ถาม : การเทียบโอนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ผลที่ได้คือ ผ่าน แต่ที่ทำงานให้ผลการเรียนเป็นตัวเลข ผิดหรือเปล่า หรือว่ามีวิธีการเทียบให้เป็นตัวเลขด้วย ถ้าผิดควรทำอย่างไร ตอบ การเทียบโอนมี 5 วิธี คือ 1) เทียบโอนจาก กศ.ขั้นพื้นฐาน ผลการเทียบโอนเป็นเกรด 8 ระดับ ยกเว้นการเทียบโอนระดับ ป.4 ผลการเทียบโอนเป็น ผ่าน 2) เทียบโอนจาก กศ.ต่อเนื่อง ผลการเทียบโอนเป็น ผ่าน 3) เทียบโอนจากหลักสูตรต่างประเทศ ผลการเทียบโอนเป็น ผ่าน 4) เทียบโอนจากกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ผลการเทียบโอนเป็น ผ่าน 5) เทียบโอนจากการประเมินความรู้และประสบการณ์ ผลการเทียบโอนเป็น เกรด 8 ระดับ สรุป มีเฉพาะการเทียบโอนจาก กศ.ขั้นพื้นฐานที่สูงกว่า ป.4 กับการเทียบโอนจากการประเมินความรู้และประสบการณ์ เท่านั้น ที่ผลการเทียบโอนเป็นเกรด 8 ระดับ ถ้าเทียบโอนจากกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ต้องแก้ผลเป็น ผ่าน
ถาม : นักศึกษาลาออกจาก กศน.อ.นครหลวง เกิน 5 ปีแล้ว ในใบ รบ.ระบุว่า “ศึกษาต่อที่อื่น” แต่เพิ่งจะไปขอศึกษาต่อที่ กศน..บางปะหัน จะต่อได้หรือไม่ ตอบ ถ้ายังอยู่ที่เดิม เรียนไม่จบใน 5 ปี วิชาที่ได้ผลการเรียนเกิน 5 ปีแล้วต้องเรียนใหม่ แต่กรณีนี้จะเป็นการมาเทียบโอนเข้าเรียนหลักสูตรใหม่ โดยเขาขอใบ รบ. ออกมาแล้ว จะหยุดนับอายุวิชาตั้งแต่ออกใบ รบ. ( อาจจะฟังดูขัด ๆ นะ ) เมื่อมาเทียบโอนเข้าเรียนหลักสูตรใหม่ ก็สามารถเทียบโอนได้ตามหลักการเทียบโอน ซึ่งตามหนังสือ “แนวทางการเทียบโอนผลการเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551” หน้า 5 ข้อ 5 กำหนดว่า การเทียบโอนจาก กศ.ขั้นพื้นฐาน ไม่กำหนดอายุของผลการเรียนที่นำมาเทียบโอน ถ้าเป็นการเทียบโอนจากการศึกษาต่อเนื่อง จึงให้สถานศึกษาพิจารณาว่าจะกำหนดอายุของผลการเรียนรู้ที่นำมาเทียบโอนไม่ ให้เกินกี่ปีหรือไม่
ถาม : นักศึกษาที่เข้าสอบ n-net ไม่ครบทุกวิชาสามารถจบหลักสูตรได้ไหม ตอบ ต้องเข้าสอบทั้ง 2 ฉบับ ถ้าเข้าสอบฉบับเดียวยังไม่จบหลักสูตร ต้องสอบเพิ่มเฉพาะฉบับที่ยังไม่ได้เข้าสอบ (ขยายเวลาการสอบ e-Exam ถึงวันที่ 30 ธ.ค.55 )
ถาม : นักศึกษาลงทะเบียนเรียนตั้งแต่ภาค 2/55 นี้เป็นต้นไป ทั้งจังหวัดจะใช้แผนการเรียนหลักเดียวกัน โดยตลอดหลักสูตรมีจำนวนวิชา ดังนี้ ตอบ 1) ระดับประถมฯ วิชาบังคับ 14 วิชา วิชาเลือก 5 วิชา เท่านั้น 2) ระดับ ม.ต้น วิชาบังคับ 14 วิชา วิชาเลือก 6 วิชา 3) ระดับ ม.ปลาย วิชาบังคับ 14 วิชา วิชาเลือก 12 วิชา ถึงแม้เนื้อหาสาระจะเท่าเดิม แต่แค่ลดจำนวนวิชาลงก็สะดวกขึ้นเยอะ ไม่ต้องสอบมาก นักศึกษาไม่ต้องจำชื่อวิชามาก ครูก็ไม่ต้องทำสมุด กศน.4 มากหลายเล่ม จัดวิชาเลือกลงตารางสอบปลายภาควันเดียวกับวิชาบังคับได้ง่าย ๆ
ถาม : การลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาภาคเรียนที่ 2/2555 ระดับ ม.ต้น ตามหนังสือลับเฉพาะ ที่ ศธ 0210.03/1391 เรื่องปรับแก้ไขคู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 2551 สามารถลงเรียนได้ 17 หน่วยกิตต่อภาคเรียน
ตอบ หนังสือราชการประเทศไทย ไม่มีหนังสือ “ลับเฉพาะ” นะ หนังสือที่ ศธ 0210.03/1391 มีเนื้อหาดังนี้ ถ้าเป็นนักศึกษาที่เทียบโอนผลการเรียนหรือเคยสอบไม่ผ่าน ได้เกรด 0 ภาคเรียนสุดท้ายก็ยังสามารถเรียนมากกว่าที่กำหนดได้อีก 3 หน่วยกิต เป็น 20 หน่วยกิต ( ม.ต้น ) เพื่อให้จบพร้อมเพื่อนรุ่นเดียวกันได้ ตามข้อ 2. ในหนังสือสำนักงาน กศน. ด่วนมาก ที่ ศธ 0210.03/3805 ลงวันที่ 26 ต.ค.53 ( ดูหนังสือนี้ได้ในข้อ 2.2 ที่
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/407914 ) หนังสือฉบับนี้ยังมีผลใช้อยู่ เพราะ 1) ในข้อ 2. ของหนังสือฉบับนี้ ไม่ได้ระบุว่าใช้เฉพาะภาคใดภาคเดียว ฉะนั้น ถ้ายังไม่มีหนังสือระเบียบหลักเกณฑ์ฉบับใหม่กว่า ที่กำหนดเป็นอย่างอื่น ก็ยังใช้ได้ต่อไป 2) นโยบาย รมว. ต้องการให้เรียบจบเร็ว ใน 8 เดือน 12 เดือน ด้วยซ้ำ 3) เพื่อความแน่ใจ วันที่ 26 ต.ค.55 ผมถามเรื่องนี้กับกลุ่มพัฒนา กศน.อีกครั้ง กลุ่มพัฒนาฯโดยคุณกิตติพงษ์ ตอบว่า เรื่องนี้ยังมีผลใช้อยู่
ถาม : ถ้านักศึกษาที่เรียนจบไปแล้วแต่ไม่มารับใบวุฒิการศึกษา ภายใน 6 ภาคเรียนหลังจากที่จบการศึกษา จะถือว่าใบวุฒิการศึกษานั้นเป็นโมฆะ หรือไม่จบในระดับการศึกษานั้น หรือปล่าว ตอบ ถ้าเป็นหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับ กศ.ขั้นพื้นฐาน พ.ศ.51 ให้อ้างอิงจาก "คู่มือการดำเนินงานฯ" เล่มปกสีเหลือง ในชุด 9 เล่ม ที่แจกให้ครูทุกคนตอนอบรมหลักสูตรใหม่ ในหน้า 68 ข้อ 2.4 คือ 1) ในกรณีที่ผู้เรียนไม่สามารถลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนใด จะต้องลงทะเบียนรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา หากไม่ลงทะเบียนรักษาสภาพเกิน 6 ภาคเรียนติดต่อกัน จะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้เรียนใหม่ 2) รายวิชาที่ผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน สามารถเก็บผลการเรียนสะสมได้ 5 ปี นับจากวันอนุมัติผลการเรียน ( ถ้าเรียนไม่จบภายใน 5 ปี ต้องเรียนใหม่เฉพาะรายวิชาที่เกิน 5 ปี ) ทั้ง 2 ข้อนี้ หมายถึงกรณีที่ยังเรียนไม่จบ แต่ถ้ากรณีอนุมัติให้จบหลักสูตรแล้ว จะมารับใบวุฒิการศึกษาเมื่อไรก็ได้
ถาม : ในหลักเกณฑ์การเทียบโอนฯ ไม่มีแนวทางการเทียบโอนจากหลักสูตรในระบบโรงเรียนก่อน 2544 อยากจะทราบว่า เราใช้แนวทางเทียบโอนเข้าสู่หลักเกณฑ์และวิธีการการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ได้ไหม ตอบ การเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตร 2551 ถ้าหลักสูตรที่นำมาเทียบโอน ไม่มีใน "แนวทางการเทียบโอนฯ" ให้ใช้หลักการว่า ถ้าเนื้อหาวิชาสอดคล้องกันไม่น้อยกว่า 60 % ก็ให้เทียบโอนได้ โดยหน่วยกิตที่เทียบโอนได้ต้องไม่มากกว่าหน่วยกิตที่นำมาเทียบโอน และวิชาที่นำมาเทียบโอนต้องได้เกรด 1 ขึ้นไป ฯลฯ
ถาม : เรื่องปรับเกณฑ์การสอบปลายภาคตามประกาศฉบับใหม่
ตอบ 1) เฉพาะวิชาบังคับ สอบปลายภาคต้องได้คะแนน 30 % ( 12 คะแนนจาก 40 คะแนน ) ส่วนวิชาเลือกยังเหมือนเดิมคือไม่กำหนดเกณฑ์การตัดสินคะแนนปลายภาค ( แต่โปรแกรม ITw ยังกำหนดเกณฑ์การตัดสินคะแนนปลายภาคเฉพาะวิชาบังคับอย่างเดียว ไม่ได้ คุณสุขุม ศรีวิไลฤทธิ์ ผู้พัฒนาโปรแกรม กำลังแก้ไขโปรแกรม ถ้าได้คะแนนไม่ถึง 30 % ต้องจัดเข้ารับการประเมินซ่อม เช่น การทดสอบ การให้ทำรายงาน การทำแฟ้มสะสมงาน การเข้าร่วมกิจกรรม หรืออื่นๆตามที่สถานศึกษากำหนด ให้เสร็จสิ้นก่อนปิดการลงทะเบียนในภาคเรียนถัดไป และให้เกรดไม่เกิน 1 ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินซ่อมคือผู้ที่เข้าสอบปลายภาคเรียนแต่ไม่ผ่าน เกณฑ์ ถ้ าประเมินซ่อมแล้วไม่ผ่านเกณฑ์อีก และเป็นวิชาบังคับให้ลงทะเบียนเรียนซ้ำในวิชานั้น ถ้าเป็นวิชาเลือกจะลงทะเบียนเรียนซ้ำในวิชานั้นหรือเรียนวิชาอื่นแทนก็ได้ ) 2) ต้องมาพบกลุ่มหรือพบครู ( ยกเว้นนักศึกษาของสถาบันการศึกษาทางไกล ) - ถ้ามา 75 % ต้องให้สอบปลายภาค - ถ้ามา 50-75 % ให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผอ.กศน.อ. ว่าจะให้สอบปลายภาคหรือไม่ - ถ้ามาไม่ถึง 50 % ต้องไม่ให้สอบปลายภาค ไม่ให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผอ. ถ้าไม่สอบปลายภาค หรือไม่ให้สอบปลายภาค ให้เกรดเป็น "0" ไม่ให้ประเมินซ่อม ครู กศน.เขตหนองแขม ถามว่า ให้เกรดเป็น 0 แสดงว่าไม่มี มส.อีกต่อไปใช่ไหม ผมตอบว่า มส. คือไม่มีสิทธิสอบ จะได้เกรด 0 หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า มส.คือเกรด แต่ที่จริงไม่ใช่นะ มส. ไม่ใช่เกรด ถ้า ไม่มีสิทธิสอบ ( มส. ) ก็ให้เกรดเป็น 0 เกรดจะมี 8 เกรด 0-4 เท่านั้น ( ใส่ มส. ในช่องคะแนนปลายภาค ส่วนในช่องเกรดจะเป็น 0 ) คุณ Kannigar Insai ให้ผมช่วยตีความ มาพบกลุ่ม....% อยากถามว่า % ของอะไร ถ้าครั้ง ยอด100 % เต็มเท่ากับกี่ครั้ง. ถ้าชั่วโมง 100 % เต็มเท่ากับกี่ชั่วโมง จะได้กำหนดให้เขียนแผนที่ชัดเจน และลงสมุดประเมินผลได้ถูกต้อง ผมตอบว่า "วิธีเรียน" หลักสูตรใหม่ มีวิธีเดียวคือ "วิธีเรียน กศน." ( ในโปรแกรม ITw หลักสูตรใหม่ ไม่มีให้ระบุวิธีเรียน ต่างกับโปรแกรมหลักสูตรเก่า ) แต่..สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลาย "รูปแบบ" เช่น การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม ระเบียบหลักเกณฑ์ที่ใช้อ้างอิงคือ 1) การปิดเปิดภาคเรียน ในคู่มือการดำเนินงานหน้า 62 - ภาคเรียนที่ 1 เปิดภาคเรียน 16 พ.ค. ปิดภาคเรียน 11 ต.ค. - ภาคเรียนที่ 2 เปิดภาคเรียน 1 พ.ย. ปิดภาคเรียน 1 เม.ย. ( รวมภาคเรียนละ 21 สัปดาห์ ) 2) หนังสือ สนง.กศน. ที่ ศธ 0210.03/1391 ลงวันที่ 12 เม.ย.2555 ข้อ 2. กำหนดว่าการเรียนรู้แบบพบกลุ่มให้มีการเพิ่มระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เป็น 6 ชั่วโมง ในแต่ละภาคเรียน มีเวลาจัดการเรียนรู้ 18 สัปดาห์ ( ไม่นับการสอบและอื่นๆ ) สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง รวม 108 ชั่วโมง ฉะนั้น จำนวนเต็ม 100 % คือ 108 ชั่วโมง จำนวน 50 % คือ 54 ชั่วโมง จำนวน 75 % คือ 81 ชั่วโมง
ถาม : รายวิชาเลือก ม.ปลาย สำหรับเรียนต่อสายสาธารณะสุข พยาบาล แพทย์ หรือ สายวิทย์อื่น ๆ มีวิชาใดบ้าง ตอบ - พว 33060 ชีวน่ารู้ (3 หน่วยกิต) - พว 33061 มหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิต (2 หน่วยกิต) - พว 33062 วิ วัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (4 หน่วยกิต) - พว 33063 ท่องโลกเคมี (3 หน่วยกิต) - พว 33064 เคมีในชีวิตประจำวัน (3 หน่วยกิต) - พว 33065 พลังงานสู่การเรียนรู้ (4 หน่วยกิต)
สนใจ เข้าไปดูข้อมูลแต่ละรายวิชา ไดที่ http://203.172.142.230/nfe_reserve/backend/index.php
- คลิกที่ Login (ถ้าจะดูข้อมูลเฉย ๆ ไม่ต้องใส่ user id และ password ก็ได้ ) - เข้าไปแล้ว ชี้ที่ "ระบบค้นหาข้อมูล" คลิกที่ "ระบบค้นหาข้อมูลหลักสูตรวิชาเลือก" - จากนั้น คลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้า "สาระการเรียนรู้" เลือก "วิทยาศาสตร์", คลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้า "ประเภทรายวิชา" เลือก "รายวิชาเลือกที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้น", คลิกให้มีเครื่องหมายถูกหน้า "ระดับการศึกษา" เลือก "ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย" เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม "ค้นหา" - ถ้าจะดูข้อมูลย่อของรายวิชาใด คลิกที่ปุ่ม View ถ้าจะดูคำอธิบายรายวิชาและรายละเอียดคำอธิบายรายวิชา คลิกที่ปุ่มเปิดไฟล์
ถาม : หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนครบหลักสูตรในภาคเรียนสุดท้ายที่หลักสูตรจะถูกโมฆะพอดี สอบเสร็จ ปรากฏว่าสอบผ่าน กิจกรรม กพช. ครบ 100 ชั่วโมงพอดี แต่ส่งหลักฐานล่าช้า เจ้าหน้าที่ทะเบียนไม่ได้ส่งรายชื่อขึ้นสำนักเรื่องการจบ มาติดต่อขอวุฒิ เจ้าหน้าที่บอกว่าออกให้ไม่ได้ จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ตอบ นักศึกษาที่จบในภาคเรียนสุดท้ายก่อนเลิกให้เรียนหลักสูตรเก่านี้ มีคนนี้คนเดียวหรือ ถ้ามีหลายคนแล้วคนอื่น ๆ มีปัญหาไหม ที่ว่า "ส่งหลักฐานล่าช้า" ใครส่งหลักฐานอะไรล่าช้า นักศึกษาส่งล่าช้า หรือว่าอำเภอส่งล่าช้าหรือว่า ทำ กพช.ครบหลังสอบปลายภาค 1) ถ้านักศึกษาส่งหลักฐานขอจบช้า แล้วบาง กศน.อำเภอ บอกว่ายังไม่ส่งหลักฐานขอจบก็ยังไม่ให้จบ อย่างนี้ไม่ถูกต้อง เป็นความไม่เข้าใจของ กศน.อำเภอ เพราะการ "ขอจบ" ไม่ใช่เงื่อนไขการจบหลักสูตร เงื่อนไขการจบหลักสูตร 44 มีเพียง 4 ข้อ ( 1.เรียนผ่านหมวดวิชาครบหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตร 2.ผ่าน กพช.ตามเกณฑ์ 3.ผ่านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ 4.ผ่านการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนตามเกณฑ์ ) ถ้าครบเงื่อนไข 4 ข้อนี้ นักศึกษาจะมาส่งหลักฐานขอจบหรือไม่ ก็ถือว่าจบแล้ว 2) ถ้าทำ กพช.ครบหลังสอบปลายภาคแต่ยังอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน ยังไม่เปิดภาคเรียนถัดไป ก็ยังถือว่าจบในภาคเรียนสุดท้ายนั้น แต่ถ้าเปิดภาคเรียนใหม่ 1/55 แล้วยังทำ กพช.ไม่ครบ จึงจะถือว่าไม่จบ ต้องเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตร 2551 3) ถ้าเป็นเรื่องที่ จนท.ทะเบียนไม่ได้ส่งรายชื่อรายงานผู้จบหลักสูตร จะให้นักศึกษารับผิดชอบได้อย่างไร ถ้านักศึกษาครบเงื่อนไข 4 ข้อ ก็ต้องให้เขาจบ มิฉะนั้น นศ.ฟ้องร้องได้ 4) เรื่องการรายงาน GPAX ของผู้จบไปตามลำดับถึงกลุ่มแผนงานฯนั้น เป็นเรื่องของ ม.ปลาย ไม่เกี่ยวกับ ม.ต้น แต่ถึงจะเป็น ม.ปลาย ถ้าจบหลังรายงานไปแล้ว ก็นำไปรายงานในภาคเรียนต่อไปได้ 5) ถึงจะจบไม่พร้อมรุ่น ก็รายงานผู้จบหลักสูตรไปจังหวัดได้ รายงานช้าเป็นปีก็ยังดีกว่าไม่รายงาน ( ทำรายงานผู้จบหลักสูตรโดยไม่ต้องรอให้ นศ.มาขอจบ ) ถึงจะเป็นหลักสูตรเก่า ถ้าเขาครบเงื่อนไข 4 ข้อ จบหลักสูตรแล้ว แม้อีกสิบปีข้างหน้าเขามาขอใบวุฒิ ก็ต้องออกให้เขา
ถาม : แผนการสอนแบบบูรณาการคืออะไร
ตอบ คือการนำเนื้อหาของวิชาต่างๆที่นักศึกษากลุ่มนั้น ระดับนั้น ลงทะเบียนเรียนเหมือนกัน มารวมกัน ( บูรณาการ) ให้เป็นเรื่องๆ ( หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ ) ใน 1 หน่วย มีหลายวิชาผสมกันอยู่ เพื่อจะได้ไม่ต้องแยกพบกลุ่มหลายรายวิชา ( ถ้าแต่ละอำเภอ แต่ละกลุ่ม เปิดวิชาต่างกัน ก็จะใช้แผนการสอนแบบบูรณาการด้วยกันไม่ได้) เช่น กลุ่ม ก. ภาค 2/55 มีวิชาระดับ ม.ต้น 5 วิชา คือ วิชา A B C D E ก็บูรณาการ 5 วิชานี้ แต่ กลุ่ม ข. มี 6 วิชาคือ A C D F G H ถ้านำแผนการสอนแบบบูรณาการของ กลุ่ม ก. ไปใช่ในกลุ่ม ข. ก็จะเกินในบางวิชา ขาดในบางวิชา เรื่องแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการนี้ น่าจะอบรมวิธีการทำแผนการสอนแบบบูรณาการ แล้วให้แต่ละอำเภอหรือแต่ละกลุ่ม ไปจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการเอง อบรมครั้งเดียว กลับไปทำได้ทุกภาคเรียน ( ถ้าอบรมเพื่อทำแผนฯของภาคเรียนนั้นออกมาเลย ก็ต้องอบรมกันทุกภาคเรียน ) จ.พระนครศรีอยุธยา เคยรวมกันทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการอย่างนี้ไม่ต่ำกว่า 2 ภาคเรียนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแผนการสอนแบบบูรณาการ หรือแผนการสอนแบบรายวิชา ต่างก็มีข้อดีข้อเสีย ข้อเสียของแผนการสอนแบบบูรณาการคือ 1) อาจมีบางเนื้อหาที่ควรนำมาพบกลุ่ม ( ยากง่ายปานกลาง ) แต่ไม่สามารถนำมาบูรณาการลงไปในหน่วยการเรียนรู้ใด อาจต้องแยกเนื้อหานั้นไปพบกลุ่มต่างหากอีกเพื่อให้ได้พบกลุ่มในเนื้อหานั้น 2) การบูรณาการ ไม่ได้ทำให้เนื้อหาที่ควรพบกลุ่ม ลดลง ( นอกจากจะทำใจว่า พบกลุ่มเฉพาะหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ทำได้นี่แหละ เนื้อหาอื่นให้นักศึกษาเรียนด้วยตนเอง ซึ่งถ้าทำใจได้แบบนี้ การพบกลุ่มเป็นรายวิชาก็ย่อมทำใจพบกลุ่มเฉพาะบางเรื่องบางรายวิชาได้เช่นกัน ) 3) การบูรณาการรวมทั้งจังหวัด จะต้องเลือกเนื้อหาที่ยากง่ายปานกลางมาบูรณาการโดยครู ขัดกับหลักการที่ให้นักศึกษาร่วมวิเคราะห์เนื้อหาว่าเนื้อหาไหนควรพบกลุ่ม 4) การพบกลุ่มตามหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ ยากที่จะเน้นย้ำให้สอดคล้องกับการสอบปลายภาคที่ยังแยกสอบเป็นรายวิชา 5) ตามหลักการแล้วการเรียนรู้แบบบูรณาการเหมาะกับระดับประถม ยิ่งเรียนสูงขึ้นยิ่งควรแยกเรียนให้ลึกซึ้งลงไปในแต่ละด้าน จะเห็นว่า ระดับอนุปริญญา จะเหลือวิชาเอก กับวิชาโทอีก 2 วิชา พอถึงระดับปริญญาตรี วิชาโทจะเหลือวิชาเดียว พอระดับปริญญาโทไม่มีวิชาโทแล้ว พอถึงระดับปริญญาเอก แม้แต่วิชาเอกก็เป็นเพียงวิชาเล็ก ๆ แคบ ๆ แต่เรียนให้ลึกซึ้งในเรื่องนั้น ๆ 6) การบูรณาการให้เป็นหน่วยการเรียนนั้น เสียเวลา (ใช้เวลาภาคเรียนละประมาณ 3-4 วัน)
ถาม : วิชาที่เรียนได้ทั้ง 3 ระดับ ( รหัส 0 ) ถ้าเรียนในระดับ ม.ต้นแล้ว จะเรียนในระดับ ม.ปลาย อีกได้หรือไม่ ( บางคนตอบว่า ได้ ) ตอบ ไม่ได้ วิชาที่รหัสเดียวกัน เนื้อหาก็เหมือนกันเป๊ะ เป็นวิชาเดียวกัน ( ต่างจากวิชาที่ ชื่อวิชาเหมือนหรือคล้ายกัน แต่คนละรหัส จึงจะมีเนื้อหาต่างกันบ้างตามระดับชั้น) ไม่ให้นักศึกษาคนเดียวกันเรียนซ้ำวิชาเดิม แต่ประเด็นนี้ก็มีปัญหา ผมเคยเขียนไว้ในข้อ 1 ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/485792(ขอบคุณครูเอกชัย)
วิชาเลือกบางวิชา เรียนได้ทั้งระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย แต่ไม่ให้เรียนซ้ำ คือถ้าคนเดิมเรียนในระดับประถมแล้ว จะเรียนวิชานั้นในระดับ ม.ต้น ม.ปลาย อีกไม่ได้ ถ้าเรียนซ้ำ โปรแกรม ITw จะเช็คให้ไหม ผมบอกว่าต่างระดับ โปรแกรมจะไม่เช็ค นายทะเบียนต้องเช็คเอง อ.สุพจน์ถามต่อว่า ถ้านักศึกษาเรียนประถมที่แห่งหนึ่ง แล้วย้ายไปเรียน ม.ต้น ม.ปลาย อีกแห่งหนึ่ง จะเช็คยังไง เรื่องนี้ผมเคยถามกลุ่มพัฒนา กศน.แล้วว่า ถ้านักศึกษาย้ายไปเรียน ม.ปลาย อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องนำใบ รบ. ประถม ไปแสดงด้วย แล้วจะเช็คอย่างไร กลุ่มพัฒนายังตอบไม่ได้ครับ อีกเรื่องหนึ่งที่กลุ่มพัฒนา กศน.ยังไม่มีคำตอบคือ ที่หลักสูตรกำหนดให้ “วิชาในแต่ละระดับ ต้องให้นักศึกษาทำโครงงานอย่างน้อย 3 หน่วยกิต” นั้น ปรากฏว่าในระบบทะเบียนไม่มีวิธีการให้บันทึกการทำโครงงานนี้ไว้ตรงไหนเลย ไม่มีการตรวจสอบ ในใบ รบ. ก็ไม่มีข้อมูลนี้ และถ้าย้ายสถานศึกษาระหว่างที่เรียนยังไม่จบ จะรู้กันอย่างไรว่าทำโครงงานหรือยัง กลุ่มพัฒนา กศน.ยังไม่มีคำตอบ ส่งผลให้หลาย ๆ สถานศึกษา ไม่สนใจ ไม่ได้ให้นักศึกษาทำโครงงานเลย อ.สุขุม ศรีวิไลฤทธิ์ ผู้พัฒนาโปรแกรม ITw ถึงปัญหานี้ คุณสุขุมบอกว่า เรื่องโครงงานนั้น ยังไม่มีวิธีทำในระบบโปรแกรม แต่เรื่องห้ามเรียนวิชาเลือกซ้ำถึงแม้จะต่างระดับนั้น คุณสุขุมบอกว่าเพิ่งรู้ระเบียบนี้ จะปรับแก้โปรแกรมในรุ่นต่อไป เพื่อให้เช็คต่างระดับได้ แต่ในกรณีที่ย้ายสถานศึกษา คงต้องรอโปรแกรม ITw ระบบออนไลน์ ที่กำลังพัฒนาโปรแกรมอยู่ ( อนาคตเราจะได้ใช้โปรแกรม ITw ในระบบออนไลน์นะ ) ซึ่งจะช่วยให้สามารถเช็คได้ว่าเรียนวิชาซ้ำหรือไม่ ถึงแม้จะต่างระดับต่างสถานศึกษา