น ใช้ เวลาอย่างน้อย 3 วินาที เพื่อลุกขึ้น พยายามใช้มือให้น้อยที่ สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะที่คุณโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อ ลุกขึ้น รักษาหลังและไหล่ให้ตรง ใช้เวลาอย่างน้อย 3 วินาที เพื่อนั่งลง เป้าหมายของคุณอยู่ที่ว่าคุณทำอย่างนี้โดยไม่ใช้ มือช่วยจะทำให้คุณแข็งแรงขึ้น ทำซ้ำ 8 ถึง 15 ครั้ง พัก แล้ว ทำซ้ำอีก 8 ถึง 15 ครั้ง

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.วางหมอนพิงไว้ที่ด้านในของเก้าอี้

2.นั่งลงที่กึ่งกลางด้านหน้าของเก้าอี้

3.เอนหลังพิงเก้าอี้ กึ่งนั่งกึ่งนอน หลังและไหล่ตรง

4.ยกร่างกายส่วนบนของท่านขึ้นมาจนกระทั่งนั่งตรง ใช้มือช่วยให้น้อยที่สุด

5.ค่อยลุกขึ้น ใช้มือช่วยให้น้อยที่สุด

6.ค่อย ๆ นั่งลง

7.ให้หลังและไหล่ของคุณตรงตลอดเวลาที่คุณออกกำลังกาย

 

3.ท่างอกล้ามเนื้อส่วนหน้าของต้นแขน (Biceps Curl)

ทำให้กล้ามเนื้อส่วนบนของแขนมีความแข็งแรง นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มี เท้าแขน พิงหลังที่พนักหลัง

 เท้าทั้งสองวางราบบนพื้น แยกห่างจาก กันจนอยู่ในแนวเดียวกับหัวไหล่ จับตุ้มน้ำหนัก ให้แขนของคุณ เหยียดตรงลงมาข้างตัว ฝ่ามือหันเข้าหาตัว ใช้เวลา 3 วินาทียกน้ำ หนักที่แขนซ้ายเข้ามาหาหน้าอกโดยการงอแขน ขณะที่ยก หมุนมือ ของคุณจนกระทั่งฝ่ามือหันเข้าหาไหล่ หยุดที่ตำแหน่งนั้น 1 วินาที แล้วใช้เวลา 3 วินาทีลดมือลงมาที่ตำแหน่งเริ่มต้น หยุด แล้วทำเช่น เดียวกันด้วยแขนซ้าย ทำดังนี้จนได้ 8 ถึง 15 ครั้ง กับแขนแต่ละ ข้าง หยุดพัก แล้วทำซ้ำดังนี้อีก 8 ถึง 15 ชุด

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีท้าวแขน พิงหลังเข้ากับพนักหลัง

2.วางเท้าราบบนพื้น แยกห่างในแนวเดียวกับแนวไหล่

3.มือถือตุ้มน้ำหนักทั้งสองข้าง แขนเหยียดตรง หันฝ่ามือเข้าหาตัว

4.ค่อย ๆ งอแขนข้างหนึ่งขึ้น ยกน้ำหนักเข้าหาหน้าอก (หมุนฝ่ามือเข้าหาไหล่ ขณะยกน้ำหนัก)

5.หยุดอยู่ที่ตำแหน่งนั้น

6.ค่อย ๆ ลดแขนลงกลับไปที่ตำแหน่งตั้งต้น

7.ทำซ้ำด้วยแขนอีกข้างหนึ่ง

4.ท่างอฝ่าเท้า (Plantar Flexion)

ทำให้ข้อเท้า และกล้ามเนื้อน่องแข็งแกร่ง (เรื่องนี้จะมีอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยการทรงตัวด้วย) ใช้

น้ำหนักของข้อเท้า เมื่อพร้อม ยืนตรง เท้าวางราบบนพื้น ใช้มือทั้งสองจับขอบโต๊ะหรือพนักเก้าอี้เพื่อทรงตัว ใช้เวลา 3 วินาที เขย่งยืนด้วยหัวแม่เท้าให้สูงเท่าที่จะทำได้ ยืนอยู่ท่านั้น 1 วินาที ใช้เวลา 3 วินาทีเพื่อค่อย ๆ ลดตัวลง ทำอย่างนี้ 8 ถึง 15 ครั้ง พัก 1 นาที แล้วทำอีก 8 ถึง 15 ชุด เมื่อเห็นว่าแข็งแรงดีแล้ว ทำโดยใช้เท้าขวาข้างเดียว และเท้าซ้าย ข้างเดียว 8 ถึง 15 ครั้ง พักหนึ่งนาที ทำอย่างนี้ 8 ถึง 15 ชุด

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.ยืนตรง จับโต๊ะหรือเก้าอี้เพื่อทรงตัว

2.ยืนเขย่งบนหัวแม่เท้าช้า ๆ สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้

3.ยืนอยู่ตำแหน่งนั้น

4.ค่อย ๆ ลดส้นเท้าลงจนสุด

เมื่อแข็งแรงดี ยืนบนขาข้างเดียว แล้วสลับข้าง

5.ท่ายืดกล้ามเนื้อส่วนหลังของต้นแขน (Triceps Extension)

(หากว่าแขนของคุณไม่อ่อนตัว พอที่จะออกกำลังในท่านี้ ให้ใช้อีกวิธีหนึ่งในหัวข้อถัดไป)

ทำให้กล้ามเนื้อด้านหลังของแขนส่วนบนแข็งแกร่งขึ้น นั่งบนเก้าอี้ค่อนมาข้างหน้า เท้าทั้งสองวางราบลงบนพื้น แยกออกจากกันจนอยู่ในแนวเดียวกับแนวไหล่ ถือตุ้มน้ำหนักในมือซ้าย ยกแขนขึ้นตรง ๆ จนสุดให้ชี้ขึ้นเพดาน ฝ่ามือคว่ำลง ใช้มือขวาช่วยค้ำแขนซ้ายโดยจับใต้ศอก ค่อย ๆ งอแขนซ้ายจนกระทั่งตุ้มน้ำหนักในมือซ้ายของคุณอยู่หลังไหล่ซ้าย ใช้เวลา 3 วินาทีค่อย ๆ เหยียดแขนซ้ายให้ตรง ชี้ขึ้นเพดานอีก หยุดอยู่ตำแหน่งนั้น 1 วินาที แล้วใช้เวลา 3 วินาที ลดน้ำหนักลงมาที่ไหล่โดยการงอศอกลงมา ค้ำแขนซ้ายไว้ด้วยมือ ขวาตลอดเวลา หยุด แล้วงอ แล้วเหยียดตรงซ้ำ ๆ กัน 8 ถึง 15 ครั้งด้วยแขนซ้าย เปลี่ยนเป็นทำด้วยมือขวา พัก แล้วทำซ้ำ 8 ถึง 15 ชุดในแต่ละข้าง

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.นั่งบนเก้าอี้ ค่อนมาทางขอบหน้า

2.วางเท้าราบลงบนพื้น แยกห่างในแนวเดียวกับแนวไหล่

3.ยกแขนข้างหนึ่งให้ชี้ขึ้นเพดาน

4.ค้ำด้วยมือของแขนอีกข้างหนึ่งใต้ศอก

5.งอแขนข้างที่ยกให้ตุ้มน้ำหนักลงไปที่ไหล่

6.ค่อย ๆ ยืดแขนให้ชี้ตรงขึ้นเพดาน

7.หยุดอยู่ตำแหน่งนั้น

8.ค่อย ๆ งอแขนไปที่ไหล่อีก

6.ท่ายืดกล้ามเนื้อส่วนหลังของต้นแขนอีกวิธีหนึ่ง (Dip)

นั่งในเก้าอี้ที่มีท้าวแขน เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย รักษาให้หลังและไหล่ให้ตรง มือกำท้าวแขน

เก้าอี้ ในแนวเดียวกับลำตัว หรือล้ำออกไปข้างหน้าเล็กน้อย วางเท้าให้เข้ามาใต้เก้าอี้เล็กน้อย โดยยกส้นเท้าขึ้นจากพื้น ให้น้ำหนักเท้าและขา อยู่บนหัวแม่เท้าและปลายอุ้งเท้า ค่อย ๆ ยกตัวคุณขึ้นโดยใช้แขนดัน ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ การทำดังนี้ จะทำให้กล้ามเนื้อแขนของคุณแข็งแรงขึ้น แม้ว่าคุณจะยกตัวไม่พ้นจากเก้าอี้ได้ก็ตาม อย่าใช้ขาหรือเท้าช่วย หรือถ้าจะต้องช่วยก็ให้น้อยที่สุด ค่อย ๆ ลดตัวลง ทำซ้ำ 8 หรือ 15 ครั้ง พัก แล้วทำอีก 8 หรือ 15 ครั้ง

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.นั่งในเก้าอี้ที่มีท้าวแขน

2.เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย หลังและไหล่ตรง

3.จับท้าวแขน

4.ดันเท้าไปใต้เก้าอี้เล็กน้อย น้ำหนักอยู่บนหัวแม่เท้า

5.ดันตัวเองให้ยกจากเก้าอี้ ใช้แขน ไม่ใช้ขา

6.ลดตัวลงไปที่ตำแหน่งตั้งต้น

7.ท่างอเข่า (Knee Flexion)

ทำให้กล้ามเนื้อหลังโคนขามีความแข็งแรง ใช้น้ำหนักถ่วงข้อเท้า (ถ้าคุณมี) ยืนตรง ชิดโต๊ะหรือ

เก้าอี้ จับไว้เพื่อให้ทรงตัวได้ ใช้เวลา 3 วินาทีที่จะงอเข่าซ้ายของคุณ ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าขยับขาท่อนบน งอเข่าเท่านั้น ใช้เวลาอีก 3 วินาทีที่จะลดขาลง ทำซ้ำดังนั้นกับขาข้างขวา สลับขาจนกระทั่งทำได้ 8-15 ครั้งในแต่ละขา พัก แล้วทำสลับไปสลับมาจนครบ 8-15 ชุด

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.ยืนตรงจับโต๊ะหรือเก้าอี้

2.ค่อย ๆ งอเข่าให้มากที่สุดที่จะมากได้จนกระทั่งเท้างอมา ข้างหลัง

3.หยุดอยู่ตำแหน่งนั้น

4.ค่อย ๆ ลดเท้าลง

5.ทำซ้ำด้วยขาอีกข้างหนึ่ง

8.ท่างอสะโพก (Hip Flexion)

ทำให้กล้ามเนื้อต้นขาและสะโพกมีความแข็งแรง ใช้น้ำหนักถ่วงข้อเท้า (ถ้าคุณมี) ยืนอยู่ข้างหรือ

หลังเก้าอี้ หรือโต๊ะ ใช้มือหนึ่งยึดไว้เพื่อให้ทรงตัวได้ ใช้เวลา 3 วินาทีเพื่องอเข่าซ้ายและยกขึ้นมาหาหน้าอกให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยืนให้ตรงตลอดเวลา ไม่งอเอวหรือสะโพก หยุดอยู่ที่ตรงนั้น 1 วินาที แล้วใช้เวลา 3 วินาทีเพื่อลดขาซ้ายลงให้สุด ทำซ้ำดังนั้นกับขาข้างขวา สลับขาจนกระทั่งทำได้ 8 ถึง 15 ครั้งในแต่ละขา พักแล้วทำสลับไปสลับมาจน ครบ 8 ถึง 15 ชุด

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.ยืนตรง ยึดวัตถุที่สูงเพื่อให้ทรงตัวได้

2.ค่อย ๆ งอเข่าข้างหนึ่งมาหาหน้าอกโดยไม่งอเอวและสะโพก

3.หยุดอยู่ตำแหน่งนั้น

4.ค่อย ๆ ลดขาลงให้สุด

5.ทำซ้ำด้วยขาอีกข้างหนึ่ง

9.ท่าออกกำลังไหล่ (Shoulder Flexion)

ทำให้กล้ามเนื้อไหล่มีความแข็งแรง นั่งบนเก้าอี้ หลังเหยียดตรง เท้าทั้งสองวางราบลงบนพื้น แยก

ออกจากกันจนอยู่ในแนวไหล่ มือทั้งสองถือตุ้มน้ำหนักเหยียดตรงลงข้างตัว ฝ่ามือหันเข้าตัว ใช้เวลา 3 วิยาทียกแขนไปข้างหน้า รักษาให้แขนเหยียดตรงพร้อมกับหมุนให้ฝ่ามือหงายขึ้น จนกระทั่งแขนขนานกับพื้น หยุดอยู่ตำแหน่งนั้น 1 วินาที แล้วใช้เวลาอีก 3 วินาที ลดแขนลงจนกระทั่งเหยียดลงมาข้างตัวดังเดิม หยุดแล้วทำซ้ำ 8 ถึง 15 ครั้ง พัก ทำอีก 8 ถึง 15 ชุดซ้ำกัน

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.นั่งบนเก้าอี้

2.วางเท้าราบลงบนพื้น แยกห่างในแนวเดียวกับแนวไหล่

3.มือทั้งสองข้างเหยียดตรงลงข้างตัว ฝ่ามือหันเข้าใน

4.ยกแขนชี้ไปข้างหน้า (รักษาให้เหยียดตรงและหมุนฝ่ามือหงายขึ้น) ได้ระดับไหล่

5.หยุดอยู่ตำแหน่งนั้น

6.ค่อย ๆ ลดแขนลงข้างลำตัว

10.ท่าเหยียดเข่า (Knee Extension)

ทำให้กล้ามเนื้อส่วนหน้าของต้นขาและแข้งแข็งแกร่งขึ้น ใช้น้ำหนักถ่วงข้อเท้า (ถ้าคุณมี) นั่งบน

เก้าอี้หลังพิงพนักเก้าอี้ ถ้าการนั่งท่านั้นทำให้ฝ่าเท้าของคุณวางราบลงกับพื้น แล้วให้ม้วนผ้าเช็ดตัวยัดไว้ใต้เข่าเพื่อยกขาขึ้น ให้โคนหัวแม่เท้าแตะพื้นเท่านั้นวางมือลงที่ต้นขาหรือบนเก้าอี้ใช้เวลา 3 วินาทีเหยียดขาขวาไปข้างหนาจนขนานไปกับพื้น เข่าเหยียดตรงในตำแหน่งนั้น งอเท้าเข้ามาหาตัว แล้วหยุดอยู่ 1 ถึง 2 วินาที ใช้เวลา 3 วินาทีลดขาขวาลงมาที่ตำแหน่งเริ่ม จนกระทั่งโคนหัวแม่เท้าแตะพื้น ทำซ้ำด้วยขาซ้าย สลับขาทำดังนั้น 8 ถึง 15 ครั้ง พัก แล้วทำซ้ำกลับไปกลับมาอีก 8 ถึง 15 ชุด

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.นั่งบนเก้าอี้ ม้วนผ้าเช็ดตัวสอดไว้ใต้เข่า ถ้าต้องการ

2.ค่อย ๆ เหยียดขาข้างหนึ่งไปข้างหน้าให้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้

3.หยุดอยู่ตำแหน่งนั้น แล้วงอปลายเท้าเข้ามาหาตัว

4.ค่อยๆ ลดเท้าลง

5.ทำซ้ำด้วยขาอีกข้างหนึ่ง

11.ท่าเหยียดสะโพก (Hip Extension)

ท่าเหยียดสะโพกนี้เป็นส่วนหนึ่งของการออกกำลังกาย เพื่อความแข็งแรงตามกำหนดและอย่าง

สม่ำเสมอ แล้ว เพิ่มท่าดัดแปลงนี้เมื่อคุณเก่งดีแล้ว จับเก้าอี้ด้วยมือข้างเดียว แล้วด้วยนิ้วเดียว แล้วก็ไม่จับเลยแล้วก็หลับตาเวลาออกกำลัง หากมั่งคงพอ

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.ยืนห่างจากโต๊ะ 12 ถึง 18 นิ้ว

2.เอนตัวด้วยสะโพก จับโต๊ะไว้

3.ค่อยยกขาข้างหนึ่งไปข้างหลัง ให้ขาตรง

4.หยุดอยู่ตำแหน่งนั้น

5.ค่อย ๆ ลดขาลง

6.ทำซ้ำกับขาอีกข้างหนึ่ง

7.เพิ่มท่าดัดแปลงเข้าไปเมื่อคุณเก่งดีแล้ว

 

 

12.ท่ายกขาไปข้าง ๆ (Side Leg Raise)

ทำให้กล้ามเนื้อด้านข้างของสะโพก และต้นขาแข็งแกร่งขึ้น ใช้น้ำหนักถ่วงข้อเท้า (ถ้าคุณมี) ยืน

ตรงชิดโต๊ะหรือหลังเก้าอี้ เท้า แยกจากกันเล็กน้อย จับโต๊ะไว้เพื่อให้ทรงตัวได้ ใช้เวลา 3 วินาทีเพื่อยกเท้าขวาไปข้างๆ ห่างออกไป 6 ถึง 12 นิ้ว รักษาให้ หลังและขาทั้งสองตรง อย่าให้นิ้วหัวแม่เท้าชี้ออกทางด้านข้าง ให้ชี้ไปข้างหน้า หยุดอยู่ตำแหน่งนั้น 1 วินาที ใช้เวลา 3 วินาทีเพื่อ ลดขาลงให้อยู่ที่ตำแหน่งเดิม ทำซ้ำด้วยขาซ้าย สลับขาไปมาจนทำได้ 8 ถึง 15 ครั้งในแต่ละขา พัก แล้วทำซ้ำดังเดิมอีก 8 ถึง 15 ครั้ง

 

สรุปท่าออกกำลังกาย

1.ยืนตรงชิดโต๊ะ เท้าแยกจากกันเล็กน้อย

2.จับโต๊ะไว้เพื่อให้ทรงตัวได้

3.ค่อย ๆ ยกขาข้างหนึ่งไปข้าง ๆ ห่าง 6 ถึง 12 นิ้ว

4.หยุดตรงนั้น

5.ค่อย ๆ ลดขาลง

6.ทำซ้ำด้วยขาอีกข้างหนึ่ง

7.หลังและเข่าทั้งสองตรงตลอดเวลา

13.ท่ายืดกล้ามเนื้อด้านหลังของต้นขา (Hamstrings)

จะยืดกล้ามเนื้อส่วนหลังของต้นขา นั่งเอาข้างออกบนม้านั่งจะเป็นเตียงไม้ หรือเก้าอี้สองตัวหัน

หน้าชนกันก็ได้ ไม่ต้องพิงสิ่งใด หลังและไหล่ตรง ขาซ้ายวางไปตามยาวของม้านั่ง ปลายเท้าชี้ขึ้น ขาขวาวางอยู่บนพื้นข้างๆ เท้าวางราบ ถ้าเข่าซ้ายของคุณงอ ยืดให้วางราบไปกับม้านั่ง ถ้าจุดนี้คุณรู้สึกตึง ให้คงอยู่ตำแหน่งนั้น 10 ถึง 30 วินาที ถ้าขาซ้ายของคุณวางราบลงกับม้านั่งได้โดยที่ไม่รู้สึกตึง ให้ก้มไปข้างหน้าช้าๆ จากสะโพก (ไม่ใช่จากเอว) จนกระทั่งรู้สึกตึง รักษาให้หลังและไหล่ของคุณตรงอยู่ตลอดเวลา (หมายเหตุ : หากคุณได้รับการเปลี่ยนกระดูกสะโพกมาอย่าก้มลง นอกจากหมออนุญาตให้คุณทำได้) หยุดอยู่ในตำแหน่งนั้นอยู่นาน 10 ถึง 30 วินาที เปลี่ยนตำแหน่งขาเพื่อให้คุณทำกับขาขวาในทำนองเดียวกัน ทำซ้ำ 3 ถึง 15 ครั้ง แต่ละข้าง

 

สรุปท่าการออกกำลังกาย

1.นั่งตะแคงข้างบนม้านั่ง

2.ยืดขาหนึ่งไปตามยาวของม้านั่ง ให้ขาเหยียดตรง

3.อีกขาหนึ่งวางอยู่บนพื้น เท้าวางราบ

4.เหยียดหลังให้ตรง

5.ก้มไปข้างหน้าจากสะโพก (ไม่ใช่เอว) จนกระทั่งรู้สึกตึงที่ขาที่วางบนม้านั่ง รักษาให้หลังและไหล่ตรง งดทำท่านี้ถ้าคุณเปลี่ยนกระดูกสะโพกมา นอกจากหมออนุญาต

6.อยู่ตำแหน่งนี้

7.ทำซ้ำกับขาอีกข้างหนึ่ง

๑4.ท่ายืดกล้ามเนื้อด้านหลังของต้นขาอีกวิธีหนึ่ง (Alternative Hamstring Stretch)

จะยืดกล้ามเนื้อส่วนหลังของต้นขา ยืนหลังเก้าอี้ ขาทั้งสองข้างตรง จับพนักเก้าอี้ด้วยมือทั้งสอง

 ก้มไปข้างหน้าจากสะโพกของคุณ (ไม่ใช่จากเอว) รักษาให้หลังและบ่าทั้งหมดตรงตลอดเวลา จนกระทั่งส่วนบนของร่างกายขนานกับพื้น อย่าให้ส่วนใดของหลังและไหล่งอ หยุดอยู่ตำแหน่งนั้น 10 ถึง 30 วินาที คุณควรจะรู้สึกตึงที่ส่วนหลังของต้นขา ทำซ้ำอีก 3 ถึง 5 ครั้ง

 

 

สรุปท่าการออกกำลังกาย

1.ยืนหลังเก้าอี้ จับพนักเก้าอี้ไว้ด้วยมือทั้งสอง

2.ก้มไปข้างหน้าจากสะโพก รักษาให้หลังและไหล่ตรงตลอดเวลา

3.เมื่อส่วนบนของร่างกายขนานกับพื้น หยุดที่ท่านั้น

 

๓. ศึกษาดูงานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง 

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ

ครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ

ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัย

ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


รายงานโดย : นางสาวพิชยาภา  แสงกุดเลาะ
หัวหน้า กศน.ตำบลวังชมภู

 

 


เข้าชม : 843


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      กศน.ตำบลลงพื้นที่ 20 / ก.ค. / 2564
      กศน.ตำบลวังชมภูจัดกิจกรรมกรรมผู้สูงอายุ 2 / ก.ค. / 2559
      กศน.ตำบลวังชมภู จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด 25 / มิ.ย. / 2559
      พิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล 18 / มิ.ย. / 2559
      กศน.ตำบลวังชมภูลงพื้นที่รับสมัครนักศึกษาประจำภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๙ 24 / เม.ย. / 2559




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป




เว็บไซต์กศน.ตำบลวังชมภู อำเภอหนองบัวแดง  จังหวัดชัยภูมิ 
โทรศัพท์ 044-872279 E-mail : cyber.webmaster@hotmail.co.th

Powered by Nongbuadaeng.NFE_SITE 2012   Modify by   ฐิติพงค์ สังเงิน  Version 2012