กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วันที่ 30 สิงหาคม 2555
ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อบต. กศน.คอนสวรรค์
|
กศน.ตำบลคอนสวรรค์ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาและผู้นำ กศน.ตำบล โดยมีพ่อจันทร์ ดวงมณี นายก อบต.คอนสวรรค์เป็นวิทยากร มีนักศึกษา กศน.ตำบล และผู้นำเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนประมาณ 27 คน ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อบต. กศน.คอนสวรรค์
สรุปเนื้อหาในการเรียนรู้กิจกรรม
1.จุดเรียนรู้ที่1 แปลงปลูกกล้วย
การปลูกกล้วยน้ำว้ากล้วยเป็นพืชเมืองร้อน เป็นพืชที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีมากที่สุด เพราะสามารถใช้ทุกส่วนของต้น ผลสามารถใช้รับประทานผลสุกและประกอบอาหารได้มากชนิด รวมทั้งผลิตภัณฑ์สามารถส่งขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ถ้าหากมีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีกว่าเดิม และมีการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จะสามารถทำรายได้ให้ประเทศได้มาก กล้วยมีหลายชนิด ที่รู้จักกันดีและปลูกกันแพร่หลายในบ้านเรา ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายขึ้นได้ในที่ทั่วไป โดยเฉพาะอากาศร้อนชื้นและบริเวณที่มีดินฟ้าอากาศสม่ำเสมอจะสามารถเจริญเติบโตติดต่อกันไป และตกเครือตลอดทั้งปี
กล้วยน้ำว้าเป็นพืชบ้านที่ทุกคนรู้จักดี ปลูกง่ายโตเร็ว.. ออกดอกผล ให้แล้วก็จากไปพร้อมกับทิ้งทายาทใหม่ ขยายพันธุ์มากมาย กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้ เป็นผัก เป็นอาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง ส่วนต่าง ๆ ของกล้วยใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น อาหารสัตว์ เป็นภาชนะ เป็นวัสดุอุปกรณ์ เป็นของเล่น และเป็นส่วนสำคัญในพิธีกรรมหลายอย่าง
2.จุดเรียนรู้ที่2 หมูหลุม
ในปัจจุบันการเลี้ยงหมูบ้าน มีทั้งน้ำเสีย และขี้หมูทีส่งกลิ่นเหม็นกระจายไปทั่ว ส่งผลกระทบทำให้สิ่งแวดล้อมเลวลง เพื่อนบ้านใกล้เคียงก็ทนกลิ่นเหม็นไม่ไหวทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ตลอด ซึ่งแต่เดิมเรานิยมเลี้ยงหมูไว้ประมาณ 1-2 ตัว เพื่อเอาไว้กินเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน แล้วหาผักหญ้า ต้นกล้วย บอน มะละกอ เอามาเสริมทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สูงเกินไป เป็นการเลี้ยงหมูแบบเก็บออมเงิน เป็นหมูออมสิน แต่ต่อมาวิวัฒนาการด้านอาหารสัตว์ ก้าวหน้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่นสามารถให้อาหารสำเร็จแก่ลูกหมูหย่านม เลี้ยงด้วยอาหาร 4-5 เดือน ก็สามารถทำน้ำหนักตัวได้ถึง 100 กก. แต่เมื่อคิดดูค่าอาหาร การจัดการและเทคโนโลยี แล้วเปรียบเทียบกับราคาขายในท้องตลาด ปรากฏว่า “ ขาดทุน ” ดังคำกล่าวที่ว่า “เลี้ยงหมูให้เจ๊ก” ทุนหาย กำไรหด หลายคนเลิกเลี้ยงกันแล้วหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน
3.จุดเรียนรู้ที่3 การเลี้ยงเป็ดไข่
“ไข่เป็ด” เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง และนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี แต่ในปัจจุบันไข่เป็ดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค เพราะเป็ดไข่เลี้ยงค่อนข้างยาก หากเป็ดเกิดอาการตกใจหรือดูแลไม่ดีพอก็จะไม่ยอมไข่ การเลี้ยงเป็ดไข่นิยมเลี้ยงเป็ดพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์กากีแคมเบลล์กับพันธุ์พื้นเมือง เพราะเลี้ยงง่ายกว่า ทนทาน ให้ไข่ดกประมาณ 260 ฟองต่อปี และให้เนื้อดี
เคล็ดลับ เป็ดไข่ที่ไม่ไข่ สามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ มูลเป็ดทำเป็นปุ๋ย ในบ่อน้ำใช้เลี้ยงเป็ดยังสามารถเลี้ยงปลาได้ โดยไม่ต้องเปลืองค่าอาหารเป็นการเพิ่มรายได้ทางอ้อม
4.จุดเรียนรู้ที่4 การเลี้ยงปลา
การเลี้ยงปลาส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในบ่อ ซึ่งมีการควบคุมการขยายพันธุ์ การให้อาหาร การเจริญเติบโต ขนาดและอัตราการปล่อย ตลอดจนให้การดูแลรักษา แทนที่จะปล่อยปละละเลยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
การเลี้ยงปลาในบ่อ เป็นการพัฒนาการใช้ที่ดินให้เกิดผลผลิต เช่น ใช้ที่ดินซึ่งเป็นที่ลุ่ม หรือที่ดินที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกมาดัดแปลงแก้ไขให้เกิดผลผลิตเป็นปลาซึ่งเป็นอาหารโปรตีนผลผลิตต่อหน่วยเนื้อที่ของบ่อสูงมากเมื่อเทียบกับผลผลิตจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
5.จุดเรียนรู้ที่5 การปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น
ไม้ผลแต่ละชนิดมักมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น มะม่วงในประเทศไทยมีสายพันธุ์ต่างๆมากกว่า ๒๐๐ สายพันธุ์ แต่ที่เรารู้จักกันดีมีไม่กี่สายพันธุ์ เช่น อกร่อง น้ำดอกไม้ เขียวเสวย แก้ว แรด มะม่วงสายพันธุ์เหล่านี้มีความสามารถในการออกดอกได้ยากง่ายแตกต่างกันไป เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ออกดอกได้ง่ายกว่ามะม่วงเขียวเสวย โดยทั่วไปไม้ผลหลายชนิดมีการออกดอกได้ในบางช่วงฤดูกาลที่จำเพาะในรอบปี แต่มีบางชนิดที่มีสายพันธุ์ซึ่งสามารถที่จะออกดอกได้ โดยไม่จำกัดฤดูกาล เช่น มะม่วงบาง สายพันธุ์มีความสามารถออกดอกได้ ตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องอาศัยเทคนิค พิเศษใดๆเข้าช่วย ได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้ทะวาย มะม่วงพิมเสนมันทะวาย โชคอนันต์ เป็นต้น คำว่า “ทะวาย” เป็นคำที่ต่อท้ายชื่อไม้ผลสายพันธุ์เดิม ที่โดยปกติแล้วมีการออกดอกเป็นฤดูกาลเหมือนไม้ผลทั่วๆไป แต่เมื่อพบว่าสายพันธุ์เหล่านั้นมีการกลายพันธุ์หรือเปลี่ยนแปลงไป จนกระทั่งสามารถออกดอกได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล จึงเรียกสายพันธุ์ที่ได้ใหม่นั้นตามชื่อสายพันธุ์เดิม และต่อท้ายด้วยคำว่า ทะวาย เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งเดิมไม่สามารถออกดอกนอกฤดูกาลได้ ต่อมามีการกลายพันธุ์โดยที่มีลักษณะต่างๆเหมือนต้นเดิม แต่สามารถออกดอกได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล จึงเรียกสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า มะม่วงน้ำดอกไม้ทะวาย ส่วนมะม่วงสาย-พันธุ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นมาและมีลักษณะที่ออกดอกได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล อาจไม่จำเป็นต้องเติมคำว่า “ทะวาย” ต่อท้าย เช่น มะม่วงโชคอนันต์ เป็นต้น
6.การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ปุ๋ยหมัก เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากในทางการเกษตร แต่ก็ยังไม่ได้รับความสนใจหรือแพร่หลายเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น เกษตรกรยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญที่แท้จริงของปุ๋ยหมักว่ามีคุณค่าเพียงใดในการช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น หรือช่วยรักษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ดีอยู่เสมอ ไม่เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ อย่างเช่นปัจจุบันนี้ เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เกษตรกรยังขาดแหล่งข้อมูลที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในการทำปุ๋ยหมักอย่างถูกวิธี เป็นเหตุให้การทำปุ๋ยหมักก็ต้องใช้ในปริมาณมาก และมักไม่เห็นผลอย่างชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น
การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองก็ต้องใช้แรงงานค่อนข้างมาก ต้องดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ การผลิตปุ๋ยหมักจึงจะได้ผลอย่างเต็มที่ การที่เกษตรกรจะผลิตปุ๋ยหมักขึ้นมาใช้กันอย่างจริงๆจังๆ จึงต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจในการทำปุ๋ยหมัก ต้องเข้าใจในคุณประโยชน์ที่แท้จริงของปุ๋ยหมักและจะต้องมีความมุ่งมั่น ความตั้งใจจริงที่จะปรับปรุงที่ดินของตนให้เป็นผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพในการเพาะปลูก
……………………………………………………………………….
ภาคผนวก
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
|
คำนำ
กศน.ตำบลคอนสวรรค์ สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคอนสวรรค์ มีบุคลากรเข้าอบรมภาษาจีน เมื่อวันที่ ๙-๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ กศน.จังหวัดชัยภูมิ
เอกสารเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการรายงานให้ผู้บังคับบัญชา ได้ทราบถึงสรุปผลการอบรมภาษาจีนของบุคลากรในสังกัด
วัชรา สุระเสน
หัวหน้า กศน.ตำบลคอนสวรรค์
กรกฎาคม ๒๕๕๕
สารบัญ
เรื่อง หน้า
สรุปผลการอบรมอบรมภาษาจีน ๑
ภาคผนวก
เข้าชม : 1828
|