วิธีที่ 1 การจำกัดการรับชมภาพและเสียงจากสื่อ เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น ทีวีแต่ละช่องจะแสดงข่าวซ้ำๆ ซำ้ไปซำ้มา แต่นักวิชาการทางจิตวิทยา รอสสัน ได้กล่าวว่า เด็่กอายุน้อยๆ อาจจะไม่รู้ว่าพวกเขากำลังชมข่าวที่ฉายซำ้ไปซำ้มา เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นถูกฉายซ้ำๆ เด็กเล็กอาจจะเข้าใจว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันแทน พ่อแม่ควรปิดทีวีเมื่อเหตุการณ์สะเทือนใจเหล่านี้เกิดขึ้น ควรจำกัดภาพที่เด็กรับชม เพราะเด็กๆเหล่านี้ มักจะได้รับอิทธิผลจากภาพเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายมากกว่าเสียงพูด และลดเสียงทีวีลงเมื่อมีเสียงดัง เช่นข่าวยิงกัน หรือการระเบิด เพราะเด็กอาจตื่นตระหนกตกใจ
วิธีที่ 2 การอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเด็กเห็นภาพและต้องการที่จะรู้มากขึ้น ควรอธิบายแต่เพียงข้อมูลพื้นฐานและเล่าถึงบริบทที่เกิดขึ้น มากาเร็ต นิกเกิล ผู้อำนวยการ สถาบันอิรักสันเพื่อเด็กและครอบครัว ได้เสริมว่าเด็กได้รับรู้เหตุการณ์ต่างไๆที่เกิดขึ้นตลอดช่วงวัยของเขา หากเด็กๆเห็นภาพเครื่องบินตก หรือคนต่อสู้กัน พวกเขาอาจจะไม่รู้ว่าคงามขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นอีกซีกโลกหนึ่ง การโชว์และใช้แผนที่อธิบายจะเสริมความเข้าใจดียิ่งขึ้น
วิธีที่ 3 การเล่าถึงเหตุการณ์อย่างพอดี ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กบริโภคข่าวสารมากจนเกินไป ยกตัวอย่าง เช่น หากเด็กชมภาพทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงครามในอิรัก พ่อแม่ควรอธิบายว่าทหารเหล่านี้กำลังถูกไปส่งมี่โรงพยาบาล เพื่อรักษา พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องอธิบายว่าทหารเหล่านี่้อยู่ที่ไหน หรือประเทศกำลังเกิดสงคราม
วิธีที่ 4 แคร์ความรู้เด็กเมื่อตื่นกลัว หากพฤติกรรมของเด็กเปลี่ยน จากการพูดเก่งเป็นพูดน้อยและดูครุ่นคิดมากขึ้น เด็กๆอาจจะพยายามตีความสารนั้นๆ กระตุ้นให้เด็กพูดออกมาถึงสิ่งที่เข่คิดอยู่ หากลูกเล่าถึงเหตุการณ์ใหม่ ถามคำถามปลายเปิดกับเด็ก เช่น ว่าเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ค่อยๆให้เด็กเล่า โดยไม่ทำให้เด็กรู้สึกบีบคั้นเกินไป หรือรู้สึกว่าข้อมูลล้น และปรับความรู้สึกโดยพ่อแม่เล่าถึงความรู้สึกของตนเองว่ารู้สึกอย่างไรต่อ เหตุการณ์นั้นๆ
วิธีที่ 5 การเรียนรู้ร่วมกัน คนอร์เล่าว่า เด็กโต อาจอยากศึกษาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อยากรู้เรื่องฮอร์ริเคน หรือแผ่นดินไหว เพื่อช่วยผ่อนคลายความกังวลและกลัวลง การเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติทางออนไลน์ร่วมกัน การอ่านหนังสือเพื่อศึกษาถึงตำแหน่งสถานที่ๆเกิดเหตุในข่าว
วิธีที่ 6 ตั้งสติในการให้ข้อมูล เมื่อข่าวที่เกิดขึ้นทำให้เด็กๆรู้สึกเครียด เด็กจะมองหาผู้ที่ให้คำแนะนำ พ่อแม่ควรตั้งสติ ไม่ว่ารูปที่ปรากฎตรงหน้าจะเป็นอะไร หากเด็กดูเครียด ยำ้กับเขาว่าที่ๆเราอยู่ปลอดภัย พูดกับเขาว่า พ่อแม่รู้ว่ามันรูปสงครามอิรักดูน่ากลัว แต่ที่ๆเราอยู่ไม่มีสงครวม
วิธีที่ 7 รักษาเวลา หากเด็กรู้สึกเครียด กังวลกับข่าว รักษาเวลาในการดูทีวีให้ปกติ หากเด็กๆรู้สึกกลัวเวลาไปนอน หรือการไปโรงเรียน สละเวลาเพื่อช่วยลูกๆปรับตัวซัก 2-3 วัน เพื่อให้หายจากความหวาดกลัวนั้น
วิธีที่ 8 เล่นกับลูก เด็กจะเล่นเพื่อให้หายจากความกลัว หากเด็กยังรู้สึกกลัว เล่นกับเขาโดยการอาจเล่นเป็นนักดับเพลิง วิ่งเข้าไปในตึกที่ไฟไหม้ หรือการใช้เฮลิคอปเตอร์ในการช่วยคนจากซึนามิ พ่อแม่ควรเข้าไปดูแล หากลูกๆ มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเด็กคนอื่นๆ
วิธีที่ 9 เน้นเรื่องเชิงบวก หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น การโจมตีจากกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ ความเสี่ยงผลกระทบด้านลบต่อเด็กจะมีแทบจะทันที การเล่าถึงคนที่ไม่ดี มาโจมตีเรา รอสสันแนะนำให้เราเน้นเล่าเรื่องเชิงบวกแทน เช่นการเล่าถึงคนหรือองค์กรที่จะมาช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบ หรือบาดเจ็บ เป็นต้น
วิธีที่ 10 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ จากศูนย์ฉุกเฉิน หรือผลกระทบจากภัยพิบัติแห่งชาติ อาจถามเด็กว่าอยากช่วยเหลือไหม หลังจากนั้นพยายามหาวิธีที่ลูกๆจะมีส่วนร่วมในการบริจาคเงิน หรือเวลา หรือการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักต่อสาเหตุและผลกระทบ การขายน้ำมะนาว หรือการรวบรวมเงินเพื่อช่วยการวิจัยป้องกันรักษามะเร็ง เป็นต้น
ไม่ว่าเหตุการณ์ในข่าวจะเป็นอะไร หลีกเลี่ยงการอธิบายเพื่อให้จบๆไป แต่ใช้โอกาสในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ลูกหลานได้เรียนรู้เชื่อมโยงกับโลก กับข่าวนั้นๆ