สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเกษตรสมบูรณ์
พระธาตุกุดจอก
|
ตามหลักฐานปรากฏในพงศาวดารลาวว่า ประมาณปีพุทธศักราช ๑๕๗๘ ก่อนที่ชนชาติขอมจะมามีอำนาจ อาณาจักรล้านช้างได้แผ่ขยายอำนาจมาปกครองพื้นที่ภาคอีสานจนถึงเขตเมืองละโว้ (ปัจจุบันคือ เมือง ลพบุรี)ชาวอาณาจักรล้านช้างได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีมาเผยแพร่ และประดิษฐานไว้ จะได้เห็นจากการก่อสร้างองค์พระธาตุกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในท้องที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์พระธาตุกุดจอกเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ และสำคัญต่อชาวอำเภอเกษตรสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง มีอายุประมาณ ๑,๒๐๐ ปี แต่เดิมมีองค์พระธาตุอยู่ ๓ องค์ คือองค์แรกมีความสูงประมาณ ๑๕ เมตรมีลักษณะคล้ายสถูป บนยอดพระธาตุมีเศียรพญานาค ๘ เศียร อยู่รอบทั้ง ๘ ทิศ ปัจจุบันชำรุดพังลงเหลือเพียงเศียรเดียว และมีพระพุทธรูปปางถวายเนตร ประทับยืนทอดพระเนตรไปข้างหน้าด้วยพระอาการสำรวม พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาด้านหน้าพระเพลา โดยพระหัตถ์ขวาซ้อนพระหัตถ์ซ้ายประดิษฐานอยู่ด้านใน สำหรับองค์ที่สองนั้นได้พังลงเหลือเพียงครึ่งเดียว และองค์ที่สามซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังองค์ใหญ่ ได้ถูกพวกกมิจฉาชีพขุดและทำลายเพื่อค้นหาพระหรือวัตถุโบราณ
ประชาชนเรียกชื่อว่า พระธาตุกุดจอก เนื่องจากมีลำห้วยกุดจอกอยู่ใกล้ๆ ทางทิศเหนือเดิมเป็นลำห้วยที่ยาวมีน้ำลึกมาก เป็นที่อยู่ของจระเข้เผือกที่ดุร้ายและฝูงจระเข้เป็นบริวารจำนวนมากในด้านอภินิหารนั้นผู้สูงอายุได้เห็นเหตุการณ์ท่านเล่าว่าหากผู้ใดพูดจาหรือแสดงกิริยาลบหลู่หรือไม่เคารพจะมีอันเป็นไปทันทีเช่น ฝูงจระเข้จะชึ้นมาจากลำห้วยรุมทำร้ายกัดฉีกกินเป็นอาหารบางครั้งเกิดมหัศจรรย์ กล่าวคือ มีลมหมุนพัดแรงคล้ายฝนตก น้ำท่วมบริเวณรอบ ๆ พระธาตุผู้คนจะพยายามหลบหนีตายสักครู่หนึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก็จะหายไป จึงรู้ว่าไม่มีฝนตกและน้ำท่วมทำให้ใครได้รับบาดเจ็บ ในอดีตและปัจจุบัน ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านและบริเวณข้างเคียงศรัทธาเลื่อมใสมาก จะพากันหลั่งไหลมานมัสการพระธาตุกุดจอกจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ทุกปีโดยมีได้นัดหมายกัน สรงน้ำพระธาตุกุดจอกเสร็จแล้ว จึงค่อยสรงน้ำพระพุทธรูป ที่วัดบ้านของตนเอง โดยเฉพาะชาวบ้านยางน้อย ได้จัดงานรักษาขนบธรรมเนียมไว้ทุกปี บางครั้งมีการจัดงานประจำปี ๓ วัน ๓ คืน มีมหรสพสมโภชยิ่งใหญ่มาก
|
ภูคิ้ง
|
มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านโนนหนองไฮตำบลโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีความสูง 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลสูงเป็นอันดับ5ของยอดเขาในภาคอีสานตอนกลางคืนจะมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปีทิศเหนือเป็นหน้าผาสูงชันมีลานหินกว้างยื่นออกมาจากหน้าผา เป็นจุดชมวิวที่สวยงามมากที่สุดสามารถมองเห็นเขื่อนห้วยกุ่ม ภูกระดึง ภูผักขะ ภูนกแซวหากมองลงด้านล่างจะเห็นเป็นทุ่งนาไร่สวนอ่างเก็บน้ำ หมู่บ้านถนนหนทางผสมกลมกลืนกับลำน้ำพรมใส ไหลคดเคี้ยวตามยอดเขาในยามเช้าจะเห็นดวงอาทิตย์ค่อย ๆโผล่พ้นขอบฟ้าตัดกับหน้าผา ตอนเย็นจะเห็นดวงอาทิตย์ค่อย ๆ ลับขอบฟ้าแหลหินเงิบ
จากยอดคิ้งเดินไปทางทิศตะวันตก ตามทางซ้ายเดินเลียบผา ประมาณ 2 กิโลเมตรจะเห็นหินวางซ้อนกันคล้ายเพลิงหมาแหงน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หินเงิบ บริเวณนี้เป็นแหล่งกำเนิดพืชกินแมลง "หม้อข้าวหม้อแกงลิง"
แหลหินจ้อง
จากแหลหินเงิบเดินทางไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตรจะเห็นหินมหัศจรรย์วางซ้อนกันก้อนมหึมา แต่มีจุดตั้งเล็ก ๆ เท่ากำปั้นเท่านั้น ชาวบ้านเรียกว่า หินจ้องหมายถึง ร่มในภาษาอีสาน แหลหินจ้องเป็นลักษณะสวนหินที่สวยงามแปลกตามีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ และบริเวณนี้เป็นแหล่งพันธุ์ไม้สวยงาม เช่น เอื้องหมายนา เอื้องม้าวิ่งยี่โถปนัง กุหลาบขาว และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
น้ำตกห้วยใหญ่
เป็นธารน้ำไหลมาจากยอดภูคิ้งผ่านโขดหินซึ่งเป็นเกาะแก่งตามธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 500 เมตร มีสภาพทางธรรมชาติที่สวยงามและพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญ คือปลาจาด ปลาหลาด ปลากวาง ปลาเขียว
การเดินทางสู่ภูคิ้ง จากอำเภอเกษตรสมบูรณ์ไปบ้านโนนหนองไฮ ตำบลโนนทอง ประมาณ 18 กิโลเมตร จากบ้านโนนหนองไฮ ไปยังทางขึ้นลงภูคิ้ง อีกประมาณ 2 กิโลเมตร รวมเป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร และเดินเข้าสู่ภูคิ้งระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 4 ชั่วโมง
|
พระเจ้าองค์ตื้อ
|
พระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 2.20 เมตร สูง 3.50 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างด้วยอิฐโบกปูนประดิษฐานอยู่บนแท่นก่อด้วยอิฐ ประมาณปี 2501 ชาวบ้านได้สร้างศาลาเป้นที่ประดิษฐาน และได้บูรณะซ่อมแซมองค์พระพุทธรูปขึ้นใหม่หลายแห่งเช่น เศียร พระกรรณด้านขวา และพระหัตด้านซ้าย องค์พระพุทะรูปทาสีทอง ซึ่งแต่เดิมเป็นสีดำ บริเวณทางทิศเหนือมีพระธาตุก่อด้วยอิฐขนาดกว้าง 3.30 เมตร หนา 3.50 เมตรสูงประมาณ 4 เมตร ภายในกลวงมีขนาดกว้าง 1.80 เมตร ลึก 1.70 เมตร มีทางเข้าทางทิศตะวันออกกว้าง 0.60 เมตร ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรมมากองค์พระธาตุพังทลายเหลือประมาณครึ่งหนึ่ง
|
ภูกุ้มข้าว
|
ภูกุ้มข้าวเป้นภูเขาขนาดไม่ใหญ่โตนัก มีความสูงประมาณ 405 เมตร จากระดับน้ำทะเลมีลักษณะคล้ายฟ่อนข้าวที่ชาวนานำมากองรวมกันไว้เพื่อเตรียมไว้นวดเป็นข้าวเปลือก (ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า กุ้มข้าว ) บนยอดเขามีพระพุทธรูปจำนวนมากมีแท่งไม้แกะสลักคล้ายศิลปะลาว ที่บริเวณยอดเขามีหลุมขนาดเส้นฝ่านศูน์กลาง 5 เมตร ลึกประมาณ 2เมตร มีตำนานเล่าว่าสมัยเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ คิดขบฏต่อกรุงเทพฯ หมู่บ้านค่าง ๆ เขตพื้นที่แถบนั้น (อ.เกษตรสมบูรณ์ปัจจุบัน) เกิดไม่ไว้วางใจในสถานการณ์บ้านเมืองราษฎรจึงได้พร้อมใจกันนำพระพุทะรูปต่าง ๆ จากพระธาตุกุดจอกขึ้นมาซุกซ่อนไว้ที่ยอดภูกุ้มข้าว และถึงเดือนห้าของทุกปี ชาวบ้านจะขึ้นไปร่วมกันทำบุญ สืบทอดถึงปัจจุบัน เรียกว่า สงกรานต์ภูกุ้มข้าว
|
พระไกรสิงหนาท
|
ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) เมืองเกษตรสมบูรณ์มีเจ้าเมืองปกครองชื่อหลวงไกรสิงหนาท ครั้นต่อมามีความดีความชอบได้รับเลื่อนชั้นบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น กระไกรสิงหนาท (คนที่ 1) ท่านไม่มีบุตรสืบสกุลจึงได้ทำใบบอก(รายงาน) ไปยังกรุงรัตนโกสินทร์ ขอแต่งตั้งนายฦๅชา ผู้เป็นหลานขึ้นเป็นเจ้าเมืองเกษตรสมบูรณ์แทนได้มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงไกรสิงหนาท และต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระไกรสิงหนาท (คนที่ 2) ท่านมีบุตรชายสามคนคือ นายบุญมา นายบุญคงและนายบุญจันทร์ และต่อมาท่านได้ทำรายงานไปกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อขอแต่งตั้งนายบุญมา บุตรชายคนที่ 1 ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเกษตรสมบูรณ์แทน ได้รับบรรดาศํกดิ์เป็นพระไกรสิงหนาท (คนที่ 3) ส่วนบิดาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภักดีฦาชัยจางวาง พระไกรสิงหนาทคนที่ 3 มีบุตรธิดา หลายคน เท่าทีทราบคือ นายเลิศ นายนรนิลนางคำใส นางวันทอง นายบุญ ร้อยเอกหลวงสมาไกรวิชิต ต่อมาท่านได้ป่วยและถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคท้องร่วงอย่างรุนแรงที่กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างเดินทางไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2440) และ พ.ศ. 2460 ทางราชการประกาศให้มีการใช้นามสกุล นายเลิศบุตรชายพระไกรสิงหนาท (คนที่ 3) ได้ขอพระราชทานใช้นามสกุล ฦๅชา เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระไกรสิงหนาทคนที่ 2 และลูกหลานได้ใช้นามสกุล ฦๅชา สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
|
เข้าชม : 3010 |