รำลึก 40 ปี 14 ตุลาคึกคัก "ละเมียด บุญมาก" ภรรยา"จีระ บุญมาก" วีรชนคนแรกที่ถูกทหารยิงเสียชีวิต นำญาติวีรชนร่วมทำบุญ รวมพลนับพันเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปธรรมศาสตร์เพื่อร่วมกิจกรรม ตลอดทั้งวัน "จาตุรนต์-ณัฐวุฒิ" ปาฐกถาตีแสกหน้ารัฐประหาร ไฮไลต์ละคร-งิ้วการเมืองคดี 6 ศพวัดปทุม แสดงโดยคนเดือนตุลา นำโดย อ.ยิ้ม-สุธาชัย อ.สุดาแห่งอักษร จุฬาฯ
วันที่ 13 ต.ค. ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน บรรดาญาติและวีรชน 14 ตุลาคม 2516 และเครือข่ายเดือนตุลา จัดงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลา โดยช่วงเช้ามีพิธีตักบาตรพระสงฆ์ 40 รูป และวางพวงมาลาไว้อาลัยแด่วีรชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทั้งนี้ญาติวีรชนนำโดยนางละเมียด บุญมาก ภรรยานายจีระ บุญมาก นักศึกษาปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์ ที่ถูกทหารยิงเสียชีวิตเป็นรายแรกในเหตุการณ์ดังกล่าว ขณะที่คนการเมืองมีนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย เป็นตัวแทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม วางพวงมาลาไว้อาลัยแด่วีรชน นอกจากนี้นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ และส.ส.จำนวนหนึ่งเข้าร่วม พิธีด้วย
จากนั้นประชาชน 1 พันคนตั้งขบวนเคลื่อนผ่านถนนราชดำเนิน สี่แยกคอกวัว ไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เวลา 10.45 น. ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายจาตุรนต์ แสดงปาฐกถาหัวข้อ "อดีต ปัจจุบัน อนาคตประชาธิปไตยไทย" ว่า เหตุการณ์ 14 ตุลาคือพลังประชาชนที่ยิ่งใหญ่ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในบ้านเมืองและส่งผล ต่อการเมืองไทยเรื่อยมา การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในปัจจุบันมีจุดร่วมกับเหตุการณ์ 14 ตุลาอย่างมาก ไม่มีใครรู้ว่าการเรียกร้องรัฐธรรมนูญจะมีหน้าตาอย่างไร แต่จุดร่วมคือไม่ต้องการรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการ สรุปคือวันนี้ต้องแก้รัฐธรรมนูญ เริ่มที่ ม.190 และ ม.68 เป้าหมายคือปิดช่องศาลรัฐธรรมนูญแทรกแซงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ จากนั้นแก้ ม.291 เพื่อนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ให้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ส่วน ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ มีอำนาจที่สมดุลกัน
นาย จาตุรนต์กล่าวว่า ฝ่ายอนุรักษนิยมอ้างปัญหาการคอร์รัปชั่นในการรัฐประหาร แต่ข้อเท็จจริงคือปัญหานี้มีอยู่ทุกประเทศ และยิ่งมีมากในระบอบเผด็จการ ประชาชนสนับสนุนการตรวจสอบอยู่แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยองค์กรอิสระกลับใช้อำนาจอย่างอำเภอใจโดยที่ประชาชนไม่ สามารถตรวจสอบได้ วันนี้ต้องทำให้รัฐสภาเข้มแข็งด้วยการแก้รัฐธรรมนูญให้สำเร็จจากพลังของ ประชาชน ประเทศไทยต้องรู้ตัวเองว่าไม่ใช่ประเทศที่โดดเดี่ยว ความเชื่อมั่นในประชาธิปไตยจะทำให้เราก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเท่าทันกับความ เปลี่ยนแปลงของโลก
ต่อมานายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ และแกนนำคนเสื้อแดงกล่าวทอล์กโชว์ในงานว่า การจัดงานรำลึก 14 ตุลาในทุกๆ ปี เเม้จะเจ็บปวดบ้างเเต่ชอบธรรม เเละควรค่ายิ่ง โดยเฉพาะการสอนให้เยาวชนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกถือปฏิบัติกัน ผิดกับการทำปฏิวัติรัฐประหารที่ไม่มีการรำลึก เพราะเป็นเรื่องที่ไม่มีความชอบธรรม ทั้งนี้ ไม่สำคัญว่าใครจะเกิดทันยุค 14 ตุลา 2516 หรือไม่ เเต่สำคัญว่าเมื่อทุกคนรู้ความเลวร้ายของรัฐประหาร ของอำนาจเผด็จการเเล้วจะทำอย่างไรต่างหาก ปัจจุบันมีหลายคนที่เคยสู้ร่วมกันในเดือนตุลาเปลี่ยนความ คิดจากต่อต้านเผด็จการเป็นสนับสนุนรัฐประหาร
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า การเเสดงออกทางการเมืองแม้ต่างกรรมต่างวาระ เเต่สำคัญคือจุดยืนต้องชัดเจน ซึ่งการต่อต้านเผด็จการรัฐประหารนั้นเป็นหน้าที่หลักการที่ต้องอยู่ในจิตใจ ผู้รักประชาธิปไตยทุกคน ไม่มีการรัฐประหารที่ชอบธรรมเเละมีเหตุผล ปัจจุบันเห็นว่าคนบางกลุ่มไม่ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์การสูญเสียตลอดที่ผ่าน มา จึงไม่สามารถมั่นใจได้ว่า เหตุการณ์ปราบปรามประชาชนจะไม่เกิดอีกในอนาคตข้างหน้า เพราะว่าความอยุติธรรมเกิดขึ้นตลอดมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเย็นเป็นการแสดงละคร ลิเกกายกรรม และคอนเสิร์ตจากศิลปินอิสระ สลับกับการอ่านบทกวี ส่วนบริเวณรอบนอกตรงลานสวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ มีการแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475 ถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และเหตุการณ์รัฐประหาร 6 ตุลา 2519 ถึงเหตุการณ์รัฐประหาร 2549 กระทั่งเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 พร้อมจำหน่ายหนังสือและเสื้อยืดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ขณะ ที่ด้านตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฝั่งสนามหลวง ตั้งเวทีปราศรัยขนาดเล็กโดยคนเสื้อแดง กลุ่มแดงสยาม โดยนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือแซ่ด่าน และนายสุชาติ นาคบางไทร อดีตนักโทษการเมือง สลับกันขึ้นเวทีปราศัย เนื้อหาสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนและต้านอำนาจนอกระบบทุก รูปแบบ โดยมีประชาชนเข้าฟัง 100 คน
จากนั้นเวลา 20.00 น.ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการแสดง "งิ้วธรรมศาสตร์ 19" เรื่องเปาบุ้นจิ้น ตอน "สะสางคดี 6 ศพ" นักแสดงประกอบด้วย นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อดีตคนเดือนตุลา อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ น.ส.สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ แกนนำกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล และ "หนุ่ม เรดนนท์" อดีตนักโทษการเมือง
น.ส.สุดากล่าวว่า งิ้วธรรมศาสตร์ตอนนี้เป็นเรื่องของหญิงชราที่ลูกทั้ง 6 ถูกยิงด้วยธนูจนเสียชีวิต ไปร้องขอความเป็นธรรมต่อเปาบุ้นจิ้น แต่เมื่อมีการเอ่ยชื่อผู้เป็นต้นเหตุทำให้กระบวนการยุติธรรมหยุดชะงัก แม้จะรู้ว่าใครทำผิด แต่ก็ไม่อาจนำตัวมาลงโทษได้ กระทั่งเปาบุ้นจิ้นเกิดสำนึกในเวลาต่อมาและพยายามค้นหาวิธีดำเนินคดีได้ใน ที่สุด โดยนำมาโยงกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 จนมี ผู้เสียชีวิต 99 ศพ ในจำนวนนี้มีผู้บริสุทธิ์ถึง 6 ศพถูกสังหารในวัดปทุมวนาราม
วัน เดียวกันที่รัฐสภา คณะกรรมจัดงานรำลึกและเชิดชูเกียรติ "วัน 14 ตุลา ประชาธิปไตย" วุฒิสภา จัดงานรำลึกและเชิดชูเกียรติ ครบรอบ 40 ปี 14 ตุลา ประชาธิปไตย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญ เลิศชัย รองประธานวุฒิสภา เป็นประธาน เชิญนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย"
นายคณิตกล่าวว่า กฎหมายของไทยไม่ได้เสียหาย แต่เป็นตัวนักกฎหมายที่มีปัญหา คนในกระบวนการยุติธรรมบางคนมีพฤติ กรรมน่ารังเกียจ เช่น ทำงานสบาย กลัว ผู้บังคับบัญชาโดยเฉพาะนักการเมือง ตนก็ เคยโดนแต่ไม่กลัว รวมถึงบางคนมีพฤติกรรมประจบประแจง จึงต้องมีการปฏิรูปกระบวน การยุติธรรม รวมถึงสร้างความเข้าใจเรื่องนี้แก่ประชาชน หากกระบวนการยุติธรรมดี จะช่วยพัฒนาประเทศได้ทุกด้าน โดยกระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย สามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลได้
ผู้รายงาน
นายณัฐชัย สิงห์อำพล ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล
นางสาววลัยลักษณ์ นามวิจิตร ตำแหน่ง ครู ศรช.
ที่ปรึกษา
นายอนันต์ ศรีวงษ์ชัย ตำแหน่ง ผอ.กศน.อำเภอภักดีชุมพล