[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

กลุ่มงานส่งเสริมการเทียบโอน/เทียบระดับการศึกษา
ประกอบด้วย 2 งาน
1.งานส่งเสริมการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบระดับการศึกษา 
2.งานศูนย์ทะเบียนนักศึกษา



เปรียบเทียบการเทียบระดับ/การเรียนแบบพบกลุ่ม/การเรียนแบบทางไกล

             ก. การเทียบระดับแบบเดิม
                1)  รับผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไป  มีอาชีพที่เลี้ยงตนเองหรือครอบครัวได้มาแล้ว 1 ปี ไม่รับพระภิกษุ
                2)  เทียบระดับ ทีละระดับ ( ถึงแม้ด้านประสบการณ์จะสามารถได้คะแนนข้ามระดับได้ แต่ด้านความรู้ฯยังจะต้องลงทะเบียนเทียบระดับตามลำดับขั้นทีละระดับ คือระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย )   ปกติให้ใช้เวลาระดับละ 6 เดือน  แต่ถ้าไม่นับช่วงประชาสัมพันธ์-รับสมัคร ก็ใช้เวลาเพียงระดับละประมาณ 4 เดือน 
ปีหนึ่งผู้ขอเทียบระดับสามารถขอเทียบระดับได้ 2 ครั้ง จึงอาจผ่าน 2 ระดับได้ใน 1 ปี   ใช้เวลาน้อยกว่าการเรียนตามหลักสูตรฯแบบพบกลุ่มหรือแบบทางไกล
                3)  เนื้อหาด้านความรู้ฯ แบ่งเป็น 6 มาตรฐาน หรือ 6 วิชา คะแนนทุกวิชาถัวกันได้ เช่นได้คะแนนภาษาอังกฤษน้อยแต่ได้คะแนนวิชาอื่นมาก
ก็ผ่านได้   ด้านประสบการณ์ เน้นการพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสังคมและชุมชน   ( เนื้อหาจะง่ายกว่าแบบจบ ม.6 ใน 8 เดือน )
                4)  เน้นการไปประเมินเชิงประจักษ์ยังสถานที่ประกอบอาชีพจริง  จึงสมัครเทียบระดับได้เฉพาะสถานศึกษาที่เป็นเขตที่ตั้งของสถานที่ประกอบ อาชีพ
                5)  มีพี่เลี้ยงอย่างไม่เป็นทางการ มีการเตรียมความพร้อมก่อนสอบบ้าง แต่ไม่มีการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการ
                6)  วุฒิที่ได้ เท่ากับจบในระบบ แต่ไม่มีเกรด จึงนำไปเรียนต่อในระบบแอดมิชชั่นไม่ได้  เรียนต่อมหาวิทยาลัยปิดได้ในบางหลักสูตรที่ไม่มีการแข่งขันหรือคัดเลือกโดย พิจารณาเกรดประกอบ  แต่เรียนต่อมหาวิทยาลัยเปิด ( มสธ. ม.รามฯ ) ได้
                7)  ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท  ( มีงบประมาณสมทบหัวละ 1,500 บาท  รวมเป็น 3,000 บาท )
                สรุป  รูปแบบนี้เหมาะสำหรับ ผู้ใหญ่ ที่มีการพัฒนาอาชีพ มีการพัฒนาสังคมและชุมชน  มีความรู้ในแต่ละระดับอยู่แล้ว  ต้องการวุฒิการศึกษาโดยเร็ว ไม่เน้นเรียนต่อในมหาวิทยาลัยปิด   ข้อดีคือได้วุฒิเร็ว ข้อเสียคือต้องเสียค่าลงทะเบียน 1,500 บาท   ( การเทียบระดับประถม ต้องเลือกรูปแบบนี้  ผู้ที่มีวุฒิ ม.ต้นแล้ว ก็ควรเลือกเทียบระดับ ม.ปลาย รูปแบบนี้ )


             ข. การเทียบระดับแบบจบ ม.6 ใน 8 เดือน  ( ใช้กฎหมายการเทียบระดับฯฉบับเดียวกับการเทียบระดับแบบเดิม )  หมายเหตุ ยังไม่ประกาศใช้
                1)  รับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป  มีอาชีพที่เลี้ยงตนเองหรือครอบครัวได้มาแล้ว 3 ปี รับพระภิกษุสามเณรด้วย
                2)  ไม่รับเทียบระดับประถม แต่รับผู้ที่มีวุฒิ ป.6 มาเทียบข้ามระดับให้ได้ ม.ปลายเลย   ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน แต่ถ้ายังผ่านไม่ครบ 9 วิชา ก็สะสมวิชาที่ผ่านแล้วไว้ได้ 5 ปี บางคนอาจต้องใช้เวลาถึง 5 ปี จึงผ่านครบ 9 วิชา จึงได้วุฒิ ม.ปลาย
                3)  เนื้อหาแบ่งเป็น 9 วิชา  ต้องผ่านทุกวิชา คะแนนถัวกันไม่ได้  ทั้งวิชาภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  วิจัย  ฯลฯ  ต้องได้คะแนน 60 % ขึ้นไปทุกวิชา   ( เนื้อหารวม จะยากกว่าเทียบระดับแบบเดิม )   ใช้เวลาน้อยกว่าการเรียนตามหลักสูตรฯแบบพบกลุ่มหรือแบบทางไกล
                4)  ไม่ประเมินด้านประสบการณ์  สามารถไปสมัครเทียบระดับที่ใดก็ได้ทั่วประเทศ
                5)  มีสื่อ ( หนังสือ ) และครูที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการ มีการติว การเรียนการสอนเป็นทางการ
                6)  วุฒิที่ได้ เท่ากับจบในระบบ แต่ไม่มีเกรด จึงนำไปเรียนต่อในระบบแอดมิชชั่นไม่ได้  เรียนต่อมหาวิทยาลัยปิดได้ในบางหลักสูตรที่ไม่มีการแข่งขันหรือคัดเลือกโดย พิจารณาเกรดประกอบ  แต่เรียนต่อมหาวิทยาลัยเปิด ( มสธ. ม.รามฯ ) ได้
                7)  ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท  ( มีเงินงบประมาณปี 2556 สมทบหัวละ 3,000 บาท  รวมเป็น 4,500 บาท )
                สรุป  รูปแบบนี้เหมาะสำหรับ ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ประกอบอาชีพแล้ว 3 ปีขึ้นไป  มีความรู้ในระดับ ม.ปลายอยู่แล้ว หรือมีความสามารถที่จะเรียนรู้ในระยะเวลาสั้น  ต้องการวุฒิการศึกษาโดยเร็ว ไม่เน้นเรียนต่อในมหาวิทยาลัยปิด   ข้อดีคือได้วุฒิเร็ว เข้าร่วมกระบวนการรอบเดียวข้ามระดับ ม.ต้น ได้ ม.ปลายเลย  ข้อเสียคือเนื้อหายากที่จะผ่านครบ 9 วิชา และต้องเสียค่าลงทะเบียน 1,500 บาท


             ค. การเรียนตามหลักสูตรฯ แบบพบกลุ่ม
                1)  รับผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่อายุต่ำกว่าแต่มีความจำเป็นไม่สามารถเรียนในระบบได้  ไม่ต้องมีอาชีพ
                2)  ให้เรียนตามลำดับขั้น ทีละระดับ คือระดับ ประถม ม.ต้น ม.ปลาย
                3)  เนื้อหาแบ่งเป็นหลายรายวิชา คล้ายในระบบโรงเรียน ปกติจะใช้เวลา 2 ปี มากกว่าการเทียบระดับ  แต่ปัจจุบันปรับให้สามารถเรียนจบในแต่ละระดับได้ภายใน 1 ปี ( 2 ภาคเรียน ) ด้วยการเน้นให้เทียบโอนความรู้เพื่อไม่ต้องเรียนในบางรายวิชา และ เพิ่มจำนวนหน่วยกิตในการเรียนแต่ละภาคเรียนให้มากขึ้น
                4)  ต้องผ่านเงื่อนไขต่าง ๆ เช่นทำกิจกรรม กพช.   สามารถสมัครเรียนที่ใดก็ได้
                5)  มีสื่อ ( หนังสือ ) และครูประจำกลุ่มอย่างเป็นทางการ มีการพบกลุ่ม สอนเสริม   ถึงแม้อาจจะใช้เวลามากกว่าการเทียบระดับแต่มีโอกาสเรียนจบมากกว่า เพราะมีคะแนนระหว่างภาคเป็นคะแนนช่วย
                6)  วุฒิที่ได้ เท่ากับจบในระบบ และมีเกรด จึงนำไปเรียนต่อในระบบแอดมิชชั่น และเรียนต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ 
                7)  เรียนฟรี  ( มีเงินงบประมาณอุดหนุนรายหัว )
                สรุป  รูปแบบนี้เหมาะสำหรับ ผู้ที่อายุไม่มาก มีอาชีพหรือไม่มีอาชีพก็ได้  ยังไม่มีความรู้ในแต่ละระดับ ศึกษาด้วยตนเองไม่ค่อยเข้าใจ มีเวลาพบกลุ่ม ต้องการความรู้และโอกาสเรียนจบมากกว่าการเทียบระดับ ไม่ถนัดการเรียนทางไกล การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต  อาจเรียนต่อในมหาวิทยาลัยปิด   ข้อดีคือมีโอกาสเรียนจบมาก เรียนฟรี  ข้อเสียคือใช้เวลามากกว่าแบบเทียบระดับ มีขั้นตอนมากเช่นต้องทำกิจกรรม กพช. มีหลายรายวิชา ยุ่งยากในการประเมินผลหลายรายวิชา


             ง. การเรียนตามหลักสูตรฯ แบบทางไกล ของสถาบันการศึกษาทางไกล  ( หลักสูตรเดียวกันกับแบบพบกลุ่ม )
                1)  รับผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่อายุต่ำกว่าแต่มีความจำเป็นไม่สามารถเรียนในระบบได้  มีอาชีพหรือไม่มีอาชีพก็ได้
                2)  รูปแบบนี้ในประเทศไม่รับระดับประถม   ให้เรียนตามลำดับขั้น ทีละระดับ คือระดับ ม.ต้น ม.ปลาย
                3)  เนื้อหาแบ่งเป็นหลายรายวิชาคล้ายในระบบโรงเรียน ปกติจะใช้เวลา 2 ปี มากกว่าการเทียบระดับ  แต่ปัจจุบันปรับให้สามารถเรียนจบในแต่ละระดับได้ภายใน 1 ปี ( 2 ภาคเรียน ) ด้วยการเน้นให้เทียบโอนความรู้เพื่อไม่ต้องเรียนในบางรายวิชา และ เพิ่มจำนวนหน่วยกิตในการเรียนแต่ละภาคให้มากขึ้น
                4)  ต้องผ่านเงื่อนไขต่าง ๆ   แต่สถาบันการศึกษาทางไกลพัฒนาแต่ละเงื่อนไขให้สะดวก เช่น การเทียบโอนผลการเรียนจากการประเมินความรู้และประสบการณ์ ใช้วิธีทดสอบเพียงอย่างเดียว  การทำกิจกรรม กพช.มีความชัดเจน  การเก็บคะแนนระหว่างภาคใช้วิธีให้สอบแบบอัตนัยที่บ้านเพียงอย่างเดียว   จนสะดวกและง่ายกว่าการเรียนแบบพบกลุ่มเสียอีก
                5)  มีสื่อผสมที่ละเอียด เพื่อการศึกษาด้วยตนเอง และมีครูประจำวิชาอย่างเป็นทางการ ไม่ต้องพบกลุ่ม จะเข้ารับการสอนเสริมหรือไม่ก็ได้   ถึงแม้อาจจะใช้เวลามากกว่าการเทียบระดับแต่มีโอกาสเรียนจบมากกว่า เพราะมีคะแนนระหว่างภาคเป็นคะแนนช่วย  ( มีวิชาบังคับเลือก ที่เหมาะสำหรับการศึกษาต่อ )
                6)  วุฒิที่ได้ เท่ากับจบในระบบ และมีเกรด จึงนำไปเรียนต่อในระบบแอดมิชชั่น และเรียนต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้ 
                7)  เรียนฟรี  ( มีเงินงบประมาณอุดหนุนรายหัว )
                สรุป  รูปแบบนี้เหมาะสำหรับ ผู้ที่อายุไม่มาก ศึกษาด้วยตนเองได้  ต้องการไปเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น มีอาชีพหรือไม่มีอาชีพก็ได้  ยังไม่มีความรู้ในแต่ละระดับ ไม่มีเวลาพบกลุ่ม ต้องการความรู้และโอกาสเรียนจบมากกว่าการเทียบระดับ  ถนัดการเรียนทางไกล การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต   ข้อดีคือมีโอกาสเรียนจบมาก เรียนฟรี สะดวกในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ข้อเสียคือใช้เวลามากกว่าแบบเทียบระดับ ต้องมีวินัยในตนเอง รับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเอง



เข้าชม : 11284
 
กลุ่มส่งเสริมการศึกษานอกระบบ  สำนักงาน กศน.จังหวัดชัยภูมิ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000
โทร 044 821330  E_mail : 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin