สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- หม่อมราชวงศ์ กัลยาณกิติ์ กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์ อดุลยกิติ์ กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์ บุษบา กิติยากร
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เติบ โตขึ้นมาในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงทำให้ต้องอยู่ไกลจาก พระบิดามารดาในตอนแรก โดยได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปประทับ ที่จังหวัดสงขลา ในปี 2476
ต่อ มา เมื่อหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ มีอายุได้ 5 ขวบ ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรก ในชั้นอนุบาลที่โรงเรียน ราชินี เมื่อปี 2480 และเมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้แผ่ขยายมาถึงประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ถูกโจมตีทางอากาศบ่อยครั้ง ทำให้การคมนาคม ขาดความสะดวกและปลอดภัยหม่อมเจ้านักขัตรมงคล จึงให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ย้ายไปเรียนที่ โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ ในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 จนถึงชั้นมัธยมศึกษา เพราะอยู่ใกล้บ้าน และที่นี่หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ ได้เริ่มเรียนเปียโน ซึ่งสามารถเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจาก ความสามารถทางด้าน ภาษาต่างประเทศคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่สามารถเรียนได้ดีเช่นกัน
เมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 สงบลง รัฐบาลไทยซึ่งขณะนั้นมี พันตรีควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทูลขอให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำ สำนักเซ็นต์เยมส์ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2489 โดยได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษและเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว ระหว่าง ที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ศึกษาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส กับครูพิเศษ ควบไปกับการเรียนเปียโน ต่อมาไม่นานนัก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ประจำประเทศเดนมาร์ก และต่อไปที่ประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงเรียนเปียโนเพื่อหาโอกาส เข้าศึกษาต่อ ในวิทยาลัยการดนตรี ที่มีชื่อของกรุงปารีส และที่ประเทศ ฝรั่งเศสนี้เองที่ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว และเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์) ซึ่งทรงโปรดการ เสด็จประพาสกรุงปารีส โดยทางรถยนต์จากสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทอดพระเนตรรถยนต์ แทนคันเดิม ที่รับราชการสนอง พระเดชพระคุณมาเป็นเวลานาน และการแสดงดนตรีของคณะที่มีชื่อเสียงอยู่บ่อย ครั้ง และในระหว่าง ที่เสด็จฯ มายังกรุงปารีส ก็จะทรง ประทับที่สถานทูตไทย ประจำประเทศฝรั่งเศส เช่นเดียวกัน กับนักเรียนไทยคนอื่น และเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการดนตร ีเป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เอง ก็สนใจ และรอบรู้เข้าใจ ในศิลปะการดนตรีเป็นอย่างดี ทำให้เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย จนกลายเป็น ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในที่สุด ในปี 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และทรงเข้ารับ การรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล โดยมีหม่อมหลวงบัว และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ ถวายการพยาบาลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สวิสเซอร์แลนด์นั้น สมเด็จพระราชชนนี ได้ทรงรับเป็นธุระ จัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาใน Pensionnat Rinate Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ของโลซานน์ จนเมื่อหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจาก อาการประชวรแล้ว ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 ภายหลังจากพิธีหมั้นผ่านไป หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงศึกษาอยู่ต่อจนเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯนิวัติพระนคร จึงทรงโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จ พระราชดำเนินกลับมาด้วย เพื่อร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม 2493 ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน ปีเดียวกันนั้น ทรงโปรดให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ณ วังสระปทุม และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ครั้นเมื่อ มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชินี สิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจากนั้นทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงรักษาพระองค์ และทรงศึกษาต่อ และได้เสด็จฯกลับมาประทับที่ประเทศไทยในปี 2495 ในปี 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกบรรพชาตามโบราณราชประเพณีเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน ในระหว่างที่ผนวชอยู่นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้เฉลิมพระอภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ 5 ธันวาคมศกนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม 4 พระองค์คือ
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาล มองซัวซี นครโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2494ต่อมาได้ทรงลาออกจาก ฐานันดรศักดิ์ เพื่อสมรสกับนายปีเตอร์ เลด เจนเซ่น ชาวอเมริกัน ทรงมีพระโอรสและพระธิดา 3 องค์
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ บรมจักราดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุรบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดชภูมิพลนเรศวรางกูล กิตติสิริสมบูรณ์ สว่างควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ต่อมาในปี 2515 ทรงได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมุฏราชกุมาร
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2498 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2520
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2500 ทรงอภิเษกสมรสกับ เรืออากาศโท (ยศในขณะนั้น) วีระยุทธ ดิษยะศริน ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์
อ้างอิงจาก เว็บไซต์กองทัพอากาศ
ตลอดระยะเวลาแห่งการดำรงพระอิสริยยศ ”พระราชินี” จนถึง “สมเด็จพระบรมราชินีนาถ” ได้ทรงปฏิบัติภารกิจน้อยใหญ่นานัปการ ทั้งในฐานะ “พระผู้เป็นที่พึ่งของปวงชนชาวไทย” และในฐานะ “คู่บุญคู่พระราชหฤทัย” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อานาประชาราษฏร์ ทั้งโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์เอง ไปทรงเยี่ยมราษฎรในชนบท ทั่วทุกภูมิภาค แม้ตรากตรำพระวรกาย เนื่องจากการคมนาคมในสมัยนั้น ยังไม่สะดวกสบายเหมือนในปัจจุบัน ก็มิได้ย่อท้อ
ในด้านความมั่งคงของประเทศ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมทหารที่ปฎิบัติการสู้รบ ต่อสู้ผู้ก่อการร้ายตามชายแดนถึงฐานปฏิบัติการต่าง ๆ แม้เป็นที่เสี่ยงภยันตราย ก็ทรงพระอุตสาหะเสด็จไปทรงดูแลทุกข์สุก ปลอบขวัญถึงฐานปฎิบัติการต่าง ๆเป็นขวัญกำลังใจ ให้ทหารต่อสู้ปกป้องผืนแผ่นดิน นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่อาณาประชาชน ให้สามารถทำมาหากินได้อย่างสงบสุข ตราบจนต่อมา ภัยจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ก็สลายลง ด้วยเดชะพระบารมีแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
พระ ราชกรณียกิจในสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินนาถ มีกว้างขวางครอบคุมสาขาต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การแพทย์และสาธารณสุข การต่างประเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ อีกมากมาย
ในด้านการศึกษา ทรงมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนหลายหลายรูปแบบ เช่น ทรง พระอุตสาหะสอนหนังสือราษฏรด้วยพระองค์เอง พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนการศึกษาแก่เยาวชนจากครอบครัวที่ยากจน ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน ทรงรับไว้เป็นนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์ ส่วนบิดามารดาพี่น้องของเด็ก ก็โปรดเกล้าฯให้เข้ารับการฝึกอบรมพระราชทานความช่ายเหลือให้ปรับปรุงการ ประกอบอาชีพให้เป็นผล หรือให้มีความรู้เป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้สามารถช่วยตนเอง และครองครัวให้ดำรงชีวิตเป็นสุขตามอัตภาพ โดยใช้วัตถุดิบพื้นบ้านมาทำประโยชน์ เช่น หัตถกรรมจักสานของโครงการหุบกะพง โครงการจักสานย่านลิเพา และทำเครื่องปั่นดินเผาในภาคใต้ ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้สอดแทรกเรื่อง ความรักชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาศิลปวัฒธรรมท้องถิ่น และ ประเทศ การรู้จักรักษาสุขภาพอนามัย การรู้จักพัฒนาตนเอง การเห็นความสำคัญของการศึกษาและการช่วยเหลือร่วมมือกับส่วนรวม พร้อมทั้งให้ทุกคนตระหนักว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม ต้องบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์เพื่อความเจริญพัฒนาของภูมิภาค
นอก จากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์บำรุงงานด้านการศึกษาอื่น ๆ เช่น ทรงรับมูลนิธิด้านการศึกษา ไว้ในพระราชินูปถัมภ์ พระราชทานพระราชทรัพย์แก่โรงเรียนที่สอนเด็กปัญญาอ่อน เรียนช้าและพิการช่ำช้อน ทรงสนับสนุนก่อตั่งและขยายโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร ทรงส่งเสริมให้ราษฎรศึกษาด้วยตนเองโดยก่อตั่ง “ศาลารวมใจ” มีลักษณะเป็นห้องสมุด และ ศูนย์ศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งศูนย์รักษาพยาบาลเบื้องต้น
พระมหากรุณาธิคุณมิได้แผ่ปกป้องเฉพาะปวงชนชาวไทย หากแต่ยังทรงแผ่ปกไปถึงประชาชน ของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ชาวกัมพูชาอพยพลี้ถัยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแดนไทย แถบจังหวัดตราด จันทบุรี และปราจีนบุรี มีพระราชศรัทธาและพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะทรงบำบัด ทุกข์บำรุงสุขผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยมิได้ทรงเลือกเชื้อชาติ ศาสนา หรือ เผ่าพันธุ์พระปรีชาสามารถ และพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงทุ่มเทอุทิศกำลังพระวรกาย พระสติปัญญา พระราชทรัพย์ ในพระราชกรณียกิจต่าง ๆเพื่อเกื่อกูลประโยชน์สุขของพสกนิกรนั้น ได้ดื่มด่ำอยู่ในหัวใจคนไทยทั้งชาติ และหยั่งลึกลงเป็นรากฐานแห่งความจงรักภักดีต่อ พระบรมราชจักรีวงศ์เป็นผลให้เกิดความมั่งคง และนำศานติสุขมาสู่ปวงชนชาวไทย
สถาบัน องค์กร มหาวิทยาลัย หน่วยงานต่างๆ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ โล่เฉลิมพระเกียรติ รางวัล และประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น องค์กรค์การเอฟเอโอ ทูลเกล้าฯถวายเหรียญ ซีเรส เทิดพระเกียรติในฐานะที่ทรงยกฐานะของสตรีให้มีระดับสูงขึ้น และทรงเป็นผู้ “ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง” มหาวิทยาลัยทัฟฟ แห่งรัฐแมสซาซูเซ็ทท์ สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยธรรม ในฐานะที่ทรงยกระดับฐานะ การครองชีพของประชาชน และช่วยบรรเทาทุกข์ของเด็กๆในหมู่ผู้ลี้ภัย สหพันธ์เด็กแห่งนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวายรางวัลบุคคลดีเด่นด้านพิทักษ์เด็ก สถาบันเอเชียโซไซตี้ แห่งกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯถวายรางวัลด้านมนุษยธรรม มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าของโลก สดุดีทิดพระเกียรติในฐานะบุคคลดีเด่นด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ แห่งอังกฤษ ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ซึ่งสถาบันแห่งนี้เคยมอบให้แต่เฉพาะผู้ที่เป็นแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นเป็นที่รู้จักระดับโลกเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยและสถาบันอื่นๆ อีกมากมายที่ทูลเกล้าฯถวายปริญญา และรางวัลประกาศกิตติคุณแด่พระองค์ท่าน
นับ ได้ว่า เป็นบุญของชาติและประชาชนชาวไทย ที่มีสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะแห่งรัตนนารีโดยแท้ พระองค์มิได้ทรงเป็น พระบรมราชินีที่มีพระสิริโฉมเป็นเลิศเท่านั้น หากแต่ยังทรงพระปรีชาเชี่ยวชาญ ในกิจการต่างๆ ซึ่งปรากฏผลเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนโดยตลอด ทรงยึดมั่นในพระบวรพระพุทธศาสนา พระคุณธรรม พระปัญญาคุณ และพระเมตตากรุณาคุณ ซึ่งทรงดำรงไว้มั่นคงตลอดมา เป็นปัจจัยส่งเสริม ให้พระเกียรติคุณขจายขจรไปทั่วในประเทศและนานาประเทศทั่วโลก อาจกล่าวได้ว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ของชาติไทย เป็นพระบรมราชินีที่ทรงได้รับการสรรเสริญ พระเกียรติคุณจากนานาประเทศอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าพระบรมราชินีพระองค์อื่น ใดในโลก
อ้างอิงจาก นิตยสารสกุลไทย
เข้าชม : 3001
|