กศน.อำเภอบำเหน็จณรงค์กับการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติมีหลักการจัดการศึกษาให้เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน และให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษารวมทั้งสถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ โดยเป็นการผสมผสาระหว่างการศึกษาทั้งสามรูปแบบ เพื่อให้สามารถพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากกลไกและการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดกศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะรองรับดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางและเป้าหมายดังกล่าว สมควรให้มีกฎหมายเพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง มีการบริหารและจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนได้ตามศักยภาพ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา
การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ในชีวิตประจำวันโดยเรียนรู้จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากสื่อมวลชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ โดยลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
“การศึกษาตามอัธยาศัย” หมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคลซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ( พรบ.กศน.2551.ม.4 )
หลักการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
1.) การเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถีชีวิตของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย
2.) การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่วนที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา
3.) การจัดกรอบหรือแนวทางการเรียนรู้ที่เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้เรียน
กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย
กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นกิจกรรมการศึกษาเป็นการเรียนรู้ตามวิถีชีวิต เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม การเรียนจะไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่มีการลงทะเบียน ไม่มีการวัดประเมินผล ตลอดจนไม่มีวุฒิบัตร เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จากสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม ซึ่งสามารถจำแนกของการศึกษาตามอัธยาศัยได้ดังนี้ (วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, 2545)
1.) การศึกษาตามอัธยาศัยของห้องสมุดชาชน ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการให้ความรู้และข่าวสารข้อมูลให้กับประชาชน นักศึกษา เด็ก ผู้ใหญ่ ที่มีความสนใจและใฝ่หาความรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเอง ห้องสมุดจะทำหน้าที่ในการให้บริการการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมความรู้แก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย ดังนั้นห้องสมุดจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนการสอนในโรงเรียน ตลอดจนการเรียนรู้ด้วยตนเองของประชาชนในลักษณะการศึกษาตามอัธยาศัยการจัดกิจกรรมในห้องสมุดทุกประเภท จะประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญๆ เช่น กิจกรรม การบริการหนังสือหมุนเวียน กิจกรรมบริการการอ่าน กิจกรรมนิทรรศการ กิจกรรมเล่านิทาน กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ มุมหนังสือ เช่น มุมวิทยาศาสตร์ มุมเด็ก มุมอาชีพ ฯลฯ ตลอดจนกิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ เป็นต้น
2.) การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยร่วมกับเครือข่ายสื่อวิทยุชุมชน ปัจจุบันมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย โดยทั่วไปสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการให้การศึกษาตามอัธยาศัยเกี่ยวกับการให้ความรู้ต่างๆ ทั้งในด้านการเมือง อาชีพเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และบันเทิง เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการทำงาน จากประสบการณ์การฟังวิทยุ ซึ่งในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เนื่องจากในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทาง สื่อเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสารที่สำคัญในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจสังคม จึงทำให้สื่อวิทยุชุมชนมีความสำคัญอย่างมาก
3.) การเรียนรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญของชุมชน เป็นวิทยากรที่มีคุณค่าต่อบุคคลและสังคมเป็นอย่างยิ่ง ภูมิปัญญาชาวบ้านประกอบด้วย ภูมิปัญญาของผู้รู้ วัฒนธรรมและองค์ความรู้ของชุมชน ซึ่งได้รับการสั่งสมและสืบทอดต่อๆ กัน
4.) การเรียนรู้จากประสบการณ์ เช่น การทำแชมพูสมุนไพรจากผู้ชำนาญการ เป็นต้น โดยการจัดสนเป็นการจัดการศึกษาตามสภาพปัญหา ความต้องการและความสนใจที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วย
5.) การอบรมหรืออภิปราย เป็นการรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน และ
ต้องการแสดงความคิดเห็นโดยการเปิดเวทีพูดคุย วิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนั้นๆ อย่างเสรี และเป็นประชาธิปไตยต่อสาธารณชน เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ
6.) การเรียนรู้จากกิจกรรม เป็นรูปแบบพิธีการที่กระทำสืบทอดจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลานาน จน
กลายเป็นจารีตประเพณี และอนุรักษ์ต่อกันไป เช่น การรดน้ำดำหัวในประเพณีสงกรานต์ กิจกรรมผู้สูงอายุเป็นต้น
7.) การเข้าค่าย เป็นกิจกรรมที่นักเรียน นักศึกษามีความสนใจที่จะเรียนรู้ในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่งร่วมกัน และมีวัตถุประสงค์เพื่อไปอยู่ร่วมกันและศึกษาในเรื่องนั้นๆเช่น การเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
8.) การเรียนรู้จากครอบครัว ครอบครัวเป็นแหล่งการเรียนรู้ตั้งแต่เกิดที่จะสอนให้มนุษย์มีแบบแผนในการดำรงชีวิต ซึ่งขึ้นอยู่กับครอบครัวนั้นๆ พ่อแม่สอนลูก เป็นรูปแบบการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่ชัดเจนที่สุด เกิดขึ้นตามธรรมชาติและจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวันนอกจากนั้นจะสอนให้เด็กเลือกรับข่าวสารที่ดีที่สุด รู้จักการคิดและการตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องมีเจตคติทั้งต่อตนเองและสังคม โดยวิธีการบอกเล่า สั่งสอน สาธิตให้ดู ศึกษาดูงาน เป็นต้น
9.) การเรียนรู้จากสื่อพื้นบ้าน เป็นการเรียนรู้จากการแสดงหรือการละเล่นที่แฝงไว้ด้วยวัฒนธรรมของชาวบ้านที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่มีเป้าหมายเพื่อความบันเทิง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ตลอดจนจรรโลงใจ สื่อพื้นบ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ ค่านิยม และคุณธรรม ตัวอย่างสื่อพื้นบ้าน
การให้บริการการศึกษาตามอัธยาศัย มีดังนี้
1.) ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นแหล่งบริการข่าวสารข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อสร้างนิสัย
การอ่าน ป้องกันการลืมหนังสือและเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ประชาชน
2.) ศูนย์การเรียน เป็นสถานที่จัดกิจกรรมที่ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อการ
สอนหลายรูปแบบ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกลางทำหน้าที่ประสานงานกับแหล่งวิทยาการ ความรู้ข่าวสารแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน
3.) อินเตอร์เน็ต เป็นระบบการหาความรู้ในศาสตร์และสาขาต่างๆ โดยวิธีการสืบค้นข้อมูลจาก
คอมพิวเตอร์
4.) นิทรรศการ เป็นการนำเนื้อหาทางวิชาการมาจัดในรูปของสิ่งแสดงซึ่งอาจจะเป็นของจริง ของจำลอง เป็นต้น
5.) การการศึกษาดูงาน เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์หลักโดยจัดการศึกษาตามสภาพปัญหา ความต้องการและความสนใจที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วย ทำให้เกิดประสบการณ์ตรงและได้เรียนรู้ในขณะเดียวกัน
6.) ห้องสมุดประชาชน เป็นสถานที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยสื่อประเภทสิ่งพิมพ์
ในบางแห่งอาจจะจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อต่างๆ ได้แก่สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น
การจัดกระบวนการเรียนรู้
สถานศึกษาและหน่วยงานทั้งหลายในสังคมสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ตามมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ดังนี้
1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงปรารถนาไว้ในทุกวิชา
5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียนและอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
1.) ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการสอนอ่าน-เขียนสำหรับผู้ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ การศึกษานอกระบบสายสามัญ ซึ่งเทียบเท่าการศึกษาในระบบโรงเรียนระดับประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย การจัดการศึกษานอกระบบประเภทการศึกษาพื้นฐาน ได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านเขียนสำหรับผู้ที่ลืมหนังสือหรือผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ กิจกรรมนี้ใช้แหล่งการเรียนรู้ชุมชนดังนี้
ใช้บริเวณวัด ใช้สถานที่ของที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ใช้ศาลากลางบ้าน ฯลฯ
2.) เป็นสื่อในการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีอยู่ในชุมชนสามารถนำมาเป็นสื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในระดับชั้นต่างๆ ได้ ในการสอนอ่าน-เขียนเนื้อหาที่สอนมักจะเกี่ยวกับสภาพการดำเนินชีวิต ดังนั้นวิทยากรอาจจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน เช่น แม่น้ำลำคลอง ภูเขา ป่าไม้ มาเป็นเนื้อหาในการเรียน ใช้เป็นสื่อหรือวัสดุในการฝึกวิชาชีพ การฝึกวิชาชีพในหลายสาขาวิชาอาจจะนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเป็นวัสดุฝึก เช่น ไม้ไผ่ ยางพารา ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน
3.) ใช้วิทยากรจากแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนบางแห่ง เช่น โรงเรียน ห้องสมุดประชาชน มีครูและเจ้าหน้าที่ที่อาจจะมาช่วยเป็นวิทยากรในการเรียนการสอนได้ จัดกิจกรรมสอนอ่าน-เขียน อาจจะขอวิทยากรจากโรงเรียนในหมู่บ้านหรือนิมนต์พระจากวัดในหมู่บ้านเป็นผู้สอนเป็นแหล่งในการค้นคว้าหาความรู้ แหล่งการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน/ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่น สามารถเป็นสถานที่ที่ผู้เรียนมาค้นคว้าหาข้อมูลความรู้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ใช้วิทยากรของแหล่งการเรียนรู้ ในการฝึกอบรมวิชาชีพในหลายสาขาวิชาได้แก่ ประชาชน นอกจากจะใช้วิทยากรที่เกี่ยวข้องแล้ว อาจจะใช้วิทยากรจากสถานศึกษาหรือจากสถานประกอบการ เป็นต้น
4.) ใช้เป็นแหล่งทบทวนทักษะการอ่านเขียน แหล่งการเรียนรู้อย่างเช่น ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน/ชุมชนหรือห้องสมุด สามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ประชาชนผู้เรียนอ่านเขียน มาฝึกการอ่านเขียนเพื่อไม่ให้ลืมหนังสือ
5.) ใช้เป็นสถานที่พบกลุ่ม ในกิจกรรมการศึกษานอกระบบสายสามัญที่เทียบเท่าระดับชั้นต่างๆ นั้นต้องมีการพบปะระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเป็นระยะๆ เช่น ทุกสุสัปดาห์วิทยากรผู้จัดอาจจะขอใช้สถานที่ของแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเป็นสถานที่พบกลุ่ม เช่น ที่โรงเรียนในชุมชน ที่วัด ฯลฯ
6.) ใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมหรือศึกษาดูงาน การฝึกอบรมโดยขอใช้สถานที่ของแหล่งการเรียนรู้ การฝึกอบรมด้านการเกษตร สถานที่ดูงานอาจจะเป็นบ่อเลี้ยงปลา ไร่เกษตร เป็นต้น เป็นสถานที่ในการจัดฝึกอบรม ในการให้ความรู้เรื่องที่จำเป็นต่อชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนนั้นอาจจะจัดโดยใช้ศาลาวัด ขอใช้ห้องประชุม จัดการอบรมภาคสนาม อาจจะนำผู้เข้ารับอบรมมาศึกษาดูงานเพื่อให้ได้แนวทางไปปฏิบัติ
7.) ใช้เป็นแหล่งข่าวสารข้อมูลและความรู้ทั่วไปเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษาประเภทนี้ได้แก่ การเชิญวิทยากรจากภายในและภายนอกชุมชนมาให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เช่น ด้านสุขภาพ ด้านกฎหมาย ด้านการเมือง เป็นต้นการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบประเภทนี้ใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบำเหน็จณรงค์กับการศึกษาตามอัธยาศัย
สืบเนื่องจากการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นกระบวนการที่มนุษย์ต้องการมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย และจะสั่งสมความรู้ ทักษะ เจตคติ การรู้แจ้งและประสบการณ์การสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยไม่จำกัดสถานที่และเวลาดังนั้น กิจกรรมของห้องสมุดประชาชน จึงเป็นส่วนในการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งแนวคิดและหลักการในการพัฒนากิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยที่เกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนดังต่อไปนี้ (ทองอยู่ แก้วไทรฮะ,2543)
ให้บริการหนังสือ สื่อประเภทต่างๆ หมายถึง กิจกรรมการให้บริการหนังสือและสื่อของห้องสมุด โดยมุ่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการ ซึ่งจะเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งจะสามารถนำความรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเสริมความรู้เพิ่มเติมสำหรับหลักสูตรการศึกษาประเภทต่างๆ ซึ่งกิจกรรมที่ให้บริการมีดังนี้
- ให้บริการหนังสือ เอกสาร วารสาร สิ่งพิมพ์
- การให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน วิทยุการศึกษา และโทรทัศน์การศึกษา เป็นต้น
- การให้บริการเชิงรุก ได้แก่ โทรทัศน์ โทรสาร และการทำสำเนาเอกสารเป็นต้น
- การจัดนิทรรศการ เป็นกิจกรรมการให้การศึกษารูปแบบหนึ่งที่แสดงให้เห็นกระบวนการของเรื่องนั้นๆ ให้ประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้ด้วย
- จัดให้ความรู้เรื่องวันสำคัญต่างๆ วันนักขัตฤกษ์ หรือเทศกาลของชุมชน
- จัดเผยแพร่วิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และการประกอบอาชีพของประชาชนในท้องถิ่น
- จัดตามความต้องการของชุมชนและกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ
สื่อที่ให้บริการในห้องสมุดประชาชน
- มีการสำรวจความต้องการของชุมชน/ท้องถิ่นเกี่ยวกับความต้องการวัสดุสารนิเทศหรือหนังสือที่ตรงกับความต้องการของชุมชน
- สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสือวิชาการ นิตยสาร หนังสืออ้างอิงหนังสือเกี่ยวกับกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
- สื่อโสตทัศน์ เช่นวีดีทัศน์ แถบบันทึกเสียงแผ่นเสียงแผ่นดิสก์คอมพิวเตอร์
- สื่อข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ เช่น อินเตอร์เน็ต ข้อมูลดิสก์ ข้อมูลรูปแบบต่างๆ
- สื่อทดลอง เช่น สื่อทดลอง สื่อเครื่องเล่น เกมสื่อทดลองเพื่อคุณภาพชีวิตและการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสื่อประเภทชุดตรวจสอบ
- สื่อสาธิต เช่น สื่อสาธิตประเภทภาพ แผนภูมิ ป้ายนิเทศ หุ่นจำลองสื่อสาธิต และคอมพิวเตอร์
เข้าชม : 4266
|