๑. ประวัติ กศน.ตำบลวังชมภู
ตามหนังสือ สำนักงาน กศน.ที่ ศธ ๐๒๑๐.๐๒ /๓๒๖๗ ลงวันที่ กันยายน ๒๕๕๒ เรื่องการดำเนินงานกศน. ตำบล สำนักงาน กศน. โดยเลขาธิการ กศน.(นายอภิชาติ จีระวุฒิ)ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัด ดำเนินการปรับศูนย์การเรียนชุมชนในทุกตำบลให้เป็น กศน. ตำบล ศูนย์การเรียนชุมชนวังชมภู ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อ เป็น กศน.ตำบลวังชมภู สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองบัวแดง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ กศน.ตำบลวังชมภู ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย องค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู ได้ก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคาร กศน.ตำบลวังชมภูเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐.-บาท (สองแสนบาทถ้วน) โดยการจัดตั้ง กศน. ตำบลวังชมภู จัดทำเป็นประกาศของจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ลงนามในประกาศจัดตั้ง
๒. ที่ตั้ง
กศน.ตำบลวังชมภู ตั้งอยู่ที่ บ้านไทรงาม หมู่ที่ ๑๑ ตำบลวังชมภู อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
ถนนสายบ้านหนองแวง - หนองพวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ๓๖๒๑๐ ระยะห่างจากอำเภอหนองบัวแดง ๒๖ กิโลเมตร
๓.อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ ลำน้ำชีและบ้านโนนสาธิต ตำบลนางแดด
ทิศใต้ ติดกับ บ้านห้วยหันและบ้านภูนกเขียน ตำบลท่าใหญ่
ทิศตะวันออก ติดกับ ห้วยยางบ้านโนนตูม และตำบลหนองแวง
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านห้วยหัน และบ้านท่าวังย่างควาย
๔. ปรัชญา กศน.ตำบลวังชมภู
“ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำชุมชนสู่เศรษฐกิจพอเพียง”
๕. คติพจน์ของสถานศึกษา
สุโข ปัญญา ปฎิลาโภ “ความมีสติปัญญาทำให้เกิดความสุข”
๖. สถานศึกษาในสังกัด
๑. กศน.ตำบล จำนวน ๑ แห่ง
๒. ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านนางแดดโคก จำนว วน ๑ แห่ง
๓. ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านทรัย์เจริญ จำนวน ๑ แห่ง
๔. ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านทุ่งวลสว่าง จำนวน ๑ แห่ง
๗. จำนวนบุคลากร
๑.) ผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๑ คน
๒.) ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน ๑ คน
๓.) หัวหน้า กศน.ตำบล จำนวน ๑ คน
๔.) ครู กศน.ตำบล จำนวน ๑ คน
๕.) ครูศูนย์การเรียน จำนวน ๑ คน
๘. ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศ โดยทั่วไปของตำบลวังชมภู ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดอนสลับกับกลุ่มบางส่วนมีแม่น้ำชีไหลผ่านจุดเชื่อมต่อระหว่างตำบลนางแดดและตำบลหนองแวง นอกจากนั้นยังมีลำห้วยสายสำคัญ ๆ ได้แก่ ลำห้วยยางกระโหม ลำห้วยคลองนา ลำห้วยยางขี้นก ลำห้วยบง และลำห้วยซับหลิ่น ซึ่งลำห้วยดังกล่าว เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของชาวตำบลวังชมภูตลอดมา ส่วนทางทิศตะวันตกของตำบลเป็นพื้ที่ป่าภูเป้ง ภูใหญ่ และยังมีสัตว์ป่าที่หลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง ฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นเนื่องจากพื้นที่มีป่าไม้เป็นจำนวนมาก ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด
๘.๑ เขตการปกครอง
ตำบลวังชมภู แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ ๑ บ้านนางแดดโคก
หมู่ที่ ๒ บ้านหนองพวง หมู่ที่ ๓ บ้านทรัพย์เจริญ
หมู่ที่ ๔ บ้านห้วยหัน
หมู่ที่ ๕ บ้านโคกกรวด
หมู่ที่ ๖ บ้านท่าวังย่างควาย
หมู่ที่ ๗ บ้านโนนตูม
หมู่ที่ ๘ บ้านทุ่งสว่าง
หมู่ที่ ๙ บ้านหลักแดน
หมู่ที่ ๑๐ บ้านนางแดดเหนือ
หมู่ที่ ๑๑ บ้านไทรงาม
๘.๒ ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น ๗,๕๕๙ คน แยกเป็น ชาย ๓,๗๙๗ คน หญิง ๓,๗๖๒ คน
มีความหนาแน่นเฉลี่ย ๖๐.๒๑ คน/ตร.กม. (ข้อมูล ณ วันที่ เดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔) แยกตามหมู่บ้าน ดังนี้
๘.๓ สภาพเศรษฐกิจ
๑) อาชีพหลัก
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ข้าวโพด และยึดอาชีพรับจ้าง เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย เป็นอาชีพรอง
๒) หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
(๑) ปั๊มน้ำมัน (ปั้นหลอด) จำนวน ๑๙ แห่ง
(๒) โรงสี จำนวน ๑๙ แห่ง
(๓) ร้านซ่อมเครื่องยนต์ จำนวน ๗ แห่ง
๘.๔ สภาพทางสังคม
๘.๔.๑ การศึกษา
๑) กศน.ตำบล จำนวน ๑ แห่ง
๒) ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน ๑ แห่ง ๓) ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ จำนวน ๗ แห่ง
๔) โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๕ แห่ง
๕) โรงเรียนประถมศึกษา (ขยายโอกาส) จำนวน ๓ แห่ง
๖) ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน ๖ แห่ง
๘.๔.๒ สถาบันและองค์กรศาสนา
๑) วัด / สำนักสงฆ์ จำนวน ๑๒ แห่ง
๒) โบสถ์ จำนวน ๓ แห่ง
๘.๔.๓ การสาธารณสุข
๑) โรงพยาบาลของรัฐขนาด - เตียง จำนวน - แห่ง
๒) สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน ๒ แห่ง
๓) อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
๘.๔.๔ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๑) สถานีตำรวจ จำนวน - แห่ง
๒) สถานีดับเพลิง จำนวน - แห่ง
๘.๕ การคมนาคม
ตำบลวังชมภู มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
- ถนนสาย รพช. โนนเหม่า – บ้านหนองหอยปัง เป็นถนนลาดยางสภาพดี
ใช้ติดต่อกับตำบลนางแดด ตำบลถ้ำวัวแดง และอำเภอภักดีชุมพล มีหมู่บ้านที่ใช้เส้นทางนี้
คือบ้านนางแดดโคก ม. ๑, บ้านหนองพวง ม.๒, บ้านทรัพย์เจริญ ม.๓
- ถนนลูกรังสาย บ้านหนองพวง – บ้านหนองแวง เป็นถนนลูกรังใช้งานได้ดีในฤดูแล้ง มีหมู่บ้านที่ใช้เส้นทางนี้ คือ บ้านหนองพวง ม.๒ บ้านโคกกรวด ม.๕ บ้านท่าวังย่างควาย ม. ๖บ้านโนนตูม ม. ๗ บ้านห้วยหัน ม. ๔
- ถนนลูกรังสาย บ้านทรัพย์เจริญ – บ้านหลักแดน เป็นถนนลูกรังใช้งานได้ดีใน
ฤดูแล้ง มีหมู่บ้านที่ใช้เส้นทางนี้ คือ บ้านทรัพย์เจริญ ม.๓, บ้านหลักแดน ม.๙
- ถนนลูกรังสาย บ้านโนนตูม – บ้านทุ่งสว่างเป็นถนนลูกรังใช้งานได้ดีในฤดูแล้ง
มีหมู่บ้านที่ใช้เส้นทางนี้ คือ บ้านโนนตูม ม.๗ และบ้านทุ่งสว่าง ม.๘
- ถนนลูกรังสาย บ้านไทรงาม – บ้านโคกสง่า เป็นถนนลูกรังใช้งานได้ดี
ในฤดูแล้ง มีหมู่บ้านที่ใช้เส้นทางนี้ คือ บ้านไทรงาม ม.๑๑, บ้านโคกสง่า ตำบลหนองแวง
- ถนนลูกรังสาย บ้านหลักแดน – บ้านภูนกเขียน เป็นถนนลูกรังใช้งานได้ดี
ในฤดูแล้ง มีหมู่บ้านที่ใช้เส้นทางนี้ คือ บ้านหลักแดน ม.๙, บ้านภูนกเขียน ตำบลท่าใหญ่
- ถนนลูกรังสาย บ้านห้วยหัน – บ้านโนนสาธิต เป็นถนนลูกรังใช้งานได้ดี ในฤดูแล้ง มีหมู่บ้านที่ใช้เส้นทางนี้ คือ บ้านห้วยหัน ม.๔, บ้านไทรงาม ม.๑๑, บ้านโนนสาธิต ตำบลนางแดด
- ถนนลูกรังสาย บ้านหนองพวง – บ้านบ่อทอง เป็นทางลูกรังใช้งานได้ดี ในฤดูแล้ง มีหมู่บ้านที่ใช้เส้นทางนี้ คือ บ้านหนองพวง ม.๒, บ้านบ่อทอง ตำบลถ้ำวัวแดง
๘.๖ การสาธารณูปโภค
มีไฟฟ้าครบทั้ง ๑๑ หมู่บ้าน จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า ๑,๘๐๔ ครัวเรือน
๘.๗ ทรัพยากรธรรมชาติ
สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของตำบลวังชมภู เป็นพื้นที่มีภูเขาและป่าไม้มาก
ประกอบกับมีแม่น้ำชี ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมีลำห้วยเล็ก ๆ ไหลผ่าน จึงเป็นพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่ ราษฎรส่วนใหญ่จึงยึดเป็นอาชีพหลักเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญสามารถส่งออกมีรายได้เข้าตำบลเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าว, อ้อย และพืชไร่ต่าง ๆ
๘.๘ แหล่งน้ำ
๑) ลำน้ำชี
๒) น้ำตกดาดาด
๓) ห้วยหัน
๔) ห้วยโปร่ง
รายงานโดย : นางสาวพิชญาภา แสงกุดเลาะ ครู กศน.ตำบลวังชมภู
เข้าชม : 2627 |