[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

 
 
ปก
บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5 บรรณานุกรม เครื่องมือ
  บทความงานวิจัย
 ประวัติผู้วิจัย

ชื่อเรื่อง
       การศึกษาความสามารถและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา
                   นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ

วิจัย
             นายบุญรอด  แสงสว่าง
น่วยงาน
       สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ
ที่วิจัย          
พ.ศ. 2555

                                                                                                              บทคัดย่อ 

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ และจำแนกตามเพศ  ประสบการณ์ทำงานประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และเวลาที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูการศึกษานอกระบบ   สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555   จำนวน 160 คน  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเครซีและมอร์แกน   โดยการสุ่มอย่างง่าย  ด้วยวิธีจับฉลาก  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ   จำนวน 35 ข้อ และเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List)   จำนวน 40 ข้อ   มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ  ระหว่าง 0.26-0.80  และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96   วิเคราะห์ข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า
           1.  ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า  ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน   ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผลมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด    
           2.  ครูเพศชายและครูเพศหญิง  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า  ทั้งครูเพศชายและครูเพศหญิง  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา คือด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ครูที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีและครูที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี   มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง   เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า  ครูที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน  ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และครูที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  ครูที่มีประสบการณ์ทำงานไม่เกิน 5 ปี ครูที่มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 6-10 ปี และครูที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี   มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  อยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า  ทั้งครูที่มีประสบการณ์ทำงานไม่เกิน 5 ปี  และครูที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี   มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน  ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  และครูที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา  คือ ด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น  ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  ครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า 10 ปี  ครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่เกิน 5 ปี และครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระหว่าง 6-10 ปี มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า ทั้งครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า 10 ปี  ครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่เกิน 5 ปี    และครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระหว่าง  6-10 ปี มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา  คือ  ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  ครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน  และครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระหว่าง 1-2 ชั่วโมงต่อวัน  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  อยู่ในระดับปานกลาง   ส่วนครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับน้อย   เมื่อพิจารณารายด้าน   พบว่า  ทั้งครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน  ครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระหว่าง 1-2 ชั่วโมงต่อวัน  และครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน  ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 
          
3.  ครูส่วนใหญ่ มีความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ด้านเทคนิคการติดตั้งและดูแลระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา วิธีการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ วิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วยเว็บสำเร็จรูป วิธีการใช้โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว  วิธีการใช้งานโปรแกรมแสดงผลสื่อมัลติมีเดีย  และวิธีการใช้โปรแกรมสร้างสื่อ CAI  ตามลำดับ


คำสำคัญ :  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้,  เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้,  เทคโนโลยีสารสนเทศ,  ครูการศึกษานอกระบบ
 
บทนำ 
          ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก  โดยเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุกคน  จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างมากที่จะให้ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ และมีความสามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่สามารถคำนวณ เก็บและประมวลผลข้อมูลด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว  ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์สูงขึ้น (ครรชิต  มาลัยวงศ์.    2537  :  10-19)   และความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อวงการศึกษาในประเทศไทยนั้น  ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545  หมวดที่ 9 เรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  มาตรา 63-69  ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่มีความครอบคลุม กว้างขวาง และมีความเป็นเอกภาพ ทั้งการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน การจัดตั้งกองทุน การสร้างมาตรฐานทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด   และจากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.    2545  :  37-38)
          กระทรวงศึกษาธิการ  ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการภายใน ปี 2555-2558 เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ด้านการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศโดยส่งเสริมการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้  ในสาระวิชาและระดับชั้นต่างๆ ทั้งในรูปแบบ On-line และ Off-line  กำหนดสมรรถนะผู้เรียนในด้าน ICT  ในแต่ละระดับการศึกษาพัฒนายกระดับสถาบันการศึกษาให้มีความสามารถเฉพาะทางด้าน ICT เพื่อผลิตบุคลากรด้าน ICT ให้มีทักษะความเชี่ยวชาญสูง  สร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานในการเข้าฝึกอบรมและสอบมาตรฐานวิชาชีพด้าน ICT  ที่มีการกำหนดไว้ในระดับสากล  พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์  โดยส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรทางด้านวิชาชีพทางด้านการวิจัยที่มีคุณภาพ  ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งสร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา (กระทรวงศึกษาธิการ.    2555  :  เว็บไซต์)
          จากบทบาทของครูที่มีต่อการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อประสิทธิภาพ   ในการปฏิบัติงานตามบทบาทดังกล่าวเป็นอย่างมาก  ส่งผลให้สถานศึกษาหลายๆ  แห่งได้จัดวางนโยบายและยุทธศาสตร์  ในการที่จะพัฒนาส่งเสริมครูและผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  และเพื่อให้มีทักษะที่เพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีในการถ่ายทอดและแสวงหาความรู้ได้  อย่างไรก็ดี สำหรับการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในสถานศึกษา  โดยเฉพาะในการจัดกระบวนการเรียนรู้นั้น พบว่า มีสถานศึกษาไม่กี่แห่งที่ประสบผลสำเร็จในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการศึกษาในสถานศึกษา   เนื่องจากปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จนั้นมีหลายประการที่เกี่ยวข้อง   ตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับครูผู้สอน ผู้เรียนและวิธีการเรียน การสอน ดังนั้น ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการศึกษา จึงยังต้องมีการวิจัย ศึกษาค้นคว้า และแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้สถานศึกษา ครูผู้สอนและผู้เรียน  ได้มีการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา (ณิชาภัทร์  ขุมทรัพย์.   
2549  :  4)
        จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว  ผู้วิจัยในฐานะที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และทำหน้าที่รับผิดชอบงานส่งเสริมการพัฒนาครูในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ โดยเฉพาะการทำหน้าที่
ศึกษาปัญหาความต้องการและความจำเป็นในการจัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบและกระบวนการพัฒนาครูที่หลากหลายและทันสมัย ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีการพัฒนาตนเอง  เพื่อให้ครูมีความสามารถ มีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา  ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาความสามารถและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  ทั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลและผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการวิจัยมาเสนอต่อผู้บริหารและผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง  ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
 

ความมุ่งหมายของการวิจัย 
            1.  เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ   สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ
            2.  เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  จำแนกตามเพศ  ระดับการศึกษา  ประสบการณ์ทำงาน  ประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และเวลาที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
            3.  เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ

วิธีดำเนินการวิจัย
           1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                 1.1  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูการศึกษานอกระบบ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555  จำนวน  269 คน  
                 1.2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูการศึกษานอกระบบ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2555 จำนวน 160 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเครซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970  :  607-610 ; อ้างถึงใน บุญชม  ศรีสะอาด และคณะ.  2552 35)  โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลาก (Lottery Method)   
           2.  ด้านเนื้อหา
                 2.1  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ
                        
2.1.1  ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือการทำงาน
                        
2.1.2  ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดต่อสื่อสารหรือการสืบค้น
                        
2.1.3  ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล
                
2.2  ความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้   แบ่งออกเป็น  5  ด้าน  คือ
                        
2.2.1  ด้านการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
                        
2.2.2  ด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  
                        
2.2.3  ด้านการใช้โปรแกรมระดับพื้นฐานในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้
                        
2.2.4  ด้านการใช้โปรแกรมระดับสูงหรือเฉพาะทาง (Advance Course)
                         2.2.5  ด้านการบริหารงานเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  (IT Network Administration)
            3.  ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่
                
3.1  ตัวแปรอิสระ คือสถานภาพของครูการศึกษานอกระบบ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา  ประสบการณ์ทำงาน   ประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และเวลาที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ      
                 3.2  ตัวแปรตาม  ได้แก่
                        
3.2.1  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ
                              
1)  ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือการทำงาน
                         
     2)  ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการติดต่อสื่อสารหรือการสืบค้น
                         
     3)  ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  
                     
    3.2.2  ความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้  แบ่งออกเป็น  5  ด้าน  คือ  
                         
     1)  ด้านการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น  
                         
     2)  ด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  
                         
     3)  ด้านการใช้โปรแกรมระดับพื้นฐานในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้  
                         
     4)  ด้านการใช้โปรแกรมระดับสูงหรือเฉพาะทาง (Advance Course)  
                               5)  ด้านการบริหารงานเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  (IT Network Administration)   
 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
        
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้   เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire)  เกี่ยวกับความสามารถและความต้องการของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ   แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน  ดังนี้
          ตอนที่  1  เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม  เป็นแบบตรวจสอบรายการ  (Check List
          ตอนที่  
2  แบบแบบสอบถามความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิการปฏิบัติงาน  ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)  โดยการกำหนดค่าคะแนนของคำตอบเป็น 5 ระดับ  ตามแนวทางของลิเคอร์ท ( Likert)  
          ตอนที่  
3  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ    มีลักษณะคำถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) และเป็นคำถามปลายเปิด
 

 การวิเคราะห์ข้อมูล
          การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล   ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 
 

ผลการวิจัย
          การศึกษาความสามารถและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ   สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 
          1.  ครูการศึกษานอกระบบ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  ส่วนใหญ่เป็นครูเพศหญิง  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี  มีประสบการณ์ทำงานไม่เกิน 5 ปี  มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระหว่าง 6-10 ปี  เวลาที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนใหญ่มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน  สถานศึกษาส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวให้ครูไว้ใช้งานและมีอินเทอร์เน็ตไว้ให้บริการสำหรับครู  และครูมีประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมา คือจากการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง  และจากการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา  ตามลำดับ
         
2.  ครูการศึกษานอกระบบ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ   มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง   เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด   รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน   ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด              
          3.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  จำแนกตามเพศ  โดยรวมครูเพศชายและครูเพศหญิง  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   อยู่ในระดับปานกลาง   เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า ทั้งครูเพศชายและครูเพศหญิง  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 
          4.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมครูที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีและครูที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี   มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า  ครูที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน   ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  และครูที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  
          5.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมครูที่มีประสบการณ์ทำงานไม่เกิน 5 ปี ครูที่มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 6-10 ปี และครูที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า  ทั้งครูที่มีประสบการณ์ทำงานไม่เกิน 5 ปี  และครูที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี   มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา คือด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน  ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  และครูที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น  ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
          6.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ   จำแนกตามประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยรวมครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า 10 ปี  ครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่เกิน 5 ปีและครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระหว่าง 6-10 ปี มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า ทั้งครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า 10 ปี  ครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่เกิน 5 ปี  และครูที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระหว่าง 6-10 ปี   มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
          7.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  จำแนกตามเวลาที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยรวมครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน  และครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระหว่าง 1-2 ชั่วโมงต่อวัน  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง  ส่วนครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับน้อย   เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทั้งครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน  ครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระหว่าง 1-2 ชั่วโมงต่อวัน และครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน  ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 
         
8.  ความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  พบว่า ครูมีความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในทุกๆ ข้อ  โดยสามารถเรียงลำดับความต้องการในแต่ละข้อ  ได้ดังนี้  เทคนิคการติดตั้งและดูแลระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา (ร้อยละ 74.38) วิธีการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ (ร้อยละ 71.88) วิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วยเว็บสำเร็จรูป, Web Template,  Web BlogMacromedia Dreamweaver,  Joomla  และอื่นๆ (ร้อยละ 71.25)  วิธีการใช้โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว(ร้อยละ 70.63) วิธีการใช้งานโปรแกรมแสดงผลสื่อมัลติมีเดีย และวิธีการใช้โปรแกรมสร้างสื่อ CAI  (ร้อยละ 69.38 เท่ากัน)  ตามลำดับ  โดยสามารถพิจารณาเป็นรายด้านได้ดังนี้
             8.1  ความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  พบว่า ครูมีความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถวิธีการใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์มากที่สุด (ร้อยละ 63.75) รองลงมา คือวิธีการส่งไฟล์ข้อมูล ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 62.50)  และวิธีการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (ร้อยละ 59.38)  ตามลำดับ  
             8.2  ความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการนำสื่อสำเร็จรูปมาใช้ในการปฏิบัติงาน  พบว่า ครูมีความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถวิธีการใช้งานโปรแกรมแสดงผลสื่อมัลติมีเดียมากที่สุด (ร้อยละ 69.38) รองลงมา คือ  วิธีการสืบค้นข้อมูลผ่านฐานข้อมูลต่างๆ  (ร้อยละ 64.38)   และวิธีการดาวน์โหลดสื่อสำเร็จรูปมาใช้ในการเรียนการสอน (ร้อยละ 56.25)  ตามลำดับ  
             8.3  ความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ทคโนโลยีสารสนเทศด้านการนำสื่อสำเร็จรูปมาใช้ในการปฏิบัติงาน  พบว่า ครูมีความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถวิธีการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพมากที่สุด (ร้อยละ 71.88) รองลงมา คือ วิธีการใช้โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว (ร้อยละ 70.63)  และวิธีการใช้โปรแกรมสร้างสื่อ CAI (ร้อยละ 69.38)   ตามลำดับ
            
8.4  ความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการใช้โปรแกรมระดับสูงหรือเฉพาะทาง(Advance Course) พบว่าครูมีความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถวิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วยเว็บสำเร็จรูป, Web Template, Web Blog, Macromedia Dreamweaver, Joomla  และอื่นๆ มากที่สุด  (ร้อยละ 71.25)  รองลงมา  คือ วิธีการใช้โปรแกรมจัดการบทเรียนออนไลน์  (ร้อยละ 68.13) และวิธีการใช้โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย (ร้อยละ 67.50) ตามลำดับ 
            
8.5  ความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการพัฒนาความรู้ในการบริหารงานเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า  ครูมีความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเทคนิคการติดตั้งและดูแลระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 74.38)  รองลงมา คือวิธีการใช้ระบบ LAN หรือเครือข่ายภายในสถานศึกษา (ร้อยละ 68.13)  และวิธีการแชร์ไฟล์  เครื่องพิมพ์ผ่านระบบ LAN หรือเครือข่ายภายในสถานศึกษา (ร้อยละ 67.50)  ตามลำดับ
 
 

อภิปรายผล
จากผลการวิจัยการศึกษาความสามารถและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  มีประเด็นสำคัญที่ผู้วิจัยนำมาอภิปรายผล ดังนี้

              1.  ครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเพศหญิงนิยมเรียนสาขาการศึกษามากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี  เป็นเพราะว่าผู้ที่จะมาเป็นครูได้นั้นต้องจบการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรี    ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 5 ปี เพราะว่า ครูส่วนใหญ่พึ่งจบการศึกษาและพึ่งเข้าทำงาน  และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยปรับสถานะเป็นพนักงานราชการ  จึงทำให้ครูการศึกษานอกระบบส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่   ครูส่วนใหญ่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศระหว่าง 6-10 ปี   ซึ่งเวลาที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนใหญ่มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน  สถานศึกษาส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวให้ครูไว้ใช้งานและมีอินเทอร์เน็ตไว้ให้บริการสำหรับครู อาจเป็นเพราะว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  (แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556)  และมีโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตไร้สายให้กับสถานศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ.   2555  :  11-16) จึงทำให้สถานศึกษามีอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ไว้ให้บริการสำหรับครู  สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542  (กระทรวงศึกษาธิการ.    2554  :  2-4)   หมวดที่  9  เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา   ซึ่งกำหนดให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคมนาคม  ตลอดจนการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ  รวมทั้งการขยายโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับทุกคน และสอดคล้องกับข้อความจาก  กรอบนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ของกระทรวงศึกษาธิการ    (ศูนย์สารสนเทศ  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.    2555  :  เว็บไซต์)  ที่ว่า กระทรวงศึกษาธิการ  ได้สนองนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ  เพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้คนไทย ได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันและเข้าถึงการเรียนรู้ โดยยึดหลักการสร้างชาติ สร้างคน และสร้างงาน  มีปัญญาเป็นทุนในการสร้างงานและสร้างรายได้  พร้อมทั้งกำหนดนโยบายเร่งรัดในการพัฒนา และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา  จึงทำให้สถานศึกษาส่วนใหญ่มีเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตไว้ให้บริการสำหรับครู  และครูมีประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมา คือ จากการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และจากการฝึกอบรม  ประชุม  สัมมนา เพราะครูต้องมีการจัดทำสื่อ เอกสาร หลักฐานต่างๆ ด้วยตนเอง จึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจากการปฏิบัติงาน  และจากการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่เสมอ   สอดคล้องกับผลการวิจัยของ  สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน  (2548  :  11-12) ได้ทำการวิจัยการศึกษาสภาพการให้บริการและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของการศึกษานอกโรงเรียน พบว่า การจัดและการให้บริการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ส่วนใหญ่มีเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้บริการและการจัดและให้บริการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของครูการศึกษานอกโรงเรียนขณะพบกลุ่ม   ส่วนใหญ่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทุกครั้งที่พบกลุ่ม     โดยใช้เพื่อสอนเสริมบทเรียนเป็นหลัก  จึงทำให้ครูส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจากการปฏิบัติงาน

2.  ครูการศึกษานอกระบบ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ   มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า  ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้หรือช่วยในการทำงาน   ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวัดผลประเมินผล  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด   ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า  ปัจจุบันครูส่วนใหญ่มีอายุโดยเฉลี่ยไม่มากเป็นครูรุ่นใหม่  ได้รับการฝึกอบรมพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่เสมอ  มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง  ทั้งการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี  หรือด้านการพัฒนาตนเองเพื่อที่จะเลื่อนระดับตนเองให้สูงขึ้น  ทำให้ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการติดต่อสื่อสารและการสืบค้นมาก  เช่น  ครูจะต้องมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ  การสร้างพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในกลุ่มสาระต่างๆ  หรือการจัดทำผลงานทางวิชาการด้วยการทำวิจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ  แม้แต่การเตรียมการสอนหากต้องการข้อมูลเรื่องใดก็จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเสมอ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ครูล้วนแต่จำเป็นต้องใช้งานด้านการสืบค้นข้อมูล ค้นคว้าเอกสาร สื่อ งานวิจัย พิมพ์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ  ถวิล  มาตรเลี่ยม (2544  :  5)   ที่กล่าวว่า ครูผู้ปฏิบัติงานสอนจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา  ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทั้งความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะที่ตนเองรับผิดชอบ ตลอดจนรอบรู้ในเหตุการณ์แวดล้อมอย่างกว้างขวาง  สอดคล้องกับผลการศึกษาของ  บุณยนุช  ธรรมสะอาด  (2552  :  84-90)   ได้ทำการศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี   พบว่า  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง  สอดคล้องกับผลการศึกษาของ นันท์ชญาณ์  ทองสตา (2553  :  60-63)  ได้ทำการศึกษาปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนของนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  พบว่า  นิสิตเห็นว่ามีปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการใช้อินเทอร์เน็ต  รองลงมาคือ  ด้านการใช้บริการของสำนักวิทยบริการ  ด้านการใช้ระบบบริการการศึกษา  ด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และด้านซอฟต์แวร์ ตามลำดับ  สอดคล้องกับผลการศึกษาของ พัชร์ณินทร์  คงเมือง  (2554  :  109-118)  ได้ทำการประเมินความพร้อมของครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน  พบว่า  ความพร้อมของครูและบุคลากรด้านการพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับพร้อมปานกลาง และมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม Microsoft Word มากที่สุด  รองลงมา คือ  Microsoft PowerPoint  และนำความรู้ความสามารถมาพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ได้น้อยที่สุด คือ Camtasia  สื่อเพื่อการเรียนรู้ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน  พบว่า  ส่วนใหญ่ใช้พิมพ์เอกสาร  ใบงานด้วยโปรแกรม  Microsoft Word   รองลงมา  คือ สอนนักเรียนด้วย  Microsoft PowerPoint และพัฒนาขึ้นมาใช้น้อยที่สุด  คือ สร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง  ความพร้อมของครูและบุคลากรในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนครูและบุคลากร มีทักษะการใช้อยู่ในระดับพร้อมปานกลาง   ส่วนใหญ่ใช้ในด้านการให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต  รองลงมา คือ การจัดทำข้อสอบ และน้อยที่สุดคือการนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) มาใช้ในการเรียนการสอน สอดคล้องกับผลการศึกษาของ วรรณิศา  พิทักษ์กุล (2554  :  87-90) ได้ทำการศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย  พบว่า  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของประชากรอยู่ในระดับมากที่สุด   เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ  พบว่า ประชากรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรับ-ส่งข้อมูลทางราชการสูงที่สุด  รองลงมา  ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อติดต่อสอบถามขอข้อมูลจากครูผู้สอนในสาขางานต่างๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่งานต่างๆ  และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประชุมทางไกล R-radio  ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อยู่ในระดับมากที่สุด  และประชากรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยที่สุด  คือ การค้นคว้าข้อมูลเป็นข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับมาก      

               3.  ความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ  พบว่า ครูมีความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในทุกๆ ข้อ ซึ่งสามารถเรียงลำดับความต้องการในแต่ละข้อได้ดังนี้   เทคนิคการติดตั้งและดูแลระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษามากที่สุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ครูมีความสามารถในการติดตั้งและดูแลระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาน้อย  อีกทั้งครูตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เทคนิคการติดตั้งและการดูแลระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาเพื่อใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้    รองลงมา คือ ความต้องการรับฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถวิธีการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ   ความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถวิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วยเว็บสำเร็จรูป, Web Template, Web Blog, Macromedia Dreamweaver, Joomla  และอื่นๆ  ความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถวิธีการใช้โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว  ความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถวิธีการใช้งานโปรแกรมแสดงผลสื่อมัลติมีเดีย และความต้องการรับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถวิธีการใช้โปรแกรมสร้างสื่อ CAI  ตามลำดับ  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ครูมีความสามารถในการใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ  วิธีการสร้างเว็บไซต์   โปรแกรมการสร้างภาพเคลื่อนไหว  โปรแกรมแสดงผลสื่อมัลติมีเดีย  และโปรแกรมสร้างสื่อ CAI  อยู่ในระดับน้อย อีกทั้งครูตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องผลิตสื่อ เอกสาร ประกอบการเรียนการสอน  และเผยแพร่บทความ  ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ   จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการตกแต่งภาพ  การสร้างเว็บไซต์  การสร้างภาพเคลื่อนไหว สื่อมัลติมีเดีย และการสร้างสื่อ CAI  เพื่อใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้   ส่วนความต้องการในการรับการฝึกอบรมวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และวิธีการใช้โปรแกรมพิมพ์เอกสารอยู่ในระดับต่ำ   ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า  ครูส่วนใหญ่มีความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  เช่น  จอภาพ  คีย์บอร์ด  เมาส์  วิธีการเปิด-ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  รวมทั้งวิธีการเข้าถึงโปรแกรมต่างๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์  และโปรแกรมพิมพ์เอกสาร  อยู่ในระดับมากอยู่แล้ว   จึงไม่มีความต้องการในการรับการฝึกอบรม  จะเห็นได้ว่าครูส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและมีความต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบ   สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ   โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  จึงทำให้ครูส่วนใหญ่มีความต้องการในการพัฒนาตนเอง  อีกทั้ง สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ     ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการจัดการศึกษาอย่างจริงจัง     โดยสถานศึกษาได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง  และได้กำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรการศึกษา   พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยมีมาตรการในการดำเนินงาน คือ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ครูทุกคนทุกภาคเรียนตามความต้องการของครู  พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและจัดบรรยากาศให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน  อีกทั้งได้กำหนดแผนกลยุทธ์ในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่สอดคล้องกับการประเมินผลตามมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบการจัดการความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทุกระดับ  การเตรียมความพร้อมของบุคลากร  ให้มีความรู้ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน  โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวางแผนการศึกษาและแผนการบริการได้ครอบคลุมทั่วถึงสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ. 2555 : 10-15) สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2558 (กระทรวงศึกษาธิการ.    2555  :  11-16)   ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  จำนวน 3 ยุทธศาสตร์   คือ  ยุทธศาสตร์ที่ 1  การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับทุกประเภท โดยมุ่งเน้นเป้าหมาย คือ นักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ชุดโครงการสำคัญ (Flagship)  คือจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต   ยุทธศาสตร์ที่ 2  การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม  ชุดโครงการสำคัญ (Flagship) คือสนับสนุนผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ  สร้างห้องการเรียนรู้โดยใช้ e-Book  และยุทธศาสตร์ที่ 5  การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ  ชุดโครงการสำคัญ (Flagship)  คือส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตที่ทันสมัย   โดยมีระบบจัดการความรู้รองรับการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย   พัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต   และมีโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตไร้สาย  สอดคล้องกับ  แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)  ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.    2552  :  4-5) ที่กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า  ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand)   ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  พร้อมกำหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2552-2556  ของประเทศไทย  ที่กำหนดเป้าหมาย  และยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา   โดยให้ความสำคัญต่อความสามารถของครูและได้กำหนไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 1  ถึงยุทธศาสตร์ที่ 6  การพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์  ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน การบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล   การนำโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ, และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2)  ของประเทศไทย  พ.. 2552–2556 (กระทรวงศึกษาธิการ.    2554  :  4-6)  ได้กำหนดไว้ว่า การพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบุคลากรในทุกวิชาชีพให้มีความสามารถในการใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน  (Information Literacy)  การบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล  (National  ICT Governance)   การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหาร  และการบริการของภาครัฐ  (e-Governance) การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   (ICT Industry Competitiveness)  เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน (ICT for Competitiveness) ด้วยเหตุผลดังกล่าวส่งผลกระทบให้ครูการศึกษานอกระบบตระหนักถึงความสำคัญ  และมีความต้องการที่จะได้รับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้  
 
ข้อเสนอแนะ  

          1.  ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
              1.1  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิควรมีการจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทันสมัยเพิ่มเติมให้เพียงพอกับการใช้งานของครูและผู้เรียน
             
1.2  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิควรสนับสนุนและส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้  เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของครู  ผู้เรียน และชุมชน
              1.3  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิควรเร่งพัฒนาบุคลากร  โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้มีความรู้ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้  และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอเพื่อนำไปสู่คุณภาพการศึกษาของผู้เรียน
             
1.4  ผู้บริหาร ควรพิจารณาใช้เป็นข้อมูลในการอบรมหรือสัมมนาครูการศึกษานอกระบบ   เพื่อให้สามารถพัฒนาระดับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สูงขึ้น  และใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางพัฒนาครูเพื่อสนองความต้องการดังกล่าว

          2.  ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
   2.1  ควรมีการศึกษากระบวนการบริหารจัดการของสถานศึกษาในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  
2.2  ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
  
2.3  ควรพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิตและการใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้  โดยใช้โปรแกรมที่หลากหลาย
 

                                                                                            หนังสืออ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ.   (2555).  การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  ในปี  2558  ของกระทรวงศึกษาธิการ.    [ออนไลน์]  :  เข้าถึงได้จาก <www.moe.go.th>
              (สืบค้นวันที่ 27 กรกฎาคม 2555).
_______.    (2555).  นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2555-2558. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
_______.    (2554).  แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ พ..2554-2556. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
              และ
การสื่อสาร  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
_______.    (2551).  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551.   กรุงเทพฯ   โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชณิชา  เพชรปฐมชล.
(2554).  การศึกษาความสามารถและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนชลกันยานุกูล   
              สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา ชลบุรี เขต 1  งานนิพนธ์  ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต   มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชุติกาญจน์  นกเด่น
.    (2554).  การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
              การศึกษา
ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. 
  การศึกษาอิสระ  ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณิชาภัทร  ขุมทรัพย์. 
  (2549).  ความคาดหวังและสภาพปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก.    
             วิทยานิพนธ์  การศึกษามหาบัณฑิต   สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ถวิล  มาตรเลี่ยม. 
  (2544).  การปฏิรูปการศึกษา  :  โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ.    กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
นันท์ชญาณ์  ทองสตา
(2553).  ปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนของนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 
              การศึกษาค้นคว้าอิสระ  ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม  ศรีสะอาด  และคณะ.   (
2552).   พื้นฐานการวิจัยการศึกษา.   พิมพ์ครั้งที่ 5.  ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา   คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บุณยนุช  ธรรมสะอาด. 
  (2552).  สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
              สิงห์บุรี. 
การศึกษาค้นคว้าอิสระ  ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประยุทธ  รัตนปัญญา. 
  (2554).  ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาใน
              จังหวัดอุดรธานี. 
วิทยานิพนธ์  ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
พัชร์ณินทร์  คงเมือง.    (
2554).  การประเมินความพร้อมของครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการ พัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
              เพื่อการเรียนการสอนในช่วงชั้นที่
4.  
  วิทยานิพนธ์   ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต   มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรรณิศา  พิทักษ์กุล.    (
2554).  ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย.  วิทยานิพนธ์   ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต   
              มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วิทยา  โมระดา.    
(2553).  สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอำนาจเจริญ.  
              สารนิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต   สาขาวิชาการบริหารการศึกษา   มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
.
ศูนย์สารสนเทศ  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.   (
2555).   รายงานความก้าวหน้าในการส่งเสริมและการพัฒนาการใช้ ICT เพื่อการศึกษา.    [ออนไลน์]  :  เข้าถึงได้จาก  
              <www.moe.go.th/main2/article/article_ICT/report_ICT2.htm>   (สืบค้นวันที่  21  มิถุนายน  2555).
สำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
  (2548).  รายงานการวิจัย การศึกษาสภาพการให้บริการและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของ กศน.    กรุงเทพฯ  :  
               ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา.
Shaban,  Khald Bashir.    (2003).  “Information Fusion in a Cooperative Multi-Agent  System for Web Information Retrieval,”   Masters Abstracts International. 
              
41 (2)  :  614.
Sterling,  Jennifer Elizabeth.    (2002).   “Reinventing Music Theory Pedagogy  :  The  Development and Use of a CAI Program to Guides Students in the
               Analysis of Musical  Form,”   Dissertation Abstracts International.    63 (6) : 2044-A.
Yuan,  Lei.   (2002).  “Metadata Management for Multimedia Interactive Tele Learning System,”  Masters Abstracts International.    40 (02) : 470.

 

 

 

 

 



เข้าชม : 3256
 
กลุ่มส่งเสริมการศึกษานอกระบบ  สำนักงาน กศน.จังหวัดชัยภูมิ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000
โทร 044 821330  E_mail : 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin