|
|
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันรักการอ่าน" กำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอันเป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งคนไทยจะได้รับการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสืออย่างต่อเนื่องและทั่วถึง พร้อมกันนี้ วันที่ 2 เมษายน ของทุกปียังเป็นวันหนังสือเด็กแห่งชาติ อีกด้วย
|
จากผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ถูกปลูกฝังการอ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด จะมีพัฒนาการที่ดีในทุกด้าน ทั้งสติปัญญา ทักษะทางภาษา คณิตศาสตร์ ด้านอารมณ์ และคุณธรรม |
โครงการส่งเสริมการอ่าน จึงเป็นอีกหนึ่งในมาตรการของรัฐ เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของเด็กไทย ด้วยการส่งเสริมให้เกิดหนังสือดีราคาถูก ถึงมือเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึง หนังสือเล่มแรก (Book start) ด้วยการมอบหนังสือที่เหมาะสมให้เด็กได้อ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด |
|
มาตรการ 5: การส่งเสริมการอ่าน |
|
แนวคิด: |
การส่งเสริมการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชน มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนรักการอ่านและเข้าถึงหนังสือคุณภาพ
|
จากอัตราการอ่านหนังสือของคนไทยยังน้อย เฉลี่ย 5 เล่มต่อคนต่อปี ในขณะที่ สิงค์โปร์และเวียตนาม 40-60 เล่มต่อคนต่อปี (ปี2549)
|
อัตราการอ่านหนังสือของเด็กไทยอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งหนังสือที่อ่านส่วนใหญ่คือตำราเรียน และอัตราการอ่านลดลงตามลำดับเมื่อมีอายุสูงขึ้น ทุกกลุ่มวัยมีแนวโน้มการอ่านหนังสือลดลง (จากประชากรผู้ที่อ่านหนังสือร้อยละ69.1ในปี2548 เหลือ 66.3ในปี 2551) ทั้งนี้เพราะมีสื่ออื่นที่สนใจกว่า เช่น โทรทัศน์ เกม เป็นต้น( สนง.สถิติแห่งชาติ 2551)
|
อัตราการซื้อหนังสือของคนไทย 2 เล่ม/คน/ปี หรือร้อยละ 0.22 ของรายได้ต่อหัว (ปี2550)
|
|
|
|
ปัจจัยหลักที่ทำให้ไม่อ่านหนังสือ เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมตั้งแต่วัยเยาว์ ทั้งจากครอบครัว จนถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐบาล ที่ผ่านมาการรณรงค์ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของสังคมไม่มีเอกภาพ และไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน หรือสนับสนุน
|
การส่งเสริมการอ่าน จึงต้องมีการดำเนินการไปพร้อมๆกัน ทั้งในด้านของอุปสงค์ (Demand side) คือการสร้างพฤติกรรมการอ่าน การกระจายหนังสือให้ถึงมือเด็ก และการรณรงค์สร้างกระแสรักการอ่าน และด้านอุปทาน (Supply side) คือ มาตรการทางภาษี ที่ทำให้หนังสือมีราคาถูกลง การขยายช่องทางเผยแพร่ใหม่ๆ และการพัฒนาคุณภาพหนังสือ
|
ตัวอย่าง โครงการหนังสือเล่มแรก (Book start) เครือข่ายหนังสือเพื่อเด็ก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการหนังสือเล่มแรก เพื่อสร้างกระแสรักการอ่าน ด้วยการมอบหนังสือที่เหมาะสมให้เด็กได้อ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด
|
จากผลการวิจัยที่ติดตามพัฒนาการของเด็กที่เข้าร่วมโครงการนี้ไปจนถึงอายุ 5 ขวบ เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้เติบโตขึ้นมาพร้อมกับหนังสือ พบว่า เด็กที่เข้าร่วมโครงการฯ มีพัฒนาการดีในทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา ทักษะทางภาษา และคณิตศาสตร์ ด้านอารมณ์ และคุณธรรม |
|
แนวทาง: |
1. รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านระดับชาติ ที่มีองค์ประกอบของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ (อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง) ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้มีการจัดทำแผนแม่บท ยุทธศาสตร์ และดำเนินการด้านกฎระเบียบ และมาตรการต่างๆ ที่จำเป็น
|
2. รัฐบาลสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อหนังสือให้ห้องสมุดชุมชน และกระจายหนังสือดีให้ถึงเด็กและครอบครัวในชุมชน รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชนที่มีร้านค้าสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้จัดมุมจำหน่ายหนังสือดีราคาถูก เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและหาซื้อได้ง่าย
|
3. รัฐบาลกำหนดมาตรการทางภาษี (เช่น ให้ธุรกิจหนังสือเด็กอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 0%) เพื่อสนับสนุนให้มีการผลิตหนังสือคุณภาพออกเผยแพร่มากขึ้น และการลดหย่อนจากเงินบริจาคให้แก่กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
|
4. รัฐบาลประกาศเรื่อง การส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้เริ่มในวันหนังสือเด็กแห่งชาติ (2 เมษายน 2552)
|
|